Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26984
Title: การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบแบบเลือกตอบและแบบสอบแบบถูกผิด เมื่อใช้ทดสอบกลุ่มนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน
Other Titles: A comparison fo the quality of a multiple choice test and true-falst test administered of different groups of learning achievement students
Authors: สมศรี อุปริพุทธิกุล
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความเที่ยง ความตรง อำนาจจำแนก และความยากของแบบสอบแบบเลือกตอบ และแบบสอบแบบถูกผิดที่แปลงมาจากแบบสอบแบบเลือกตอบโดยมีความยาวเป็น 2 เท่าและ 3 เท่า ในกลุ่มนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ และคละกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปีการศึกษา 2527 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ (ต. 311) จำนวน 567 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยวีการสุ่มอย่างมีระบบ เพื่อให้กลุ่มหนึ่งตอบแบบสอบแบบเลือกตอบ กลุ่มหนึ่งสอบแบบสอบแบบถูกผิดที่มีความยาวเป็น 2 เท่า และอีกกลุ่มหนึ่งสอบแบบสอบแบบถูกผิดที่มีความยาวเป็น 3 เท่า กลุ่มละ 189 คน ในแต่ละกลุ่มถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ โดยแบ่งตามระดับคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ใน 4ภาคเรียนที่ผ่านมา ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการหาความตรงของแบบสอบที่ศึกษาด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (ค.311) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 แบบคือ แบบสอบแบบเลือกตอบ แบบสอบแบบถูกผิดที่มีความยาวเป็น 2 เท่าและมีข้อผิด 67% ของข้อกระทงทั้งหมด และแบบสอบแบบถูกผิดที่มีความยาวเป็น 3 เท่าและมีข้อผิด 67% ของข้อกระทงทั้งหมด แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) หาความเที่ยงของแบบสอบโดยใช้สูตร สูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสัน 20 แล้วปรับเป็นค่าความเที่ยงของแบบสอบที่ใช้เวลาในการสอบเท่ากัน โดยใช้สูตรสเปียร์แมน บราวน์ 2) หาความตรงร่วมสมัยโดยใช้สูตรสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน 3) หาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบโดยใช้สูตรสหสัมพันธ์แบบไบซีเรียล 4) หาความยากของแบบสอบ 5) ทดสอบค่าความเที่ยง ค่าความตรง และค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบโดยเปลี่ยนเป็นคะแนนมาตรฐานของฟิชเชอร์ แล้วทดสอบด้วยไคสแควร์ 6) ทดสอบค่าความยากโดยใช้การทดสอบมัธยฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ด้านความเที่ยงของแบบสอบ มีข้อค้นพบดังนี้ 1.1 ความเที่ยงของแบบสอบก่อนปรับทั้ง 3 ฉบับมีค่าไม่แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และคละกัน ส่วนในกลุ่มนักเรียนที่มีระดับผลฤทธิ์ทางการเรียนต่ำค่าความเที่ยงของแบบสอบแบบถูกผิดทั้ง 2 ฉบับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 1.2 ค่าความเที่ยงของแบบสอบหลังจากปรับแล้วในกลุ่มสูง และปานกลางทั้ง 3 ฉบับ ไม่แตกต่างกัน ส่วนในกลุ่มต่ำแบบสอบแบบเลือกตอบและแบบสอบแบบถูกผิดที่มีความยาวเป็น 3 เท่ามีความเที่ยงสูงกว่าแบบสอบแบบถูกผิดที่มีความยาวเป็น 2 เท่า และในกลุ่มคละกันแบบสอบแบบเลือกตอบมีค่าความเที่ยงสูงกว่าแบบสอบแบบถูกผิดทั้ง 2 ฉบับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ด้านความตรงของแบบสอบ แบบสอบทั้ง 3 ฉบับมีค่าความตรงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในกลุ่มนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูง ปานกลาง ต่ำ และคละกัน 3. ด้านอำนาจจำแนก แบบสอบทั้ง 3 ฉบับมีอำนาจจำแนกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ด้านความยาก แบบสอบแบบเลือกตอบยากกว่าแบบสอบแบบถูกผิดทั้ง 2 ฉบับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนแบบสอบแบบถูกผิดทั้ง 2 ฉบับมีความยากไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในกลุ่มนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ และคละกัน
Other Abstract: The purposes of this study were to compare the reliability, validity, discrimination and difficulty of a multiple-choice test and true-false tests, having double and triple in length, which adapted from the multiple-choice test. All the tests were used for the students of high, medium, low and mixed in learning achievement. The subjects were 567 students in Mathayomsuksa 3 who studied Math. 311 in 1984 academic year from Suankularb Vittiyalai school in Bangkok. The subjects were radomly divided into three groups : the first group was tested with the multiple-choice test, the second one was tested with the true-false test in double length, and the third group was tested with the true-false test in triple length. Each group of subjects was also divided into three smaller groups : high, medium and low achievement in learning by using their mean scores of mathematics test in four terms in the past. The mean scores of mathematics test were used as a criterion for determining the concurrent validity of all tests constructed. The instruments used were the Mathematics Achievement Tests for Mathayomsuksa 3 constructed by the researcher. The achievement tests contained the multiple-choice test and the true-false tests, including 67% false statements, with double length and triple length. The reliability coefficient was estimated by the Kuder-Richardson Formula 20. The adjusted reliabilities were determined by the spearman-Brown Formula. The validity was estimated by the Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The item discrimination was estimated by Biserial Correlation. The reliabilities, the validity, and discrimination of all test were next transformed to the Fisher’s Z coefficient, and then compared by the Chi-Square test and the Z-ratio. The difficulty of the tests was compared by the Median Test. The results of the study were : 1. Reliability of test 1.1 The reliability before being adjusted from three forms of test was not statistically significant in term of scores rom students of high, medium and mixed in learning achievements. In group of students with low achievement, the reliability of the two froms of true-false test was statistically significant at a .05 level. 1.2 The adjusted reliability of three forms of tests was not statistically significant in group of students with high and medium achievement. In group of students with low achievement, the reliability of the triple length true-false test was significantly higher than the double length true-false test. In group of students with mixed achievement, the reliability of the multiple-choice test was significantly higher than the two forms of true-false test. 2. The difference in the validity of three forms of test was not statistically significant in all groups of achievement students. 3. The difference of discrimination of three forms of test was not statistically significant. 4. In all groups of achievement students, the difficulty of the multiple-choice test was significantly higher than the two forms of the true-false test. However, the difficulty of the two forms of the true-false test was not statistically significant.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26984
ISBN: 9745679542
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsri_Ou_front.pdf436.23 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Ou_ch1.pdf481.38 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Ou_ch2.pdf898.02 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Ou_ch3.pdf565.63 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Ou_ch4.pdf480.68 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Ou_ch5.pdf626.24 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Ou_back.pdf626.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.