Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27237
Title: | การทดสอบสมรรถนะของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน แบบคอยล์ ลูบ เทอร์โมไซฟอน สำหรับนำพลังงานกลับคืนระหว่างอากาศกับอากาศ |
Other Titles: | Performance test of a coil-loop thermosiphon heat exchanger for air-to-air energy recovery |
Authors: | วีรชาติ นามพรหม |
Advisors: | วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล พิชัย ตั้งสถาพรพาณิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาทดลองสมรรถนะของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน แบบคอยล์ ลูป เทอร์โมไซฟอนระหว่างอากาศ กับอากาศโดยใช้ฟรีออน 22 เป็นของไหลใช้งาน ในเทอมของอัตราการถ่ายเทความร้อนและประสิทธิผล เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนประกอบด้วยคอยล์ระเหยและคอยล์ควบแน่นที่มีขนาด 60x40 ตร.ซม. แต่ละคอยล์ประกอบด้วยท่อทองแดงขนาด 3/8 นิ้ว (ผิวในเป็นเกลียว) จำนวน 4 แถว ติดครีบอลูมิเนียม 13 ครีบต่อนิ้ว พบว่าค่าดัชนีสมรรถนะทั้งสองนี้ขึ้นอยู่กับ ปริมาณบรรจุของของไหลใช้งานเมื่อปริมาณยังมีน้อย แต่เมื่อเพิ่มปริมาณบรรจุของของไหลใช้งานถึงช่วงเหมาะสมแล้วจะค่อนข้างคงที่ นอกจากนี้ค่าทั้งสองจะเพิ่มขึ้นตามผลต่างอุณหภูมิระหว่างลมร้อนและลมเย็น อัตราการถ่ายเทความร้อนจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอัตราการไหลของของไหลร้อนและเย็น แต่ประสิทธิผลจะลดลงเมื่ออัตราการไหลเพิ่มขึ้น เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปสร้างสหสัมพันธ์โดยอาศัยสองวิธีคือวิธี least squares กับวิธีแบบจำลองการนำความร้อน พบว่าวิธีแรกให้สหสัมพันธ์ของสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวมเป็นฟังก์ชันของตัวเลขเรย์โนลด์ ด้านสายเย็นและอัตราส่วนระหว่างตัวเลขเรย์โนลด์ด้านสายร้อนต่อตัวเลขเรย์โนลด์ด้านสายเย็น ส่วนวิธีที่สองให้ค่า B = 0.025, m = 1.35 และ C[subscript sf] = 0.0054 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการเกิดปรากฏการณ์ฮีสเทอรีซีสของค่าประสิทธิผล เมื่อเพิ่มและลดผลต่างอุณหภูมิระหว่างลมร้อนและลมเย็นในช่วงศูนย์ถึง 20℃ โดยทำการทดลองที่ความเร็วลงผิวหน้า 1.3 เมตร/วินาที จากความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผล กับผลต่างอุณหภูมิดังกล่าว อาจสรุปได้ว่าการเดือดของฟรีออน 22 จะไม่เริ่มจนกว่าผลต่างอุณหภูมิเพิ่มค่าเท่ากับ 4℃ อย่างไรก็ตามเมื่อเริ่มเดือดแล้วการเดือดจะไม่สามารถดับหายอย่างสมบูรณ์จนกระทั่งผลต่างอุณหภูมิลดค่าต่ำกว่า 1℃. สุดท้ายได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบ คอยล์ ลูปเทอร์โมไซฟอนระหว่างอากาศกับอากาศ โดยอาศัยสหสัมพัธ์ที่ได้ข้างต้นพบว่าถ้าใช้สหสัมพันธ์ จากวิธี least squares ในการออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนจะต้องคูณด้วย safety factor 10% แต่ถ้าใช้สหสัมพันธ์จากวิธีแบบจำลองการนำความร้อนจะต้องคูณด้วย safety factor 50% |
Other Abstract: | An experimental study of the performance of a coil-loop thermosiphon air-to-air heat exchanger, utilizing Freon 22 as the working fluid, has been carried out in terms of rate of heat transfer and the effectiveness. The heat exchanger consisted of an evaporator coil and a condenser coil. Each coil had cross-sectional area of 60x40 sq.cm., 3/8 inch (inner grooved) copper tubes with aluminium fins at 13 fins/inch set out as 4 separate loops. It was found that these two performance indices depended on the quantity of working fluid, when the fill ratio was still low, but when the fill ratio reached to the appropriate level these two indices were more or less constant. These two indices also increased with temperature difference between the hot and cold streams. The rate of heat transfer increased with the air flow rate as well. In contrast, the effectiveness decreased as the air flow rates increased. The data obtained were used to constructed two correlations based upon the least squares method and a heat conductance model. The first method revealed the overall heat transfer coefficient to be a function of the cold-stream Reynolds number and the ratio of the hot-stream to the cold-stream Reynolds number. In the second method, the parameters were found as follows: B = 0.025, m = 1.35 and C[subscript sf] = 0.0054. Besides, the hysteresis phenomenon between the effectiveness and the temperature difference between the hot and cold streams in the rang of zero to 20℃ was studied experimentally at air face velocity 1.3 m/s. From the obtained relationship between the effectiveness and the temperature difference, it may be concluded that boiling of Freon 22 was not initiated until a temperature difference of 4℃ was reached. However, once initiated, boiling did not completely disappear until the temperature difference dropped below 1℃. Finally, a computer program for designing the air-to-air coil-loop thermosiphon heat exchanger has been developed using the correlations obtained above. It was found that a safety factor of 10 % should be used the correlation obtained by the least squares method was used to design the heat exchanger ,whereas a safety factor of 50 % should be used if the correlation obtained using the heat conductance model was used. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27237 |
ISBN: | 9745821667 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Werachati_na_front.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Werachati_na_ch1.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Werachati_na_ch2.pdf | 4.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Werachati_na_ch3.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Werachati_na_ch4.pdf | 4.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Werachati_na_ch5.pdf | 7.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Werachati_na_ch6.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Werachati_na_ch7.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Werachati_na_ch8.pdf | 450.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Werachati_na_back.pdf | 7.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.