Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27328
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรชัย ตันติเมธ | |
dc.contributor.author | เสถียร จันทสุบรรณ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-06T02:44:07Z | |
dc.date.available | 2012-12-06T02:44:07Z | |
dc.date.issued | 2520 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27328 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาโครงสร้างของการบริหารงานภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 4 2. เพื่อศึกษางานบริหารการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 4 โดยเฉพาะงานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานกิจการนักเรียน งานธุรการ-การเงิน การบริการ และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนรวม 5 งาน 3. เพื่อทราบปัญหาเกี่ยวโครงสร้างของระบบบริหารภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 4 และปัญหาการบริหารการศึกษาทั้ง 5 งานในโรงเรียนดังกล่าว วิธีการดำเนินงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสำรวจ ประกอบด้วยนักบริหารการศึกษา นักวิชาการและประชาชนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอและจังหวัดในเขตการศึกษา 4 รวม 5 จังหวัดได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดระยอง แล้วเลือกโรงเรียนทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอมาร้อยละ 50 เลือกผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นนักบริหารมาร้อยละ 100 จำนวน 45 คน นักวิชาการ 151 คน และประชาชนจำนวน 117 คน เมื่อได้แบบสำรวจคืนแล้วนำผลมาวิเคราะห์โดยรายงานผลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบอันดับความสำคัญของงาน และใช้ค่าไคสแคว์มาหาความแตกต่างในด้านความคิดเห็นต่องานของแต่ละกลุ่ม ผลการวิจัย 1. จากการศึกษาโครงสร้างของการบริหารการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตการศึกษา 4 พบว่าโรงเรียนได้แบ่งงานภายในโรงเรียนออกตามแนวทางที่กรมสามัญศึกษาได้ตกลงกับคุรุสภาในเรื่องการจัดอัตรากำลังครูให้แก่โรงเรียน โดยแบ่งงานออกเป็น 3 งานด้วยกันคืองานวิชาการ งานธุรการ งานปกครองหรือกิจการนักเรียน นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนอีก 2 กลุ่มที่ได้เพิ่มงานบริการและ/หรือแนะแนวเป็นงานที่ 4 2. เกี่ยวกับงานบริหารการศึกษาทั้ง 5 งานนั้นได้ข้อสรุปเป็นเอกฉันท์จากกลุ่มประชากรทุกกลุ่มว่าโรงเรียนได้ให้ความสำคัญต่องานบริหารบุคคลมากที่สุดเป็นอันดับ 1 และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนน้อยที่สุดและจัดเป็นอันดับสุดท้าย ส่วนการบริหารงานในแต่ละพฤติกรรมของแต่ละงานพบว่า 2.1 งานวิชาการ โรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ครูได้เลือกวิชาที่จะสอนด้วยตนเองอย่างเต็มที่ ผู้บริหารได้สนับสนุนให้ครูศึกษาหลักสูตรมาก สำหรับการปรับปรุงการสอนนั้น นักบริหาร นักวิชาการ มีความเห็นตรงกันว่า การประเมินการสอนของครูและการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาให้การอบรมแก่ครูน้อยที่สุด ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอและศึกษานิเทศก์ ไม่ได้ช่วยเหลือเพื่อปรับปรุงงานทางวิชาการเลย 2.2 การบริหารงานบุคคล พบว่าทั้งนักบริหารและนักวิชาการให้ความเห็นว่าโรงเรียนมีส่วนในการสรรหา คัดเลือกตลอดจนการพิจารณาให้คุณให้โทษแก่ครูน้อยมาก 2.3 งานกิจการนักเรียน นักบริหารการศึกษาและนักวิชาการให้ความเห็นว่าได้จัดให้มีการประชุมอบรมและเคร่งครัดเกี่ยวกับระเบียบวินัยมาก แต่มีการติดตามผลการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพของนักเรียนน้อยที่สุด 2.4 งานธุรการ-การเงิน พบว่าโรงเรียนได้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับทะเบียนนักเรียน ทะเบียนการเงินและทะเบียนพัสดุ-ครุภัณฑ์มาก 2.5 งานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โรงเรียนได้จัดให้มีการสรุปผลการปฏิบัติงานในรอบปีให้ชุนทราบน้อยมาก และมิได้จัดให้การอบรมความรู้แก่ชุมชนเลย 3. เกี่ยวกับปัญหาโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาและงานบริการการศึกษาทั้ง 5 งานนั้น ปรากฏง่าผู้บริหารมิได้นำทฤษฎีทางการบริหารการศึกษามาใช้บริหารงานภายในโรงเรียน แต่ปฏิบัติงานโดยอาศัยการสังเกตจากโรงเรียนระดับจังหวัดหรือโรงเรียนอื่นที่ได้ดำเนินงานมาก่อน ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานและการจัดโครงสร้างของโรงเรียนมาก | |
