Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27207
Title: การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Development of management strategies in schools using Islamic studies curriculum in Southern border provinces
Authors: ชาร์รีฟท์ สือนิ
Advisors: ชญาพิมพ์ อุสาโห
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chayapim.U@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรงเรียน -- การบริหาร
อิสลามศึกษา -- ไทย (ภาคใต้)
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม และพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากร คือ โรงเรียนของรัฐที่เปิดใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 350 โรงเรียน สุ่มกลุ่มตัวอย่างตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างย่อย ได้จำนวน 186 โรงเรียนในการตอบแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลระดับโรงเรียนคือ ผู้บริหารโรงเรียนหรือรองผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าฝายบริหารวิชาการ ครูผู้สอนสามัญศึกษา ครูผู้สอนอิสลามศึกษา ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้ปกครอง และนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาคือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา / มัธยมศึกษา ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบอิสลามศึกษา โรงเรียนที่เป็นกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงละ จำนวน 13 คน ในการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 34 คน ในการประเมินร่างยุทธศาสตร์ฯ เป็นรายบุคคล ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ในการตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการสนทนากลุ่ม รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,670 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNI[subscript modified] และการวิเคราะห์เนื้อหามีขั้นตอนการวิจัย 5 ขั้นตอนคือ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารฯ 2. วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนฯ 3. ร่างยุทธศาสตร์ฯ 4. ประเมินและตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ฯ และ 5.ปรับปรุง และนำเสนอยุทธศาสตร์ฯ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายระดับมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติอยู่ในระดับมากตามลำดับคือ ระดับมัธยมศึกษา (X̅ = 3.75) ระดับขยายโอกาส (X̅ = 3.60) และระดับประถมศึกษา (X̅ = 3.55) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายระดับมีค่าเฉลี่ยความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ระดับขยายโอกาส (X̅ = 4.52) ยกเว้นระดับประถมศึกษา (X̅ = 4.49) และระดับมัธยมศึกษา (X̅ = 4.42) มีค่าเฉลี่ยความต้องการอยู่ในระดับมาก ความต้องการในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนในภาพรวม มีค่าดัชนีความต้องการ PNI[subscript modified] = 0.26 และเมื่อพิจารณาเป็นรายระดับ มีค่าดัชนีความต้องการตามลำดับคือ ระดับประถมศึกษา (PNI[subscript modified] = 0.27) ระดับขยายโอกาส (PNI[subscript modified] = 0.25) และระดับมัธยมศึกษา (PNI[subscript modified] = 0.18) และยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรมี 4 ยุทธศาสตร์หลัก (PIEI) คือ 1. ยุทธศาสตร์ปรับกระบวนทัศน์การวางแผน (P) 2. ยุทธศาสตร์บูรณาการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะชีวิตและการปฏิบัติศาสนกิจ (I) 3. ยุทธศาสตร์ประเมินผลตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (E) และ 4. ยุทธศาสตร์ปรับปรุงการบริหารหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง (I) และ 11 ยุทธศาสตร์รอง (3Ss, 3Ts, 2Os และ SME) คือ 1.วางแผนยุทธศาสตร์ (S1) 2. ร่วมจัดทำแผนงานอย่างมีส่วนร่วม (S2) 3. เพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนทุกระดับ (S3) 4. พัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ (T1) 5. สนับสนุนสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย (T2) 6. พัฒนาครูและบูรณาการหลักสูตร (T3) 7. นิเทศ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง (O1) 8. ประเมินเพื่อสร้างความเป็นธรรมและสร้างกำลังใจ (O2) 9. เสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดหลักสูตร (S) 10. นิเทศอย่างหลากหลาย (M) และ 11. พัฒนาระบบบริหารจัดการ (E)
Other Abstract: The present research was aimed to explore the current situation, desirable situation, strengths, weaknesses, opportunities, and threats, and to develop management strategies in schools using Islamic studies curriculum in southern border provinces. The target population included 350 government schools using Islamic studies curriculum in southern border provinces. Sampling by the size of subgroups obtained 186 schools and 3 schools. School informants comprised school administrator or vice administrator, chief of academic administration section, general education teachers, Islamic study teacher, chairman of school board, community leader, and parents, and students. Questionnaire respondents at the level of educational service area were the director or deputy director of primary/secondary educational service area office, educational supervisor responsible for Islamic study. Respondents from the 3 schools of case studies. There were 34 experts to individually assess the drafted strategies, and 12 experts to review the drafted strategies from the focus group discussion. Total participants were 1,670 accordingly. Research instruments employed questionnaire, interview form, assessment and review form for drafted strategies. Data analysis was carried out for frequency, percentage, mean, standard deviation, PNI[subscript modified] value, including content analysis. The research procedure contained 5 steps: 1) Exploring the current situation and desirable situation of school management, 2) Examining the strengths, weaknesses, opportunities, and threats of school management, 3) Preparing drafted strategies, 4) Making assessment and review of the drafted strategies, and 5) Improving and presenting the strategies. Research results suggested that the current situation of management of schools using Islamic studies curriculum in southern border provinces at the high level (3.57). When considering level of education separately, it was also found that the schools implemented Islamic education at high level; elementary schools (3.75), educational opportunity expansion schools (3.60), and secondary schools (3.55) respectively. In addition, the average desirable situation of school management was at the highest level (4.50). When considering level of education separately, only the educational opportunity expansion schools have need at the highest level (4.52), the elementary schools (4.49) and secondary schools (4.42) reported having need at high level. When examining the Priority Need Index (PNI), the results showed that PNI[subscript modified] = 0.26. When considering level of education separately, it was found that the schools elementary schools had PNI[subscript modified] = 0.27, educational opportunity expansion schools have PNI[subscript modified] = 0.25, and secondary schools have PNI[subscript modified] = 0.18 respectively. Furthermore, the management strategies were as follows: 1) Paradigm Shift in Planning (P), 2) Integrating Classroom Learning into Life and Religious Practice (I), 3) Sustainable Development-Based Evaluation (E), 4) Continuous Improvement of Curriculum Management (I).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27207
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1940
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1940
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
charrieft_su.pdf3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.