Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27380
Title: นโยบายการใช้ที่ดินในเขตชานเมืองชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเพื่อวางแผนเสนอแนะการใช้ที่ดินในเขตลาดกระบัง
Other Titles: Land use policy in an outer suburb of Bangkok : the case study for tentative guide plan in Lad-Krabang
Authors: สุวัฒนา สุกใส
Advisors: ชลิตภากร วีรพลิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันชานเมืองชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร บริเวณที่เป็นเขตต่อชนบท (Rural-urban Fringe) กำลังเปลี่ยนสภาพเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อแรกเริ่มบริเวณดังกล่าวมีลักษณะทั้งกายภาพและสังคมเป็นชนบท แต่ได้ถูกความเป็นเมืองรุกล้ำเข้าไปจากใจกลางเมือง ทำให้สภาพชนบทค่อย ๆหมดไป เขตชานเมืองชั้นนอกของกรุงเทพมหานครมีด้วยกันทั้งสิ้น 6 เขต ได้แก่ เขตหนองจอก ลาดกระบัง บางขุนเทียน ตลิ่งชัน และหนองแขม เป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นของประชากรต่ำมาก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงใช้เพื่อการเกษตร การวางแผนการใช้ที่ดินในเขตนี้นับว่าเป็นบริเวณที่จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษโดยไม่สามารถใช้มาตรการเดียวกันกับการวางผังนครหรือการวางผังชนบท ตรงกันข้ามบริเวณนี้ต้องการการวางผังกึ่งเมืองและชนบทในรูปแบบการวางผังเฉพาะ (Specific Planning) โดยจำเป็นจะต้องกำหนดนโยบายให้แน่ชัดลงไปว่าจะให้มีลักษณะเป็นชนบทมากกว่าเมืองหรือมีความเป็นเมืองมากกว่าชนบท “เขตลาดกระบัง” ได้ถูกนำมาเป็นกรณีศึกษาในการวางแผนเสนอแนะการใช้ที่ดินชานเมืองชั้นนอกกรุงเทพมหานคร ผลจากการศึกษาปรากฏว่าข้อมูลบางประการที่นำมาพิจารณาเกี่ยวกับที่ตั้ง ประวัติความเป็นมาและลักษณะกายภาพของพื้นที่แสดงให้เห็นว่าลาดกระบังมีลักษณะเป็นชนบท มีการตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพของประชากรดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติของพื้นที่ในรูปแบบสังคมการ เกษตรบนพื้นที่ดินอันอุดมสมบูรณ์เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว และมีลำคลองหล่อเลี้ยงหลายสายตลอดไปในพื้นที่ แต่ในปัจจุบันนี้การใช้ที่ดินในเขตลาดกระบังได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยเปลี่ยนจากการใช้ที่ดินแบบชนบทมาเป็นการใช้ที่ดินแบบเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแขวงลาดกระบัง ขบวนการ เป็นเมือง (suburbanization) ดังกล่าวมีสาเหตุโดยสรุปดังนี้ 1. การปรับปรุงการคมนาคมขนส่งทางถนน 2. การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานคร 3. บทบาทของนักจัดสรรที่ดิน 4. การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม 5. การขยายหน่วยงานของรัฐบาลในเขตลาดกระบัง การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทำให้เกิดผลกระทบที่สำคัญหลายประการ ประการแรก คือ ที่นาที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศผืนหนึ่งกำลังจะหมดสิ้นไป ประการต่อมาคือ การขาดแคลนพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้แล้วในทางผังเมืองจะเห็นได้ทันทีว่าเป็นการเพิ่มปัญหาของกรุงเทพฯ เนื่องมาจากความไม่เพียงพอของสาธารณูปโภค ซึ่งรัฐจะต้องจัดการบริการ “ไล่ตาม” พื้นที่เมืองเปิดใหม่อย่างไม่จบสิ้น และขณะที่มีการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือในระหว่างที่เจ้าของที่ดินยังไม่พร้อมที่จะลงทุนบนที่ดินของตน ที่ดินซึ่งถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศจะยังคงปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าปราศจากคุณค่าทางเศรษฐกิจ ปัญหาประการสุดท้ายคือ ปัญหาทางสังคม ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาอันเนื่องมาจากชาวนาที่ไม่สามารถจะทำนาได้อีกต่อไป เป็นสภาพที่ชาวนาจะต้องยอมรับและต้องการการปรับตัวที่ถูกต้อง โดยทั่วไปชาวนาไทยมักจะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ยากจน ไม่มีที่ดินของตนเอง ขาดความรอบรู้ในวิชาการสมัยใหม่ เมื่อไร้ที่ทำกินจึงอยู่ในสภาพที่ว่างงาน จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องวางมาตรการ การใช้ที่ดินเพื่อให้ชาวนาชานเมืองยังมีโอกาสประกอบอาชีพของตน จากสภาพความเป็นจริงดังกล่าวนำมาพิจารณาร่วมกับแนวโน้มการใช้ที่ดินอันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในเขตลาดกระบังและบริเวณพื้นที่ต่อเนื่อง ในที่สุดได้ทำการกำหนดเป้าหมายหลักของแผนการใช้ที่ดินของชานเมืองชั้นนอก