Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2711
Title: | คำเชื่อม "e'r" ในภาษาจีนโบราณในหนังสือ ลุ่นยุหวี่ และการแปลเป็นไทย |
Other Titles: | Connector "ER" in Classical Chinese in Lunyu and its translation into Thai |
Authors: | อภิวัฒน์ คุ้มภัย, 2522- |
Advisors: | จินตนา ธันวานิวัฒน์ ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jintana.T@Chula.ac.th Prapin.M@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาจีน -- การใช้ภาษา ภาษาจีน -- บุรพบท ภาษาจีน -- วากยสัมพันธ์ ภาษาจีน -- อรรถศาสตร์ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาลักษณะทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของคำ "er" ในภาษาจีนโบราณในหนังสือ ลุ่นยฺหวี่ และเพื่อศึกษาความหมายของคำ "er" ในภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า คำ "er" ในหนังสือ ลุ่นยฺหวี่ มีหน้าที่ทางไวยากรณ์ 4 ประเภทคือ เชื่อมคำหรือวลี เชื่อมประธานกับภาคแสดง เชื่อมคำขยายกับคำกริยา และเชื่อมประโยคกับประโยค หน้าที่ที่ปรากฏมากที่สุดคือเชื่อมคำกับวลี ซึ่งมักเป็นกริยากับคำคุณศัพท์หรือกริยาวลีกับคุณศัพท์วลี นอกจากนั้นคำ "er" ในหนังสือ ลุ่นยฺหวี่ อาจจำแนกตามเกณฑ์ทางความหมายได้ 8 ประเภท ดังนี้ บอกความขัดแย้ง บอกเวลาต่อเนื่อง บอกความร่วมกัน บอกการขยายเนื้อความ บอกเงื่อนไข บอกความเสริม บอกเหตุและผล และบอกจุดมุ่งหมาย ความหมายที่ปรากฏมากที่สุดคือคำ "er" ที่บอกความขัดแย้ง เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับคำที่มีความหมายลักษณะเดียวกันในภาษาไทยแล้ว พบว่าสามารถแปลได้หลากหลาย คำ "er" ที่บอกความขัดแย้งเทียบได้กับ แต่ ทว่า คำ "er" ที่บอกเวลาต่อเนื่องเทียบได้กับ แล้ว ก็ แล้วค่อย แล้วจึง พอ...ก็ พอ...จึง เมื่อ...ก็ คำ "er" ที่บอกความหมายร่วมกันเทียบได้กับ และ และ...ก็ คำ "er" ที่บอกการขยายเนื้อความเทียบได้กับ อย่าง ด้วย โดย แต่โดยมากมักไม่ต้องแปล คำ "er" ที่บอกเงื่อนไขได้เทียบได้กับ ถ้า หาก ถ้าหาก คำ "er" ที่บอกความเสริมเทียบได้กับ และยัง แล้วยัง คำ "er" ที่บอกเหตุและผลเทียบได้กับ เพราะ เนื่องจาก จึง คำ "er" ที่บอกจุดมุ่งหมายเทียบได้กับ เพื่อ ให้ ไป มา |
Other Abstract: | To analyze the syntactic and semantic features of the connector "ER" in classical Chinese in Lunyu and its translation into Thai. Syntactically, the connector "ER" in Lunyu has four main grammartical functions; linking words or phrases, linking modifiers and head verbs, linking subjects and predicates, and linking two sentences. "ER" that links words or phrases prevails most in Lunyu. Semantically, the connector "ER" in Lunyu can be classified into 8 types; adversative, temporal, coordinative, adverbial, conditional, additional, cause and result, and purpose. "ER" that expresses adversative meaning prevails most in Lunyu. When translated into Thai, "ER" that expresses adversative meaning is equal to /tEE/, /thawaa/. "ER" that expresses temporal meaning is equal to /lEEw/, /ko/, /lEEwkhoy/, /lEEwjeon/, /pho...ko/, /pho...jeon/, /mur...ko/ . "ER" that expresses coordinative meaning is equal to / lae/, /lae...ko/ . "ER" that expresses adverbial meaning is equal to /jang/, /duey/, /duoy/ but mostly it needs notbe translated. "ER" that expresses conditional meaning is equal to /thaa/, / haak/, /thaahaak/. "ER" that expresses additional meaning is equal to /lae/, /lEEwyang/. "ER" that expresses cause and result is equal to /phor/, /nuangjaak/, /jeon/ "ER" that expresses purpose is equal to /pheur/, /hai/, /pai/, /maa/. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาจีน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2711 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.873 |
ISBN: | 9741767773 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.873 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Apiwat.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.