dc.description.abstractalternative | Purposes 1. To study the organization and administrative structure in Secondary school under the jurisdiction of the Department of General Education, Ministry of Education, in the Fourth Educational Region. 2. To study the educational administrative tasks in such secondary schools which were : Academic affairs, personnel management, activities of students, business management and finance and services with emphasis on school-community relations. 3. To study the organization problems of the administrative structure and problems in the educational administrative responsibilities in the secondary schools. Procedures Data in this research were collected from educational administrators, teacher educator and people dealing with the secondary schools in the General Education Department whose home towns are located in Ampurs and provinces within the fourth educational region through the use of Questionnaire Method. There were five provinces altogether : Krabee, Trang, Pang-nga, Phuket and Ranong. Fifty percent of the schools both in Ampurs and provinces was selected. All questionnaires were answered by 45 educational administrators, 151 teacher educators, and 117 people dealing with the schools. Data were processed into percentages by comparing the priority of each task. Chi-square was used for finding the significant difference of opinions among the various tasks. Findings 1. Secondary schools in the General Education Department in the fourth educational region have the same administrative structure according to the General Education Department and Teacher Council’s Agreement on teacher ratio and working load. According to that agreement, the administrative task is subdivided into 3 categories ; The academic, the business-management and the student affairs tasks. There are two groups of schools which have a kind of services and /or guidance as a fourth task. 2. The conclusion from the data is that every school ranks personnel administration as first priority and relationship with the community comes last. Each kind of administrative task results in the following analysis ; 2.1 Academic task : Every teacher has an opportunity to teach freely in his major or minor subject he wants to. The educational administrators support them quite well in studying the curriculum and instruction programms. Both educational administrators and teacher educators found that there is very little evaluation of individual teaching or invitation of qualified personnel to perform in-service training for staff members. Furthermore, they found that educational supervisors did not do anything to improve educational work. 2.2 Personnel administration: Both educational administrators and teacher educators gave an idea that schools could do nothing in recruitment, selection and promotion of school teachers. 2.3 Student affairs: Both educational administrators and teacher educators found that there were enough teachings and disciplines for the students but there was very few follow-up programmes in higher education and in finding jobs for the students. 2.4 Business-management and finance : Schools have student records, money records and various kinds of property records. 2.5 Community relationship : Schools report very little annual news of school affairs to the public and are also of very little help to the community. 3. Educational administrators have not used educational administrative theory in schools. They run their schools by imitating or modifying and by various kinds of observation from other schools. This procedure brings up many administrative problems and also a large number of the problems about the school structure organization. | |
dc.format.extent | 559220 bytes | |
dc.format.extent | 505157 bytes | |
dc.format.extent | 2068854 bytes | |
dc.format.extent | 550873 bytes | |
dc.format.extent | 3910808 bytes | |
dc.format.extent | 1173893 bytes | |
dc.format.extent | 2463802 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | งานบริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 4 | en |
dc.title.alternative | Educational administrative tasks of secondary schools in the fourth educational region | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sathian_Ch_front.pdf | 546.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_Ch_ch1.pdf | 493.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_Ch_ch2.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_Ch_ch3.pdf | 537.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_Ch_ch4.pdf | 3.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_Ch_ch5.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_Ch_back.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.