โดยกำหนดให้คงสภาพพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อส่งเสริมการกินดีอยู่ดีของชาวนาลาดกระบัง ในการนี้จะต้องมีนโยบายที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักดังนี้ 1. เขตลาดกระบังจะต้องใช้ที่ดินให้เหมาะสมตามสมรรถนะของดิน 2. ส่งเสริมโครงการพัฒนาที่จะอนุรักษ์สภาพพื้นที่เกษตรกรรมในเขตลาดกระบัง 3. จำกัดการขยายตัวของชุมชนเมืองให้อยู่เฉพาะในขอบเขตที่เหมาะสม 4. ป้องกันสภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเนื่องมาจากการใช้ที่ดินเป็นเมืองเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อพื้นที่เกษตรกรรม และในที่สุดได้เสนอแนะแผนการใช้ที่ดินในเขตลาดกระบังซึ่งประกอบไปด้วยเขตพื้นที่ชุมชน เขตเกษตรกรรม เขตพื้นที่ริ้วสีเขียว (ปลอดอาคาร) และระบบถนน โดยกำหนดมาตรการด้านกฎหมาย เศรษฐกิจ วิศวกรรม และด้านสังคมควบคู่ไปด้วย
Other Abstract: The outer suburbs of Bangkok have been surrounded by the prosperous agricultural land. With the area of 843 square kilometers, They appear as the rural-urban fringes. For a very long time, the fringes have protected Bangkok from urban sprawl problems with their paddy fields and rural fresh atmosphere. Moreover, they are one of the most rice productive areas of the country. However, the rural land uses of the fringes have been rapidly changed. This research is a study of such situation by using Lad-Krabang Suburb as the representative of the Bangkok rural-urban fringes. The conclusion derived from the study reveals that Lad-Krabang lost about 55% of its paddy fields around the District Centre during 1969-1976 with a decrease of 74% of farmers families. This figures are compensated by the increase of urban land uses, eg. as residential, industrial and transport area. Such land use changes are unplanned. Therefore, the suburban sprawls have been created and their impacts result in socio-economic and environmental problems. The people who were most affected are the present Lad-Krabang farmers, the 90% of the whole population of the agricultural area. They have to face the following problems : 1. The lack of cultivation land 2. The lower capability of land for farming because of the pollution from the near-by factories 3. The rapid decrease of the farming products 5. The adaptation of farmers to urban life and the low living standard since they can no longer work in the farm. Such existing condition was considered together with the development projects launched in Lad-Krabang and the vicinity. The landuse trend came out with the reveal of problems, so that the reasonable landuse plan should be recommended. The planning goal was set to improve the living condition of Lad-Krabang farmers therefore, the planning policy was pointed to fulfill that goal : 1. Lad-Krabang land use will be based on the soil potential and soil capability of the area. 2. The development projects for the conservation of agricultural zones will be supported. 3. The unnecessary urban land use will be limited. 4. Any activities causing environmental pollution to the agricultural zone will be discouraged. Finally, the tentative guide plan for Lad-Krabang land use was proposed with four kinds of land zoning. They are the agricultural zone, the green belt, the urban use zone and the road network. The implementation measurement in socio-economic, law and engineering work also mentioned to complete the research.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27380
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwattana_So_front.pdf646.07 kBAdobe PDFView/Open
Suwattana_So_ch1.pdf864.9 kBAdobe PDFView/Open
Suwattana_So_ch2.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Suwattana_So_ch3.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Suwattana_So_ch4.pdf842.03 kBAdobe PDFView/Open
Suwattana_So_ch5.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Suwattana_So_ch6.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Suwattana_So_ch7.pdf971.92 kBAdobe PDFView/Open
Suwattana_So_back.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.