Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27204
Title: กิจกรรมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของโรงเรียนประถมศึกษา เขตการศึกษา 6
Other Titles: The activities in cultural preservation of the primary school, education region six
Authors: วีนัส สวนสุข
Advisors: ทิพวรรณ เลขะวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ศิลปกรรมวัฒนธรรม และเนื้อหาของกิจกรรมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนยึดนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา โดยกำหนดโครงการจากมติของที่ประชุมครูทั้งโรงเรียน มีการวางแผนให้ครูมีส่วนร่วมและควบคุมการกิจกรรม เงินที่ใช้ในการจัดกิจกรรมได้จากการแสดงของนักเรียน และการจัดงานของโรงเรียน ประโยชน์ที่ได้รับคือการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ประเมินผลโดยการสังเกตความสนใจของนักเรียนและการให้ความร่วมมือใช้เวลาก่อนเรียนตอนเช้า แบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสนใจและความถนัดและดูตามความสมัครใจของนักเรียน การแจ้งผู้ปกครองโดยผ่านทางนักเรียน การแจ้งกำหนดการจัดประชุมชี้แจงให้นักเรียนทราบ มีการนำเอาการละเล่นพื้นบ้านและการแสดงดนตรีไทยมาร่วมด้วย 2. เนื้อหาของกิจกรรมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจัดอยู่ในสาขามนุษยศาสตร์มากที่สุด เพราะเป็นกิจกรรมในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา กิจกรรมที่จัดได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมวันแม่ กิจกรรมวันเด็ก โดยการจัดนิทรรศการและป้ายนิเทศ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the organization and content of cultural preservation of the primary schools in educational region six. The findings were: 1.The schools followed the policy of the National Primary Education Commission by specifying the projects in accordance with the teachers’ consensus: planning for the teachers’ participation and control of the activities arrangement. The budget spent on the activities arrangement came from the students’ performance and schools’ [exhibitions]. Cultural promotion and preservation were the advantages gained from the arranged activities. Evaluation was based on observing the students’ interest and participating in home-room hours. The teachers grouped them according to their interest, potentiality and willingness. The parents learned about the schools’ activities from their children, and the students learned from the schools’ meeting announcement. Local dancing and Thai classical music were supported. 2. The content of the cultural activities was mainly classified as humanity, dealing with traditions and religion. The activities mostly organized were religious activities, mother’s day and children’s day, respectively. Exhibitions including notice boards were used for the activities organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พื้นฐานการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27204
ISBN: 9745786322
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Venus_su_front.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open
Venus_su_ch1.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
Venus_su_ch1.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
Venus_su_ch2.pdf14.8 MBAdobe PDFView/Open
Venus_su_ch3.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Venus_su_ch4.pdf19.32 MBAdobe PDFView/Open
Venus_su_ch5.pdf8.8 MBAdobe PDFView/Open
Venus_su_back.pdf10.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.