Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27019
Title: พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2528
Other Titles: Voting behavior in local self-government : a case study of the election of Pattaya city on March 17, 1985
Authors: ศุภชัย เอี่ยมละออ
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อต้องการศึกษาแบบแผนของพฤติกรรมการลงคะแนน เสียงเลือกตั้งในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะการปกครองรูปพิเศษ เมืองพัทยา อิทธิพลของปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ระดับความรู้ ความเข้าใจและความสนใจทางการเมืองรวมทั้งทั้งทัศนคติของประชาชน ในเขตเมืองพัทยาที่มีต่อการเลือกตั้งและการปกครองท้องถิ่นรูปแบบผู้จัดการ ในการวิจัยนี้กำหนดขอบเขตไว้เฉพาะการเลือกตั้งสภาเมืองพัทยา ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2528 โดยได้ทำการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 238 คน และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการวิเคราะห์ครั้งนี้ด้วย สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยใช้โปรแรมคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณหาค่าความถี่ของตัวแปรทุกตัว และคำนวณหาค่าไค-สแควร์ โดยตั้งนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ไปลงคะแนนเสียงด้วยความสำนึกของตนเอง โดยถือว่าเป็นหน้าที่พลเมืองดีพึงปฏิบัติ ประกอบกับนิยมชมชอบตัวผู้สมัคร หรือนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่นของผู้สมัครหรือกลุ่มผู้สมัครมากกว่าที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพราะถูกระดม และเมื่อจำแนกตามสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว พบว่าระดับการศึกษาและอาชีพของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2 ตัวแปร เท่านั้น จากจำนวน 7 ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์อย่างนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 2. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ไปลงคะแนนเสียง โดยได้ตัดสินใจเลือกผู้สมัครไว้ก่อนหลายวันแล้ว แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้ลงคะแนนเสียงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง จะตัดสินในเลือกผู้สมัครเร็วกว่าผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ เนื่องจากมีปัจจัยหรือตัวแปรที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระยะเวลาในการตัดสินใจเพียง 2 ตัวแปร คือ ระดับการศึกษา และรายได้ ส่วนตัวแปรที่เกี่ยวกับ เพศ อายุ อาชีพ ภูมิลำเนาเดิม และที่อยู่อาศัย ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตแต่อย่างใด 3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครโดยคำนึงถึงตัวบุคคลมากกว่ากลุ่มการเมืองและเมื่อได้จำแนกตามสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว พบว่าเกณฑ์การตัดสินใจเลือกผู้สมัคร โดยคำนึงถึงกลุ่มการเมืองหรือตัวบุคคลมีความแตกต่างกันน้อยมาก และมีระดับการศึกษาเป็นตัวแปรเดียวเท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต 4. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีระดับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นเมืองพัทยา ดีพอสมควร โดยได้วัดระดับความรู้ ความเข้าใจ และแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต่ำ ระดับปานกลางและระดับสูง ปรากฏว่าผู้มีระดับความรู้ ความเข้าใจสูง มีสัดส่วนใกล้เคียงกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีระดับความรู้ ความเข้าใจต่ำ 5. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังให้ความสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกเมืองพัทยาน้อยมากและบางส่วนเห็นควรให้แก้ไขปรับปรุงระบบการเลือกตั้งด้วย นอกจากนี้บางคนยังไม่มีความพอใจในรูปแบบการปกครองท้องถิ่น แบบผู้จัดการ โดยให้เหตุผลส่วนใหญ่ว่าการบริหารงานของเมืองพัทยาและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เมืองพัทยาไม่มีประสิทธิภาพดีพอ
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study voting behavior in local self government especially the government of the Pattaya City. The study will be emphasized the impact of economic and social factors to voting behavior of the local people and their political Knowledge and political attitude of the local people in this city toward an election and the formulation of city manager in local self government. This research study will deal specifically will the election of the Pattaya City Council on March 17th, 1985 by sampling from 238 targeted people and studying from concerned reports and papers. Data analysis will depend upon the computer processing method in order to find the frequency of every variable and chi-square by setting up significant data at 0.05. The results of this research study can be summarized as follow : 1. Most voters went to poll-because they thought that it was their right and responsibility. Moreover, those voters preferred some candidates or their local development policy. They did not got because they were forced to do so. So, we found that there were only 2 out of 7 variables which significantly related to data and behavior in election. Those variables are education level and profession of voters themselves. 2. Most voters decided, several days before, to vote for his or her own candidates. However, we cannot indicate whether voters who have better economic and social status make their own decision in voting quickly before lower ones. This is because there are only 2 significant variable factors that relate to data and and decide period of time. These variable factors are education level, and income. 3. Most voters decided to vote for their own candidate by giving priority to candidates themselves rather than to political groups. There is a very little difference between those who are in higher economic and social status and in the lower are in making this decision. Education level is the only variable factor that significantly relates to data. 4. Voters in the Pattaya City have enougn knowledge and understanding about their local self government. This perception level can be devided into 3 levels : low, middle and high. The proportion of a higher level is not for more different than a lower one. 5. Voters have paid a very little attention to the Pattaya City Council Election. Some agreed that it should be some improvements in the electoral system. Others are not yet satisfied by the formulation of the city manager in local self government of Pattaya City. The reason is that and administration and a management of the Pattaya City is not efficient enough.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27019
ISBN: 9745669423
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soopachai_ea_front.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Soopachai_ea_ch1.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open
Soopachai_ea_ch2.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open
Soopachai_ea_ch3.pdf8.31 MBAdobe PDFView/Open
Soopachai_ea_ch4.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open
Soopachai_ea_ch5.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open
Soopachai_ea_back.pdf5.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.