Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27343
Title: โครงการสต็อคสินค้าข้าวตามฤดูกาลในประเทศไทย
Other Titles: Seasonal rice buffer stock programme in Thailand
Authors: สุวาณี เจริญสุริยฉัตร
Advisors: ชัยวัฒน์ คนจริง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ข้าวเป็นสินค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับบุคคล 3 ฝ่ายคือ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และรัฐบาล ปัญหาของข้าวปัญหาหนึ่งก็คือ ปัญหาความผันผวนของตลาดและราคาในฤดูกาลการผลิตหนึ่งๆ ความไม่เสถียรภาพของระดับราคาข้าวจะเป็นในลักษณะที่ว่าระดับราคาข้าวตกต่ำสำหรับผู้ผลิตตอนต้นฤดูและสูงเกินไปสำหรับผู้บริโภคตอนปลายฤดู จากผลอันนี้ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในระดับราคาและรายได้ของผู้ผลิตรวมทั้งความไม่แน่นอนในระดับราคาและรายได้ของผู้ผลิตรวมทั้งความไม่แน่นอนในระดับราคาผู้บริโภค ดังนั้นจุดประสงค์ของการศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีดังนี้ 1. เพื่อคาดคะเนความเคลื่อนไหวปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดและระดับราคาข้าวในแต่ละฤดูกาลของแต่ละปี 2. เพื่อศึกษาถึงหลักเกณฑ์การดำเนินงานของโครงการสต๊อคกันชนข้าว โครงสร้างรูปแบบทางเศรษฐมิติที่อาศัยสมการเส้นตรงได้มาใช้ในการวิเคราะห์เรื่องนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคำนวณหาความแปรปรวนของปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดเป็นรายเดือนในรอบปีหนึ่งๆ ตั้งแต่ปี 2513/14 – 2521/22 และเพื่อเป็นหลักฐานการคาดคะเนความแปรปรวนของปริมาณข้าวตามฤดูกาลในอนาคต ทำนองเดียวกันรูปแบบสมการดังกล่าวก็ได้นำมาใช้เพื่อการคาดคะเนความแปรปรวนของระดับราคาข้าวเปลือกในตลาดขายส่งควบคู่ไปด้วย ปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดเป็นรายเดือนและค่าความยืดหยุ่นของความต้องการบริโภคข้าวที่คำนวณได้ก็ได้ใช้เป็นเครื่องมือการกำหนดปริมาณข้าวที่รับซื้อและจำหน่ายออกไปตามโครงการสต๊อคข้าวนี้ในแต่ละเดือนรวมทั้งการกะประมาณจำนวนเงินทุนรับซื้อและรายได้จากการจำหน่ายด้วย ผลของการศึกษาความแปรปรวนของปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาที่คาดคะเนพ.ศ.2522-2524 ปรากฏว่าปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดมีการแปรปรวนจากค่าสูงสุดและต่ำสุดประมาณร้อยละ 27 ซึ่งมากกว่าความแปรปรวนของปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดในระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (1.96 standard deviation) หรือเท่ากับร้อยละ 18 ของปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดเฉลี่ยต่อเดือน ส่วนความแปรปรวนของระดับราคาขายส่งข้าวเปลือกจากค่าสูงสุดถึงค่าต่ำสุดคำนวณได้เท่ากับร้อยละ 14 ซึ่งมากกว่าความแปรปรวนของระดับราคาขายส่งข้าวเปลือกที่เป็นไปในระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (1.96 standard deviation) หรือเท่ากับร้อยละ 9 ของระดับราคาแนวโน้มเฉลี่ยของ 12 เดือน ตามที่ได้กำหนดในที่นี้โครงการฯ จะควบคุมระดับราคาข้าวให้เคลื่อนไหวอยู่ภายในขอบเขตสูงหรือต่ำคิดเป็นร้อยละ 1, 2.5, 5 ของราคาเป้าหมาย โดยมีค่าความยืดหยุ่นของความต้องการข้าวในช่วงระยะต้นฤดูเท่ากับ -0.78 และในช่วงระยะปลายฤดูเท่ากับ -1.38 หากความแปรปรวนของปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดและระดับราคาข้าวยังคงเป็นไปในระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 แล้ว จำนวนสต๊อคที่จะต้องรับซื้อใจ ณ ช่วงราคาเป้าหมาย 3 ช่วงดังกล่าวจะเท่ากับ 1.685 1.601 และ 1.451 ล้านตันตามลำดับ จำนวนเงินทุนที่ต้องการต่ำสุดจะเท่ากับ 5,000 ล้านบาท และสูงสุดไม่เกิน 6,051 ล้านบาท สำหรับช่วงราคาเป้าหมายที่กว้างที่สุดคือร้อยละ 5 ของราคาเป้าหมายเฉลี่ยนั้น จำนวนสต๊อคที่รับซื้อต่อฤดูคำนวณได้ต่ำสุดเท่ากับ 1.451 ตันหรือคิดเป็นเงินทุนที่ต้องรับซื้อเท่ากับประมาณ 5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดีโครงการเสถียรภาพราคาข้าวตามฤดูกาลตามที่ได้ศึกษาในที่นี้จะสามารถทำให้เกิดระดับช่วงราคาเสถียรภาพได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 สูงต่ำกว่าราคาเป้าหมายโดยเฉลี่ยแต่ถ้าความเคลื่อนไหวของราคาข้าวที่มากกว่าร้อยละ 5 สูงต่ำกว่าราคาเป้าหมายนั้นเป็นระดับราคาที่ยอมรับได้ในแง่ของเสถียรภาพของราคาแล้ว โครงการสต๊อคกันชนข้าวตามฤดูกาลที่ได้เสนอไว้ในการศึกษาครั้งนี้ก็ไม่มีความจำเป็นเพราะเพียง ลำพังกลไกลตลาดก็สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการเสถียรภาพราคาข้าวได้
