Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27119
Title: บทบาทของอาจารย์โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ตามการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ปกครอง
Other Titles: Teachers' roles in the demonstration schools under the Ministry of University Affairs as percieved by administrators, teachers, and parents
Authors: สุขุม สวาสดิ์
Advisors: วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาบทบาทของอาจารย์ โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของอาจารย์ โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 3. เพื่อศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานของอาจารย์ โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 4. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติงานของอาจารย์ โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย สมมติฐานการวิจัย 1. บทบาทของอาจารย์โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ตามการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ปกครองไม่แตกต่างกัน 2. ปัญหาการปฏิบัติงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ตามการรับรู้ของผู้บริหารและอาจารย์ ไม่แตกต่างกัน การดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ปกครอง โรงเรียนสาธิตทั้ง 10 แห่ง ที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) สำหรับกลุ่มผู้บริหารกับอาจารย์ และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เฉพาะกลุ่มผู้ปกครอง จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่ได้รับคืนมา เพื่อใช้ในการวิจัยมีจำนวน 572 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 81.59 เป็นของผู้บริหาร 47 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 90.38 อาจารย์ 203 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 74.03 และผู้ปกครอง 322 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 85.60 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย ตอนที่ 1 สอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบรายการตรวจสอบ (check list) ตอนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ตอนที่ 3 สอบถามปัญหา ในการปฏิบัติงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) และแบบคำถามปลายเปิด (Open-ended questions) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าร้อยละ (Percentage) ฐานนิยม (Mode) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และการทดสอบค่าที (t-test) สรุปผลวิจัย 1. สถานภาพของกลุ่มผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ปกครอง โดยสรุปแล้วพบว่า (1) กลุ่มผู้บริหารส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.10) มีประสบการณ์ในการสอนโรงเรียนสาธิตมากกว่า 10 ปี (2) กลุ่มอาจารย์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 49.30) อยู่ระหว่าง 6-10 ปี (3) กลุ่มผู้บริหารส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78.70) ทำการสอนทั้งโรงเรียนสาธิต และคณะวิชา (4) อาจารย์โรงเรียนสาธิตส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.50) สอนอยู่ในโรงเรียนสาธิตเท่านั้น (5) ผู้บริหารส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.10) มีการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาโท (6) กลุ่มอาจารย์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 53.20) จบปริญญาตรี (7) กลุ่มผู้ปกครองส่วนใหญ่ (ร้อยละ 37.90) จบปริญญาตรี (8) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ (ร้อยละ 59.60) มีอาชีพรับราชการ (9) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ (ร้อยละ 36.60) มีระยะเวลาที่เป็นผู้ปกครอง 5 ปีขึ้นไป สำหรับการเข้าร่วมสัมมนาอบรมเกี่ยวกับเรื่อง โรงเรียนสาธิตนั้นกลุ่มผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความสนใจ ร้อยละ 95.70, 81.30 และ 86.30 ตามลำดับ 2. บทบาทของอาจารย์โรงเรียนสาธิตด้วยการบริหารและดำเนินงาน ด้านวิชาการและปฏิบัติงาน และด้านธุรการและบริการ พบว่า (1) ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ย รวมสูงกว่าของกลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มอาจารย์ (2) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรวมของความคิดเห็นทั้ง 3 กลุ่ม โดยการวิเคราะห์คามแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ปรากฏว่า ผู้บริหารอาจารย์และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์โรงเรียนสาธิต แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ซึ่งคัดค้านกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธี LSD เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรวมของคามคิดเห็น พบว่า (1) ด้านการบริการและดำเนินการมีความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริหารกับอาจารย์ อาจารย์กับผู้ปกครองและผู้บริหารกับผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ด้านวิชาการและปฏิบัติงานมีความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของกลุ่ม ผู้บริหารกับอาจารย์ อาจารย์กับผู้ปกครอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ความคิดเห็นของผู้บริหารกับผู้ปกครองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ด้านธุรการและบริการมีความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม อาจารย์กับผู้ปกครอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ความคิดเห็นของผู้บริหารกับอาจารย์ และผู้บริหารกับผู้ปกครอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลการศึกษาบทบาทของอาจารย์โรงเรียนสาธิต มีรายละเอียดของข้อค้นพบ ดังนี้ (1) ด้านการบริหารและดำเนินงาน ผู้บริหารและผู้ปกครอง มีความเห็นว่า อาจารย์โรงเรียนสาธิต ควรมีส่วนร่วมในการบริหารมาก ขณะที่ความคิดของอาจารย์กลับเห็นว่าควรมีส่วนร่วมปานกลาง (2) ด้านวิชาการและปฏิบัติงาน ผู้บริหารและผู้ปกครองมีความเห็นว่า อาจารย์โรงเรียนสาธิตควรจะมุ่งเน้นในด้านวิชาการให้มาก ขณะที่ความคิดของอาจารย์กลับเห็นว่า ควรจะมุ่งเน้นปานกลาง (3) ด้านธุรการและบริการ ผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ปกครอง มีความเห็นว่า อาจารย์โรงเรียนสาธิต ควรมีส่วนร่วมในงานธุรการให้มาก 3. ปัญหาการปฏิบัติงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิต ด้านการบริหาร ด้านวิชาการ และด้านธุรการ และกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ พบว่า (1) ความคิดเห็นของกลุ่มอาจารย์มีค่าเฉลี่ยรวมสูงกว่าของกลุ่มผู้บริหารเหมือนกัน ทั้ง 3 ด้าน (2) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรวมความคิดเห็นทั้ง 2 กลุ่ม โดยการทดสอบค่าที (t-test) ปรากฏว่า ผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา การปฏิบัติงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิตทั้งสามด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สำหรับผลการศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิต มีรายละเอียดของข้อค้นพบดังนี้ (1) ด้านการบริหาร ผู้บริหารมีความเห็นว่าเป็นปัญหาในระดับมาก ขณะที่อาจารย์มีความเห็นว่าเป็นปัญหาในระดับปานกลาง (2) ด้านวิชาการและธุรการกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ผู้บริหาร และอาจารย์มีความเห็นว่าเป็นปัญหาในระดับน้อย
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27119
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukhum_Sw_front.pdf690.69 kBAdobe PDFView/Open
Sukhum_Sw_ch1.pdf553.8 kBAdobe PDFView/Open
Sukhum_Sw_ch2.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Sukhum_Sw_ch3.pdf479.09 kBAdobe PDFView/Open
Sukhum_Sw_ch4.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Sukhum_Sw_ch5.pdf769.64 kBAdobe PDFView/Open
Sukhum_Sw_back.pdf955.89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.