Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2676
Title: การจัดการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ในห้องสมุดเฉพาะ
Other Titles: Fee-based information services in special libraries
Authors: มัสยา ฐาปนพันธ์นิติกุล, 2516-
Advisors: ประยงศรี พัฒนกิจจำรูญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Prayongsri.P@Chula.ac.th
Subjects: ห้องสมุดเฉพาะ--บริการสารสนเทศ
บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการจัดบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ในห้องสมุดเฉพาะด้าน วัตถุประสงค์ในการจัด ประเภทของบริการ ผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ และอัตรา ค่าบริการ รวมถึงปัญหาในการจัดบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ในห้องสมุดเฉพาะ ผลการวิจัยพบว่า ห้องสมุดเฉพาะส่วนใหญ่จัดบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ เนื่องจากต้องปฏิบัติตามนโยบายขององค์กร บริการที่ห้องสมุดเฉพาะจำนวนมากที่สุดจัด คือ บริการทำสำเนา โดยให้บริการทำสำเนาหนังสือและเอกสาร ในอัตราหน้าละ 0.50-10 บาท ห้องสมุดจำนวนรองลงมาจัดบริการสืบค้นฐานข้อมูล โดยคิดค่าบริการพิมพ์ผลการสืบค้นลงบนกระดาษ ในอัตราหน้าละ 1-10 บาท ผู้ทำหน้าที่ให้บริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ในห้องสมุดเฉพาะ คือ บุคลากรทุกคนในห้องสมุดและให้บริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ ควบคู่ไปกับการให้บริการอื่นๆ ผู้ใช้บริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ในห้องสมุดเฉพาะ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ และห้องสมุดเฉพาะส่วนใหญ่กำหนดอัตรา ค่าบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ตามประเภทของบริการและผู้ใช้บริการ การจัดบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ในห้องสมุดเฉพาะ ประสบปัญหาด้านบริหาร ผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการและบริการ ในระดับน้อย ประเด็นปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรองลงมา ได้แก่ ความไม่พร้อมของอุปกรณ์ในการให้บริการ ความไม่เพียงพอของพื้นที่ของห้องสมุดในการให้บริการ และความไม่พร้อมของทรัพยากรสารนิเทศที่ให้บริการ
Other Abstract: To study the fee-based information services in special libraries in terms of the objective of service, service provider, and service fee, as well as the problems in giving fee-based information services in special libraries. The research result showed that the majority of the special libraries give fee-based information services according to the organizations' policy. The majority of the special libraries gave photo-copying services, which were books and documents photocopy, charging 0.50-10 baht. The second most of the special libraries gave database searching services, charging 1-10 baht per page for printing the data onto paper. The service provider giving the fee-based information services in special libraries was all the staff in the libraries, who gave other services along with fee-based information services. The users of fee-based information services were students, professors, and academics. The majority of the special libraries charged information services fee according to the type of service and the user. Fee-based information services in special libraries faced the problems of management, service provider, user, and service in low level. The problems with the highest mean and second highest mean were the non-readiness of the service utilities, the insufficient service-providing space, and non-readiness of information resources.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2676
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.389
ISBN: 9741733429
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.389
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Matsaya.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.