Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26777
Title: การบริหารงานลูกหนี้ของการเคหะแห่งชาติ
Other Titles: National Housing Authority's accounts receivable management
Authors: สุพรรณี เรียบร้อยเจริญ
Advisors: จารุ ศรีชลัมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเคหะแห่งชาติเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางในลักษณะให้เช่าและเช่าซื้อจากลักษณะดังกล่าวทำให้การเคหะแห่งชาติมีลูกหนี้ค่าเช่าและค่าเช่าซื้อจำนวนมากรายได้จากค่าเช่า ค่าเช่าซื้อนี้ การเคหะแห่งชาติจะนำมาใช้ในการดำเนินงาน การที่จะจัดเก็บรายได้จำนวนนี้ได้มากน้อยขึ้นอยู่กับการบริหารงานลูกหนี้ จึงนับว่าการบริหารงานลูกหนี้มีความสำคัญต่อการเคหะแห่งชาติเป็นอย่างมาก การศึกษาจะศึกษาถึงวัตถุประสงค์ นโยบายและการแบ่งส่วนงานของการเคหะแห่งชาติเพื่อเป็นแนวทางให้เห็นขั้นตอนการบริหารงานลูกหนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การศึกษาการบริหารงานลูกหนี้ จะศึกษาถึงขั้นตอนการดำเนินงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ซึ่งได้แก่ ขั้นตอนการพิจารณาให้เป็นผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ การจัดทำบัญชีลูกหนี้ การติดตามหนี้ และการดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนี้ผู้เขียนยังศึกษาถึงสถานะของลูกหนี้ โดยใช้ยอดลูกหนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2521 เพื่อให้เห็นถึงขั้นตอนการดำเนินงานดังกล่าวว่ามีผลทำให้สถานะของลูกหนี้เป็นเช่นไรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การศึกษาสถานะของลูกหนี้การเคหะแห่งชาติเป็นแนวทางชี้ให้เห็นถึงปัญหาต่างๆ ในการดำเนินงาน ซึ่งมีผลทำให้มียอดลูกหนี้ค้างชำระอยู่ในขั้นตอนการบอกเลิกสัญญาเป็นจำนวนมากกว่าขั้นตอนอื่น และการเคหะแห่งชาติยังไม่มีมาตรการที่เด็ดขาดที่จะนำมาใช้กับลูกหนี้เหล่านี้ เพื่อให้เห็นถึงวิธีและผลการดำเนินงานของการเคหะแห่งชาติชัดเจนยิ่งขึ้น จึงได้ศึกษาวิธีการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะของลูกหนี้ใกล้เคียงกับการเคหะแห่งชาติ โดยศึกษาวิธีการดำเนินงานในการบริหารงานลูกหนี้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์โดยย่อ การศึกษาเน้นถึงวิธีการปฏิบัติงานตั้งแต่การพิจารณาให้กู้ยืม การจัดทำบัญชีลูกหนี้ วิธีการในการเรียกเก็บเงิน การติดตามหนี้ ตลอดจนการดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อเปรียบเทียบกับวิธีการของการเคหะแห่งชาติ จากการศึกษาพบว่า วิธีการดำเนินงานมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่การเคหะแห่งชาติมีปัญหาและปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้น กฎเกณฑ์และระเบียบที่วางไว้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐ และมีภาพพจน์ต่อประชาชนในรูปของการสงเคราะห์ ปัญหาที่พบจากการศึกษาได้แก่ปัญหาด้านการปฏิบัติงาน นโยบายที่ไม่แน่นอนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่นนโยบายในการขาย ปัญหาด้านความล่าช้าของขั้นตอนการปฏิบัติงาน สภาพโครงการ ตลอดจนปัญหาด้านการก่อสร้างซึ่งเป็นปัญหาที่การเคหะแห่งชาติควรจะต้องแก้ไขโดยรีบด่วน ผู้เขียนได้เสนอแนะวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการปรับปรุงการปฏิบัติงานลดขั้นตอนให้น้อยลง รวมทั้งกำหนดนโยบายในการดำเนินงานที่แน่นอน ซึ่งจะทำให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลงได้ อนึ่ง ผู้เขียนเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จากการศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานการบริหารงานลูกหนี้ที่ใช้อยู่จริงในการดำเนินงานของการเคหะแห่งชาติ ความคิดเห็นต่างๆ เป็นความคิดเห็นตามเหตุผลและข้อมูลที่ได้ศึกษา และเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนในฐานะของนิสิตที่ทำการศึกษาวิจัย
Other Abstract: National Housing Authority, has its objectives in providing the public with housing for rent, and hire purchase to low and middle income groups. The operation, as a result, must deal with a large number of debtor who become the main source of its revenue. Therefore, the success of National Housing Authority will depend on the efficiency of its accounts receivable management which is the most important factor in operation. This thesis studies the objective, policy and job distribution of National Housing Authority to clarify the procedure of the accounts receivable management. The study emphasizes each step of its operation and working units involved i.e. the tenant, hire-purchaser consideration, receivable account system, receivable management and legal process. It also analyses the debtors financial situation by the account balance as of 30 September 1978 in order to trace the result of such accounts receivable management. The analysis of debtors financial situation indicates the various problems in accounts receivable management which results in the high rate of account overdue under the stage of contract released without any measures to press on these debtors. For the reason of clarifying the strategy and the Success of National Housing Authority, the analysis is extended to the similar operation of the Government Housing Bank. Briefly, it covers the proceed of loan awarded, accounts receivable system, debt collection, receivable management and also legal process compared to those of National Housing Authority. The conclusion turn out that under the similar condition National Housing Authority, from the people points of view, is the government agency who will subsidize them in having their own accommodation of which becomes the obstacle in maintaining its regulation in practice. The problems appeared in the accounts receivable management can be summarized as the problem in operations, the uncertain policy which is always distorted such as sales policy, the delay in the procedure, the condition of projects and also the construction problems which should have been corrected immediately. The writer also gives and advice to reduce all that problems by improving the procedure of operation, having the certain policy in management which may help to improve the situation. This thesis is completed entirely under the writer’s own opinion subject to the information available which has been brought into this study as a research student.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26777
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supunnee_Ri_front.pdf554.84 kBAdobe PDFView/Open
Supunnee_Ri_ch1.pdf275.83 kBAdobe PDFView/Open
Supunnee_Ri_ch2.pdf557.7 kBAdobe PDFView/Open
Supunnee_Ri_ch3.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Supunnee_Ri_ch4.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Supunnee_Ri_ch5.pdf668.18 kBAdobe PDFView/Open
Supunnee_Ri_ch6.pdf613.61 kBAdobe PDFView/Open
Supunnee_Ri_back.pdf254.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.