Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27216
Title: ปัญหาทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องเขินไทย
Other Titles: Marketing problems of Thai lacquerware
Authors: สุดาพร ศิริโภคากิจ
Advisors: สุรัชนา วิวัฒนชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินไทยเป็นหัตถกรรมที่ได้มีการทำสืบทอดกันมานานแล้วในจังหวัดเชียงใหม่ และได้รับการส่งเสริมฟื้นฟูจากหน่วยงานของรัฐบาลมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ยังไม่เจริญรุดหน้าเท่าที่ควร จากการศึกษาพบว่าการผลิตเครื่องเขินมีลักษณะเป็นหัตถกรรมภายในครอบครัวที่อาศัยแรงงานภายในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ ในการผลิตต้องใช้เวลานานและความชำนาญจากแรงงานที่มีฝีมือจึงจะได้เครื่องเขินที่สวยงามประณีตเรียบร้อย ผู้ประกอบการเครื่องเขินส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตรายเล็กขาดความรู้ความเข้าใจถึงการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ไม่มีหลักการทั้งด้านการจัดการและการตลาด ไม่มีการวางแผนและนำกลยุทธทางการตลาดมาใช้ในการดำเนินงานเท่าที่ควร คงมุ่งสนใจแต่เรื่องการผลิตและการปรับปรุงด้านการผลิตเป็นสำคัญ ผู้ผลิตให้ความสนใจในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และเพิ่มปริมาณการผลิต แต่การพัฒนาและการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อสนิงความต้องการของผู้บริโภคยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะในเรื่องการบรรจุหีบห่อและตราสินค้า สำหรับการกำหนดราคามีการบวกส่วนเพิ่มจากต้นทุนที่ประเมินไว้ ส่วนช่องทางการจำหน่ายนั้นผู้ผลิตรายเล็กขายส่งให้คนกลางทั้งในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป มีผู้ผลิตรายใหญ่เพียงใหม่กี่รายที่มีร้านค้าปลีกของตน และด้านการส่งเสริมการจำหน่ายผู้ผลิตและผู้จำหน่ายส่วนใหญ่ยังไม่มีการนำเอาการส่งเสริมการจำหน่ายมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดเท่าที่ควร ด้านผู้บริโภคซึ่งมีทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนิยมซื้อเครื่องเขินลายทองรดน้ำมากกว่าเครื่องเขินประเภทอื่น เพื่อเป็นของฝากและของที่ระลึกเป็นส่วนใหญ่ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคก็คือ ความละเอียดประณีตสวยงามของเครื่องเขิน ปัญหาของผลิตภัณฑ์เครื่องเขินมีดังนี้คือ 1. ปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ ปัญหาเรื่องปริมาณและราคาวัตถุดิบแน่นอน ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ คุณภาพและปริมาณการผลิตไม่สอดคล้องกับความต้องการ ขาดการปรับปรุงเทคนิคการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์ 2. ปัญหาด้านการจัดการ ได้แก่ ปัญหาขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจ ปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอ 3. ปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ ปัญหาการแข่งขันตัดราคาทั้งผู้ผลิตและจำหน่วยไม่สามารถหาตลาดที่แน่นอนได้ พ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อ การส่งเสริมการจำหน่ายมีน้อยมากและปัญหาเรื่องการส่งออก สำหรับข้อเสนอแนะมีดังนี้ 1. ด้านการผลิต ได้แก่ หน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดการฝึกอบรมทางด้านเทคนิคการผลิตอย่างต่อเนื่อง และการห้ามการส่งออกยางรัก 2. ด้านการจัดการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการอบรมเพื่อให้ผู้ผลิตและจำหน่ายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดำเนินธุรกิจ และพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินทุนในส่วนภูมิภาคด้วย 3. ด้านการตลาด ได้แก่ ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายควรใช้กลยุทธทางการตลาดในการขยายตลาด มีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์เครื่องเขินให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด การใช้หีบห่อและตราสินค้าเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และผู้ผลิตควรมีการรวมตัวกันในรูปของชมรมผู้ผลิตเครื่องเขินเพื่อแก้ปัญหาด้านการตลาดและการส่งเสริมการจำหน่วยร่วมกันนอกจากนี้หน่วยงานรัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือในการอบรมผู้ผลิตและจำหน่ายให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการตลาดและด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่องกันไปอีกด้วย
Other Abstract: Lacquerware products have been the major handcraft of Chiengmai province for a long time. The government has had programs to revitalize and improve the production and marketing of lacquerware. However, it has not reached the satisfactory stage. It was found from the study that the production business of lacquerware were mostly in the from of household-setting, employing family members. It usually take a lot of time and special skill to produce a high quality lacquerware. The majority of lacquerware manufacturers are small size and usually lack of knowledge and understanding if the operation system, and principles of marketing and management. Planning function in general as well as marketing strategic planning are discorded. The only thing that those small manufacturers concerned is production. They concentrate effort only to improve the production. While the manufacturers pay more attention to the quality of products as well as the way to increase quantity, product development to satisfy consumer needs are considered as less important issue, especially, packaging and brand name. On pricing policy, the mark-up system is based on estimated cost. The distribution of small manufacturers product was done through middlemen both in Bangkok and Chiengmai. There is only a few of large manufacturers who own retail stores. Both manufacturers and retailers do not pay attention to promotion and never use it as a marketing tool for their products. Consumers of lacquerware are both Thai and foreigners. They mostly buy the products, lacquerware with gold leaf design as gifts or souvenirs. The factor most influencing the buyers’ decision is the beauty and quality of the products themselves. In summary, the problem of lacquerware in Thailand could be divided into two major problems: 1. Production problems They include uncertainly of the availability and price of production materials, lack of skilled-labours, lack of stability of quality and quantity of production, lack of production development. 2. Management Problems are lacking of business management knowledge and the insufficient funds. 3. Marketing problems They include price competition, lack of certain market, middlemen’s low offering price, less promotion and export problems. The following suggestions are offered as the solution to the above-mentioned problems: 1. Production The government should offer a continuing training program on production technology as well as business management. The exporting of lacquer should be prohibited. 2. Management The government should arrange training program in business management for manufacturers and distributors. Besides, the government should subsidize regional funds for them. 3. Marketing Both manufacturers and distributors should plan marketing strategy to expand the market. There should be product development program base on consumer needs. Package design and brand name should be considered as a way to improve the value of product. Manufacturers should cooperate and organize the association to put their efforts to solve marketing problem. In addition, the government should offer a training program on market principles and concepts to both manufacturers and distributors of lacquerware.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27216
ISBN: 9745668826
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudaporn_Si_front.pdf464.92 kBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_Si_ch1.pdf412.17 kBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_Si_ch2.pdf633.42 kBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_Si_ch3.pdf680.38 kBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_Si_ch4.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_Si_ch5.pdf605.61 kBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_Si_back.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.