Other Abstract: In Thailand, rice is an important food crop which usually of concern among many groups, namely, farmers, consumers, and the government. Among many critical problems, the problem of seasonal fluctuation in rice price and quantity marketed of very much concern. The seasonality of rice production have caused too low prices for farmers at harvest t me and too high prices for the consumers in off-season period. It is, therefore, the interest of this study to demonstrate whether a buffer stock programme could be a promising measure to mitigrate the seasonal fluctuation in rice price in Thailand. Specifically, the objectives of this study are as follow: 1. To estimate and forcast the seasonal flow of rice supply in Thailand. 2. To Study the operation structure of the rice buffer stock programme i.e., the amount of rice stocks purchased and distributed, the value of total costs and revenues and the stabilized seasonal price and quantity marketed for rice. Using the simple linear regression technique, the estimates of seasonal rice prices and the seasonal flow of rice supply were made. The ranges of stabilized prices were then set up and the calculated price elasticity parameters of the demand for rice were also used to determine the amount of paddy to be purchased or sold under the proposed seasonal rice buffer stock programme. The fluctuation of the flow of average rice supply in furcating period from 1979 to 1981 showed that the fluctuation from the highest to the lowest was 27% of the peak exceeded the fluctuation of the flow of rice supply measured at 95% of level of confidence (1.96 standard deviation) level. The magnitude of the fluctuation is equivalent to 18% the average flow of monthly rice supply. Moreover; the fluctuation of the rice prices from peak to lowest level was 14% which exceeded the fluctuation of rice prices measured at 95% of level of confidence (1.96 standard deviation) level, as well. This is equivalent to 9% the average rice prices. With 1% 2.5% 5% required ranges of the stabilized prices and the estimated price elasticity of demand for rice of -0.78 at harvest period and of -1.38 in off-season period, and with the rice supply fluctuation of 95% confidence level, the required stocks of rice were estimated at 1.685 1.601 1.451 million tons respectively. The amount of purchasing fund was also estimated at 6, 051 5,661 5,000 million baht respectively. For the maximum price stocks was estimated at 1.451 million tons and the required purchase budget was about 5,000 million baht which is lowest compared to those required by the smaller target price ranges. It is noted that, this proposed buffer stocks can handle price stabilization up to only 5% higher and lower than the average target price. If greater price fluctuation i.e. 10%-15% are acceptable, then the proposed seasonal buffer stock programme would not provide better price stabilization than otherwise with free market operation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2523
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27343
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suvanee_Ch_front.pdf494.76 kBAdobe PDFView/Open
Suvanee_Ch_ch2.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Suvanee_Ch_ch3.pdf341.93 kBAdobe PDFView/Open
Suvanee_Ch_ch4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Suvanee_Ch_ch5.pdf371.28 kBAdobe PDFView/Open
Suvanee_Ch_back.pdf497.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.