Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27336
Title: วิเคราะห์โครงสร้างของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521
Other Titles: An analysis of the Lower Secondary Curriculum School Structure B.E. 2521
Authors: เสนีย์ พิทักษ์อรรณพ
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาโครางสร้าง หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ตามแนวของทฤษฎีและหลักการของการพัฒนาหลักสูตร 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาและนักการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 3. เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาและนักการศึกษาที่มีต่อโครงสร้างหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียน 276 คน ผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียน 288 คน นักการศึกษานอกโรงเรียน 288 คน และนักการศึกษาในโรงเรียน 288 คน ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัย เป็นแบบประเมินค่าและแบบตรวจสอบ จากแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งสิ้น 1,140 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามคืนมา และสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 1,020 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 89.47 นำมาวิเคราะห์โดยวิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์แห่งการกระจาย (C.V.) และวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม โดยการหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance –ANOVA) ผลการวิจัย 1. หลักการ ความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยอย่างยิ่ง ได้แก่ - หลักสูตรจะต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้อลการ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน - หลักสูตรจะต้องจัดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพในด้านต่างๆ ของผู้เรียน - หลักสูตรจะต้องจัดให้ทั้งวิชาสามัญและวิชาอาชีพที่เหมาะสมกับวัยเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวัน และ - หลักสูตรจะต้องจัดสอนวิชาอาชีพให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นทางด้านอาชีพได้ สำหรับส่วนที่อยู่ในเกณฑ์เห็นด้วย ได้แก่ - หลักสูตรจะต้องจัดแผนการเรียนให้จบในตัวเองและเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อ และ - หลักสูตรจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้และทักษะจากแหล่งวิทยาการและสถานประกอบการได้ 2. จุดหมาย ความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยอย่างยิ่ง ได้แก่ - การรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเองและผู้อื่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข - การรู้จักใฝ่หาความรู้ ทักษะในการทำงาน มีความซื่อสัตย์ เคารพต่อกฎหมาย ตลอดจนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ - การรู้จักการประหยัด ขยัน อดทน และมีความมานะพากเพียรในการทำงาน - การรู้จักนำความรู้ไปปรับปรุงใช้การดำรงชีวิตการทำงานเป็นหมู่คณะ การแก้ปัญหาต่างๆ ตลอดจนมีความสามัคคี เสียสละเพื่อส่วนรวม - การรู้จักหาช่องทางในการนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของตนเอง - การรู้จักการบำรุงรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ - การรู้จักและผูกพันกับท้องถิ่นของตน สร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นของตนเอง และมีความภูมิใจในความเป็นไทย - การรู้จักรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงของชาติ มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ - การรู้จักส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมของชาติไทย และ – การรู้จักการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
สำหรับจุดมุ่งหมายที่ว่า การรู้จักคิดและวิเคราะห์อย่างมีระเบียบ อยู่ในเกณฑ์เห็นด้วย 3. กลุ่มวิชา ความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยอย่างยิ่ง ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ กลุ่มสังคมศึกษา และกลุ่มการงานและอาชีพ สำหรับกลุ่มภาษา และกลุ่มพัฒนาบุคลิกภาพ อยู่ในเกณฑ์เห็นด้วย 4. จำนวน คาบต่อสัปดาห์ของรายวิชาบังคับ ความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยอย่างยิ่ง ได้แก่ วิชาวิทยาศาสตร์ (4 คาบต่อสัปดาห์) วิชาสังคมศึกษา (5 คาบต่อสัปดาห์) วิชาพลศึกษา (2 คาบต่อสัปดาห์) วิชาสุขศึกษา (1 คาบต่อสัปดาห์) วิชาศิลปศึกษา (2คาบต่อสัปดาห์) วิชาการงาน (4 คาบต่อสัปดาห์) และกิจกรรม (1 คาบต่อสัปดาห์) 5. รูปแบบของโครงสร้างหลักสูตร ความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยมาก ได้แก่ รูปแบบของโครงสร้างที่ประกอบด้วย 5 กลุ่มวิชา คือ กลุ่มภาษา กลุ่มวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ กลุ่มสังคมศึกษา กลุ่มพัฒนาบุคลิกภาพ และกลุ่มการงานและอาชีพ
Other Abstract: Objectives: The objectives of this study were as follows: First, to study the Lower Secondary Curriculum Structure B.E. 2521 in accordance with theories and principles. Second, to study the educational administrators and educators opinions’ concerning the Lower Secondary Curriculum Structure B.E. 2521. Third, to analyze the differences between the educational administrators and the educators opinions’ concerning the Lower Secondary Curriculum Structure B.E. 2521. Procedures: Sample used in this study consisted of 288 administrators and 288 educators within schools, 276 administrators and 288 educators who are not-within school which were selected by stratified random sampling. The instrument used for this study was a questionnaire being constructed in the form of rating scale and check list. Of the total 1,140 questionnaires sent out, 1,020 or 89.47 percent were completed and returned. Data were analyzed by means of percentage, mean, standard deviation, and coefficience of variation. One-way Analysis of Varience (One-Way ANOVA) was employed to test the significant differences among the opinions. Findings: The findings of this study can be summarized as follows: 1. Principles The principles which were rated most agreeable are as follows: - The curriculum must be designed to meet the needs ability and interest of the learners. – The curriculum must be organized to promote all aspect of the learners; character development. – The curriculum must provide both academic and vocational subjects appropriate to the learners’ age in order to be the foundation for daily living. – The curriculum must be provided for the instructional process which appropriate to the local conditions and needs. Those were rated agreeable are as follows: -The curriculum must provide both terminal and functional programs for further studies. – The curriculum must open for the learner to seek more knowledge and skills from other sources. 2. Aims The aims which were rated most agreeable are as follows: - Knowing the civil rights under the constitutional systems. – Eagerness to seek more knowledge and working skills. Being honest and respect the law including having an initiativeness. – Knowing to be economical, industrious, patient, and determined in working. – Applicable knowledge to work as a term for improvement the living and working conditions, be able to solve problems and having a cooperative spirit and sacrifice. – Applicable of applying knowledge into working and spending the leisure time for self usefulness. – Knowing how to maintain both physical and metal healthy. – Having a sense of belongingness and develop the community, and to be proud of being a Thai. – Knowing how to maintain the national security, having loyalty to the nation, religion, and Monarchy. – Knowing how to promote the national arts and culture. – Knowing how to live happily with others. The only aim, that was rated agreeable is that knowing how to think critically and systematically. 3. Subjects Areas Subjects areas which were rated most agreeable are: science and mathematics, social studies, and work education. But language and character development were rated agreeable. 4. Compulsory subjects and number of periods per week The only subject that was rated agreeable are Thai language (4 periods per week), mathematics (4 period per week), social studies (5 periods per week), Physical education (2 periods per week), health education (1 period per week), art education (2 periods per week), work education (4 periods per week), and activities (1 period per week). 5. Model of the curriculum structure The model which was rated most agreeable is consisted of five subjects which are: language, science and mathematics, social studies, character development, and work education.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27336
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senee_Pi_front.pdf726.74 kBAdobe PDFView/Open
Senee_Pi_ch1.pdf572.63 kBAdobe PDFView/Open
Senee_Pi_ch2.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Senee_Pi_ch3.pdf435.19 kBAdobe PDFView/Open
Senee_Pi_ch4.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Senee_Pi_ch5.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Senee_Pi_back.pdf706.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.