Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27040
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Opinions on Thai history textbooks at the lower secondary level
Authors: สุรีพันธ์ เกียนวัฒนา
Advisors: พิบูลศรี วาสนสมสิทธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ประวัติศาสตร์ -- แบบเรียน
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนได้ในปีการศึกษา 2517 โดยศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพในการจัดทำรูปเล่ม ความถูกต้องของเนื้อหา ความสอดคล้องของแบบเรียนกับหลักการเรียนการสอนและหลักจิตวิทยา ผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้มีคุณภาพดีขึ้น พร้อมกันนี้ทั้งครูและนักเรียนที่ทราบข้อดีและข้อบกพร่องของแบบเรียนจะสามารถปรับปรุงการเรียนการสอนด้วยการใช้แบบเรียนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นด้วย วิธีการวิจัย ผู้วิจัยมีวิธีดำเนินงาน 2 วิธีคือ (1) ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อดีและข้อบกพร่องของแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ใช้ในโรงเรียนได้ และเสนอผลในรูปของการบรรยาย (2) ศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนผู้ใช้แบบเรียนโดยส่งแบบสอบถามไปยังครูจำนวน 42 คน และนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 270 คนในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์รวม 15 โรงในจังหวัดราชบุรีข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วเสนอผลในรูปตารางและอธิบายประกอบ สรุปผลการวิจัย ครูและนักเรียนใช้แบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยของกรมวิชาการทั้งหมด ครูและนักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ครูส่วนใหญ่สอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยด้วยแบบเรียนโดยใช้วิธีอธิบายประกอบการซักถามเนื้อหาในแบบเรียน ความเห็นที่เกี่ยวกับแบบเรียนคือ ครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่าคุณภาพในการจัดทำรูปเล่มอยู่ในระดับที่ควรแก้ไข เนื้อหาวิชาและการเรียงลำดับหัวข้อตรงตามหลักสูตรพอใช้ เนื้อเรื่องมีความสอดคล้องกับความมุ่งหมายของการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยพอสมควร แต่หลักสูตรมีเนื้อหาวิชาที่ยังไม่สนองความต้องการและความสนใจของนักเรียน ในด้านที่เกี่ยวกับความถูกต้องของแบบเรียนครูส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าเนื้อหาบางตอนผิดบ้างเล็กน้อยและบางตอนย่อเกินไป นอกจากนั้นแบบเรียนยังขาดส่วนประกอบที่สำคัญคือแบบเรียนไม่มีบทสรุป กิจกรรมเสนอแนะ แบบฝึกหัด หนังสืออุเทศสำหรับครู เชิงอรรถ ดรรชนี ภาคผนวก อภิธานศัพท์ และบรรณานุกรม ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่ครูต้องการอย่างยิ่ง เกี่ยวกับความยากง่ายของเนื้อหา สาระด้านความรู้ สาระด้านสติปัญญา และความถูกต้องของเนื้อหา ของแบบเรียน โดยเฉลี่ยแล้วครูเห็นว่ามีคุณภาพพอใช้ ส่วนนักเรียนมีความเห็นคล้ายกับครูเป็นส่วนใหญ่ นักเรียนมีความพอใจในแบบเรียนที่ใช้พอสมควร นักเรียนมีความเห็นว่าเนื้อหาในแบบเรียนส่วนใหญ่ย่อเกินไปและไม่ทันสมัย และนักเรียนต้องการให้แบบเรียนที่ใช้เป็นหลักนั้นเพิ่มส่วนประกอบที่สำคัญคือ บทสรุปแบบฝึกหัด รายชื่อหนังสืออุเทศสำหรับนักเรียน และต้องการให้แบบเรียนมีภาพประกอบให้มากขึ้น
Other Abstract: Purpose : The purpose of this research was to study opinions of teachers and students on Thai History textbooks at the lower secondary level published in the academic year 1974 approved by the Ministry of Education. Specific questions were : the quality of the textbooks’ format, appropriateness of content, relevance of content organization to the prescribed curriculum, social studies instruction and psychology of learning. The findings of this history textbooks and history instruction at the lower secondary level. Procedures : The procedure of this study consisted of two steps : (1) studying the strong and weakpoint of nine Thai history textbooks at the lower secondary level published in the academic year 1974. Results were reported in descriptive form; (2) Questionnaires concerning the quality of the textbooks were sent to forty-two teachers and 270 students in fifteen government and private lower secondary schools in Ratchaburi. The obtained data were analyzed in percentage, means and standard deviations, and presented in tables with explanations. Conclusions : All teachers and students selected for this study used the texts written by the Ministry of Education appointed specialists. Teachers believed that the format of the texts needed improvement. The content had only moderate relevance to the curriculum and the objectives of teaching Thai history and failed to meet the students’ needs and interest. Very little of the content was incorrect, and too brief. Lack of conclusions, Projects and activities, exercises, references for teachers, footnotes, indexes, appendixes, word lists, and bibliographies were the major weakpoints of the texts which the teachers had great need of. The quality of the content indicated by its knowledge component, its intellectual component, and its appropriateness were all satisfactory. Teachers recommended that the textbooks should include up – to – date information. Students in general were satisfied with the textbooks regardless their weakpoints. However they recommended the books have chapter conclusions, exercises, references and more pictures.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27040
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suriphan_Ke_front.pdf466.16 kBAdobe PDFView/Open
Suriphan_Ke_ch1.pdf866.98 kBAdobe PDFView/Open
Suriphan_Ke_ch2.pdf907.34 kBAdobe PDFView/Open
Suriphan_Ke_ch3.pdf348.4 kBAdobe PDFView/Open
Suriphan_Ke_ch4.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Suriphan_Ke_ch5.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Suriphan_Ke_back.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.