Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27205
Title: ความคิดเห็นของบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ที่มีต่อสื่อเสริม ในระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Other Titles: Opinions of graduates in education toward supplementary media of distance learning system of Sukhothai Thammathirat Open University
Authors: วีรยุทธ บุณยะไวโรจน์
Advisors: สุนันท์ ปัทมาคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ที่มีต่อสื่อเสริม คือ รายการวิทยุกระจายเสียงและรายการวิทยุโทรทัศน์ เพื่อการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิธีดำเนินการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2525จำนวน 825 คน จำแนกเป็นบัณฑิตแขนงวิชาประถมศึกษา มัธยมศึกษา และบริหารการศึกษาที่ได้มาโดยการใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ด้วยเกณฑ์การสุ่มในอัตรา 1 ต่อ 10 จากจำนวนบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ทั้งหมด 8,206 คน ทั่วประเทศ 2. เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ที่มีต่อสื่อเสริมเกี่ยวกับรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 825 ชุด โดยส่งทางไปรษณีย์ไปยังกลุ่มตัวอย่างที่ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ และได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาทั้งสิ้น 582 ชุด คิดเป็นร้อยละ 70.55 หลังจากนั้น นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ด้วยการคิดร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สื่อเสริมประเภทรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา 1. ลักษณะการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาของบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นการฟังรายการคนเดียวมีการรับฟังรายการนาน ๆ ครั้ง และสาเหตุส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถรับฟังได้ทุกครั้งเพราะไม่มีเวลาว่างต้องทำงานหรือกิจกรรมอื่นที่ไม่สามารถรับฟังได้ในเวลานั้น 2. รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา ควรมีความยาวรายการละ 20 นาทีโดยมีจำนวน 17 รายการ ต่อหนึ่งชุดวิชาและช่วงเวลาที่ควรออกอากาศที่เหมาะสมที่สุด คือ ช่วงเวลา 18.00 – 20.00 น. 3. รูปแบบของรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา ที่บัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราชให้ความสนใจมากที่สุดคือ การบันทึกเหตุการณ์จริงและการสาธิตประกอบกิจกรรมที่กำหนด 4. คุณภาพด้านเทคนิคและด้านเนื้อหาสาระของรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาอยู่ในระดับดี ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการรับฟังรายการที่มีมากที่สุดคือ เวลาออกอากาศ รายการอยู่ในช่วงของการทำงานและมักรับฟังได้ไม่ชัดเจนหรือรับฟังไม่ได้ สื่อเสริมประเภทรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา 1. ลักษณะการรับชมรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรร-มาธิราช มีลักษณะการรับชมรายการร่วมกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้าน มีการรับชมเกือบทุกครั้ง และสาเหตุส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถรับชมรายการได้ทุกครั้งเพราะไม่มีเวลาว่าง ต้องทำงานหรือกิจกรรมอื่นที่ไม่สามารถรับฟังได้ในเวลานั้น 2. รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ควรมีความยาวรายการละ 30 นาที โดยมีจำนวนมากกว่า 7 รายการต่อหนึ่งชุดวิชา และช่วงเวลาที่ควรออกอากาศที่เหมาะสมที่สุด คือ ช่วงเวลา 18.00 – 20.00 น. 3. รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่บัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราชให้ความสนใจมากที่สุด คือ การสาธิตประกอบการอธิบาย และ การผสมหลาย ๆ รูปแบบในการเสนอเนื้อหา 4. คุณภาพด้านเทคนิคและด้านเนื้อหาสาระของรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาอยู่ในระดับดี ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการรับชมรายการที่มีมากที่สุดคือ การรับภาพและเสียงไม่ค่อยชัดเจนหรือรับชมไม่ได้
Other Abstract: Objectives To study the opinions of those graduates in education toward supplementary media particularly educational radio and television programs provided by the distance learning system of Sukhothai Thammathirat Open University. Procedures 1. Eight – hundred and twenty five graduates of education were selected randomly (using the ratio of 1: 10) from the total of 8,206 graduates from all over the country in 1982. These subjects were divided according to their major studies: primary education, secondary education, and educational administration. 2. Each graduate was sent by mail a questionnaire asking his or her opinion concerning supplementary media: educational radio and television programs produced by Sukhathai Thammathirat Open University. Five – hundred and eighty two questionnaires (about 70.55 %) were returned. Later, the results were analized by percentage, arithmetic mean and standard deviation. Results, Opinions toward educational radio programs 1. Graduates usually listened to the radio programs on their own. They were able to listen to the programs only once in a while because they either didn’t have time or they had to work or were engaged in other activities. 2. Educational radio programs should be approximately 20 minutes long and should have about 17 programs for each subject. The best time to transmit them should be during 18.00 – 19.00 hour. 3. Format of the programs preferred by the graduates was a combination of demonstration, illustrations and lectures. 4. The quality of both technical and content aspects of the programs was considered good. However, there were a few problems most of which were poor transmission and in conveniences to listen, to programs broadcast during the students working hours. Opinions toward educational television programs. 1.Graduates usually watched the programs with the other members of the family and they watched practically every program. The reasons that they could not watch the programs were either they did not have time or they were already engaged in other activities during broadcasting. 2. Educational television programs should be approximately 30 minutes long. For each subject should have about 7 programs or more and should be transmitted during 18.00 – 20.00 hour. 3. Program format prefered by the graduates were demonstrative program and a combination of demonstration, illustrations, and lectures. 4. The quality of both technical and content aspects of the programs was considered good. However, there were a few programs most of which were poor transmission and inconveniences to listen, to programs broadcast during the students working hours.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27205
ISBN: 9745642711
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Werayuth_bo_front.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open
Werayuth_bo_ch1.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open
Werayuth_bo_ch2.pdf5.79 MBAdobe PDFView/Open
Werayuth_bo_ch3.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Werayuth_bo_ch4.pdf7.7 MBAdobe PDFView/Open
Werayuth_bo_ch5.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open
Werayuth_bo_back.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.