Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27270
Title: การเปลี่ยนแปลงในสาเหตุการตายกับระดับภาวะการตายตามกลุ่มอายุและเพศ ของประชากรไทย, 2504-2529
Other Titles: Changes in causes of death and the levelo of mortality by age and sex in thailand 1961-1986
Authors: ศศธร ไชยเพ็ชร
Advisors: เพ็ญพร ธีระสวัสดิ์
เทียนฉาย กีระนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะการตายของประชากรในช่วงปี พ.ศ.2504-2529 และศึกษาอิทธิพลของสาเหตุการตายที่มีต่อระดับภาวะการตายตามกลุ่มอายุและเพศของประชากรในช่วงเวลาเดียวกัน โดยใช้ข้อมูลจากโครงการศึกษาแบบแผนการเจ็บป่วยและการตายของประชากรไทย ซึ่งรวบรวมข้อมูลจำนวนการตายรวม จำนวนการตายจำแนกตามอายุ เพศและสาเหตุในช่วงปี พ.ศ.2504-2529 ผลการศึกษานี้พบว่าระดับภาวะการตายของประชากรไทยซึ่งวัดจากอัตราตายได้ลดต่ำลงโดยลำดับโดยอัตราตายของประชากรเพศชายลดลงมากกว่าอัตราตายของประชากรเพศหญิง และเมื่อพิจารณาอัตราตายเฉพาะอายุพบว่าอัตราตายของประขากรในกลุ่มอายุต่ำกว่า 1 ปีลดลงมากที่สุด และการลดลงของอัตราตายเฉพาะอายุนี้จะลดน้อยลงตามอายุที่สูงขึ้น สำหรับการเปลี่ยนแปลงสาเหตุการตายที่สำคัญของประชากรไทยนั้นพบว่าอัตราตายด้วยสาเหตุการตายในกลุ่มโรคติดเชื้อได้ลดลง ขณะที่อัตราตายด้วยสาเหตุการตายในกลุ่มที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อได้เพิ่มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาอัตราตายเฉพาะสาเหตุจำแนกตามอายุและเพศพบว่าอัตราตายเฉพาะสาเหตุในกลุ่มโรคติดเชื้อ เช่น อัตราตายด้วยโรคติดเชื้อ อัตราตายด้วยโรคระบบหายใจ และอัตราตายด้วยโรคระบบย่อยอาหารได้ลดต่ำลง โดยแทบจะไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศในทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปซึ่งอัตราตายด้วยโรคระบบย่อยอาหารและอัตราตายด้วยโรคระบบหายใจได้เพิ่มสูงขึ้น ส่วนอัตราตายเฉพาะสาเหตุในกลุ่มที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ เช่น อัตราตายด้วยโรคระบบไหลเวียนเลือด และอัตราตายด้วยโรคเนื้องอกและมะเร็งได้เพิ่มสูงขึ้นในทุกกลุ่มอายุ โดยอัตราตายด้วยโรคระบบไหลเวียนเลือดของประชากรเพศชายเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราตายของประชากรเพศหญิงอย่างเด่นชัด แต่ไม่พบแบบแผนที่แน่นอนของความแตกต่างระหว่างเพศในการเปลี่ยนแปลงอัตราตายด้วยโรคเนื้องอกและมะเร็ง ในส่วนที่เกี่ยวกับอิทธิพลของสาเหตุการตายที่มีต่อระดับภาวะการตายตามกลุ่มอายุและเพศนั้นพบว่าอัตราตายเฉพาะสาเหตุที่ลดต่ำลงและมีผลต่อการลดระดับภาวะการตาย ได้แก่ อัตราตายด้วยโรคติดเชื้อ อัตราตายด้วยโรคระบบหายใจ และอัตราตายด้วยโรคระบบย่อยอาหาร ซึ่งอัตราตายเฉพาะสาเหตุเหล่านี้มีค่ายืดหยุ่นของอัตราตายของประชากรเพศชายมากกว่าของประชากรเพศหญิง ยกเว้นอัตราตายด้วยโรคระบบย่อยอาหารซึ่งอัตราตายของประชากร เพศหญิงมีค่าความยืดหยุ่นมากกว่า ส่วนอัตราตายเฉพาะสาเหตุที่เพิ่มสูงขึ้นและมีส่วนชะลอการลดระดับภาวะการตาย ได้แก่ อัตราตายด้วยโรคระบบไหลเวียนเลือด และอัตราตายด้วยโรคเนื้องอกและมะเร็ง โดยมีค่าความยืดหยุ่นของอัตราตายเพิ่มขึ้นตามกลุ่มอายุที่สูงขึ้น และอัตราตายด้วยโรคระบบไหลเวียนเลือดของประชากรเพศชายมีค่าความยืดหยุ่นมากกว่าอัตราตายของประชากรเพศหญิง ผลจากการศึกษานี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งด้านการป้องกันและการรักษาพยาบาลให้เหมาะสมกับความแตกต่างของความเสี่ยงของการเกิดโรคของประชากรในแต่ละกลุ่มอายุและเพศ
Other Abstract: This study aims to describe the trend of mortality, and to ascertain the influence of changes in causes of death on the level of motality of the Thai population, during the period 1961 to 1986. The data used is based on that complied by the project entitled “Morbidity and Mortality Pattern of Thai Population.” Data on death is available by age, sex and cause of death. The mortality of the Thai population has gradually declined. The death rate reduced more among males than females. The age-specific death rate of the under 1 year age group has declined most rapidly, and the decline in age-specific death rates decreased with increasing age. The age-cause specific death rates showed a decline among infections disease group, and an increase among non-infectious disease group. For those which are included in the infections disease group, mortality from respiratory diseases and that from digestive diseases have declined, but not much evidence in sex differences, except for the 65 years old and over. For non-infectious disease group which includes circulatory diseases and a neoplasm, the age-cause specific death rates have increased in all age groups. The increase in the death rate was greater among males than females, however, for circulatory diseases; but sex differences in neoplasm mortality seemed to be minimal and have no clear pattern. The cause-specific death rates which showed a declining trend and thus contributed to the decline in the overall mortality level included infectious diseases, respiratory diseases and digestive diseases; for all of these, the elasticity of death rate was higher for males than for females, but with an exception for digestive diseases. The cause-specific death rates which showed an increasing trend and thus impeded the decline in the overall mortality level were circulatory diseases and neoplasm. For both causes, the elasticity of death rate increased with age, and was higher among males than females. The results from this study is expected to be useful for the preparation of the preventive and curative plans, which should be in line with the age-sex differentials in cause-specific mortality.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27270
ISBN: 9745793043
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasathorn_ch_front.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open
Sasathorn_ch_ch1.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open
Sasathorn_ch_ch2.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open
Sasathorn_ch_ch3.pdf24.68 MBAdobe PDFView/Open
Sasathorn_ch_ch4.pdf10.38 MBAdobe PDFView/Open
Sasathorn_ch_ch5.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Sasathorn_ch_back.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.