Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27303
Title: การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในชุมชนชนบทไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านวังคล้า อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Political communication and political participation of the Thai people in rural community : a case study of Ban Vang Kla, Amphoe Soeng Sang, Nakhon Ratchasima
Authors: เสน่ห์ นนทะโชติ
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในชุมชนชนบทไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านวังคล้า อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา “ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแบบแผนของการสื่อสารทางการเมืองในชนบทและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในชุมชนชนบท ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างระดับและลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในชนบทที่ได้รับการถ่ายทอดข่าวสารในระดับและช่องทางที่ต่างกัน วิธีการวิจัยได้กระทำโดยการสำรวจภาคสนาม โดยศึกษาประชากรในบ้านวังคล้า อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 312 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยการใช้นักวิจัยออกทำการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ การทดสอบ ไค-สแควร์ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เฉพาะส่วน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนในชุมชนชนบทโดยเฉลี่ยมีระดับการสื่อสารทางการเมืองและระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองค่อนข้างต่ำ 2. ประชาชนในชุมชนชนบทที่มีระดับการสื่อสารทางการเมืองสูงกว่า มีแนวโน้มที่จะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับสูงกว่าประชาชนที่มีระดับการสื่อสารทางการเมืองต่ำกว่า 3. ในด้านการสื่อสารทางการเมือง ประชาชนในชุมชนชนบทส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากการเปิดรับสื่อมวลชนมากกว่าการสื่อสารระกว่างบุคคล 4. ประชาชนในชุมชนชนบทที่ได้รับข่าวสารทางการเมืองจากช่องทางการเปิดรับสื่อมวลชนจะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับที่สูงกว่าผู้ที่ได้รับข่าวสารทางการเมืองจากช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคล 5. ในด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง ประชาชนในชุมชนชนบทเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยความสำนึกของตนเองและเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองแบบที่ไม่แน่นอนในอัตราที่ใกล้เคียงกัน ส่วนผู้ที่เข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการชักจูงระดมพลังจากผู้อื่นนั้นมีจำนวนน้อยกว่าสองประเภทแรก 6. ประชาชนในชุมชนชนบทที่ได้รับข่าวสารทางการเมืองจากช่องทางการเปิดรับสื่อมวลชนจะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยความสำนึกของตนเองมากกว่าผู้ที่ได้รับข่าวสารทางการเมืองจากช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคล และในทางตรงกันข้าม ประชาชนที่ได้รับข่าวสารทางการเมืองจากช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคลมีแนวโน้มที่จะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะของการชักจูงระดมพลังมากกว่าผู้ที่ได้รับข่าวสารทางการเมืองจากการเปิดรับสื่อมวลชน
Other Abstract: The purposes of this research are to explore political communication behavior and political participation among Thai people in rural community and to investigate the relationship between the political communication behavior and political participation level focusing on the difference in political participation level among those who obtain political information from different channels and, thereby, possessing different levels of political information. To collect the data, the sample of 312 of the villagers in Ban Vang Kla were interviewed. Percentage, Chi-Square Test and Partial Correlation Coefficient have been employed in data analysis. Finding are, to a large extent, logically correlated. The followings are among the existing phenomena extracted and ...
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27303
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saneh_No_front.pdf449.46 kBAdobe PDFView/Open
Saneh_No_ch1.pdf579.77 kBAdobe PDFView/Open
Saneh_No_ch2.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Saneh_No_ch3.pdf883.3 kBAdobe PDFView/Open
Saneh_No_ch4.pdf606.81 kBAdobe PDFView/Open
Saneh_No_ch5.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Saneh_No_ch6.pdf590.86 kBAdobe PDFView/Open
Saneh_No_back.pdf631.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.