Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27329
Title: การสร้างแบบสอบภาคปฏิบัติสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง เพื่อคัดนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
Other Titles: Construction of a performance test in power electricity for screening the higher vocational education certificate applicants
Authors: เสถียร อุสาหะ
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบสอบภาคปฏิบัติ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลังสำหรับคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ผู้เข้าสอบเป็นรายบุคคล แบบสอบฉบับนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นโจทย์ข้อสอบสำหรับผู้เข้าสอบ ดำเนินการสร้างตามแบบการสร้างข้อสอบในแบบสอบอิงเกณฑ์ประเภทอิงโดเมน (Domain Referenced Test) ส่วนที่สองแบบสอบ คือ แบบประเมินผลการปฏิบัติงานมีลักษณะเป็นแบบรายการตรวจสอบ (Check list ) ในการสอบ การสร้างโจทย์ข้อสอบมีการสร้างดังนี้ คือ กำหนดประโยคโดเมนซึ่งมีทั้งหมด 4 โดเมน แล้วเขียนพฤติกรรมย่อยหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละโดเมน สร้างข้อสอบหลายๆ ข้อ วัดแต่ละจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม สุดท้ายก็ทำการสุ่มข้อสอบเพื่อเป็นตัวแทนของโดเมน ได้ข้อสอบทั้งหมดของแบบสอบชุดนี้ 13 ข้อ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบโดยใช้วิธีการของโรวิเนลลี และ แฮมเบลตัน ซึ่งเป็นการใช้ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาวิชาเป็นผู้ประเมินตรวจสอบการประมาณค่าความเที่ยงของแบบสอบทั้งฉบับและในแต่ละโดเมนโดยใช้วิธีไบโนเมียล สำหรับการให้คะแนนผู้เข้าสอบนั้นผู้เข้าสอบแต่ละคนจะถูกผู้บริหารแบบสอบ 2 คน เป็นผู้สังเกตการณ์ปฏิบัติงานและให้คะแนน โดยใช้แบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ดำเนินการประมาณค่าความเที่ยงของแบบประเมินตามวิธีการของกิลฟอร์ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นนักศึกษาแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลังระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีจำนวน 20 คน ให้ทดสอบเพื่อเป็นการทดลองแบบสอบ ส่วนอีกกลุ่มคือ ผู้สมัครสอบเข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ในปีการศึกษา 2526 จำนวน 70 คน ทดสอบเพื่อหามาตรฐานของแบบสอบ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ความเที่ยงของแบบสอบโดยวิธีของไบโนเมียลในแต่ละโดเมนทั้ง 4 โดเมนและแบบสอบทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87, 0.85, 0.70, 0.92 และ 0.92 ตามลำดับ ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัดเท่ากับ 2.41, 2.18, 1.31, 1.04 และ 4.05 ตามลำดับ 2. ความเที่ยงของการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เข้าทดสอบมีค่าในระดับสูงมากคือ ค่าความเที่ยงในการประเมินที่คิดจากผู้ประเมิน 1 คน มีค่าระหว่าง 0.91 – 0.99 ค่าเฉลี่ยความเที่ยงในการประเมินที่คิดจากผู้ประเมินทั้งหมด (2 คน) มีค่าระหว่าง 0.94 – 0.99 3. ความตรงขอบแบบสอบ ความตรงตามเนื้อหาวิชาของแบบสอบใช้วิธีการของโรวิเนลลีและแฮมเบลตันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาวิชาเป็นผู้ประเมินตรวจสอบ ปรากฏว่าคะแนนการประเมินความตรงตามเนื้อหาวิชาของข้อสอบในแต่ละข้อมีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีคะแนนเฉลี่ยเกิน 2.50 จากคะแนนเฉลี่ยเต็ม 3.00 ความตรงร่วมสมัยของแบบสอบโดยหาค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างคะแนนแบบสอบภาคปฏิบัติกับคะแนนแบบสอบภาคทฤษฎีไฟฟ้าฉบับที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.62 และกับคะแนนภาคทฤษฎีไฟฟ้าฉบับที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.68 ความตรงตามโครงสร้างของความเป็นเอกพันธ์ของแบบสอบทั้ง 4 โดเมน โดยหาค่าความสอดคล้องภายใน (Internal Consistency) ของคะแนนรวมในแต่ละโดเมนกับคะแนนรวมของโดเมนที่เหลือได้ค่าสหพันธ์ มีค่าอยู่ในช่วง 0.57 – 0.76 4. ข้อสอบทุกข้อของแบบสอบมีค่าอำนาจจำแนก โดยการทดสอบ t (t-test) คะแนนของกลุ่มที่สอบผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์ มีค่าสถิติ t อยู่ในช่วง 3.10 – 8.22 มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ทุกข้อ
Other Abstract: The purpose of this research was to construct a Performance Test in power electricity for screening applicants for the Higher Vocational Education Certificate. This test was an individual test and was patterned after the Domain Reference Test which is composed of two parts: the first part includes items which are performance questions in electricity and the second is a checklist for rating the examinee. The first part was constructed as follow: four domain tasks were determined and for each one behavioral objectives were written. As many items as possible for each behavioral objective were constructed. Then, items were randomly selected to represent all the domains. This test was composed of 13 items. Content validity was determined by using Rovinalli and Hambleton’s method, using expert judges in electricity. The reliability of the whole test and of each domain were estimated by the Binomial method. For rating the applicants the checklist in the second part of the test was used. Each applicant was observed by two test administers. The reliability of raters was calculated by the Guilford method. There were two samples is this study. The first one, twenty electrical students from Meenburi Technical College, was used to try out the test. The second one included seventy applicants who applied to study for the Higher Vocational Education Certificate in the field of electricity at Phuket Technical College in 1983. This second sample was used for checking the quality of the test. The results of this research are as follow. 1. The reliability of the whole test is 0.92 and the standard error of measurement of the test is 4.05. The reliability of each domain is 0.87, 0.85, 0.70 and 0.92 and the standard error of measurement of each domain is 2.41, 2.18, 1.31 and 1.04 respectively. 2. The reliability of the rating ranges from 0.94, to 0.99 and the reliability of the judgements of one rater rangers from 0.91 to 0.99. 3. The Validity of the test. 3.1 Content validity using Rovinelli and Hambleton’s method was determined by expert judges in electricity. 3.2 Concurrent validity was determined by the correlation between the performance test and theory test in electricity. The correlation coefficient with the theory test No. 1 and 2 was 0.62 and 0.68 respectively. 3.3 Construct validity was determained by investigating the internal consistency between the score of one domain and the scores of the other domains. The internal consistency coefficient correlation was in the range of 0.5793 to 0.7613. 4. The discrimination index for each item, tested by the t-test, ranged from 3.10 to 8.22, statistically significant at the 0.01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27329
ISBN: 9745627593
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sathien_Us_front.pdf511.94 kBAdobe PDFView/Open
Sathien_Us_ch1.pdf452.45 kBAdobe PDFView/Open
Sathien_Us_ch2.pdf609.11 kBAdobe PDFView/Open
Sathien_Us_ch3.pdf923.57 kBAdobe PDFView/Open
Sathien_Us_ch4.pdf471.32 kBAdobe PDFView/Open
Sathien_Us_ch5.pdf575.64 kBAdobe PDFView/Open
Sathien_Us_back.pdf405.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.