Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27382
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตการศึกษา 2
Other Titles: Relationships between scientific attitude and scientific creativity of the upper secondary school students in the educational region two
Authors: สุวิมล ชอบทำกิจ
Advisors: ธีระชัย ปูรณโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตการศึกษา 2 (2) ศึกษาทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนดังกล่าว เปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนมัธยมสาธิต และโรงเรียนมัธยมสามัญ กลุ่มตัวอย่างประชากรประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 250 คน ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิต 100 คน และนักเรียนโรงเรียนสามัญ 150 คน เครื่องที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และแบบวัดทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนโดยทดสอบค่าซี ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตการศึกษา 2 มีทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูง 2. ทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เป็น 0.257 3. ทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิตกับนักเรียนโรงเรียนมัธยมสามัญ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิตกับนักเรียนโรงเรียนสามัญ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to examine the relationships between the level of scientific attitude and the scientific creativity of students and (2) to study the level of scientific attitude and scientific creativity of students, comparing in terms of school type. The subjects comprised of 250 students : 100 were demonstration school students; 150 were other upper secondary school students in the Educational Region Two. The instruments used were the Test of Scientific Creativity and the Scientific Attitude Scale. Statistical data were analyzed by using the Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and the z-test The major results of the study were as follows : 1. The upper secondary school students in the Educational Region Two had a high level of scientific attitude. 2. The correlation coefficient obtained between the scientific attitude and scientific creativity was 0.257 at .001 level of significance. 3. The demonstration school students and other upper secondary school students were different in scientific attitude at .05 level of significance. 4. The demonstration school students and other upper secondary school students were different in scientific creativity at .001 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27382
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwimon_Sh_front.pdf386.51 kBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Sh_ch1.pdf506.77 kBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Sh_ch2.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Sh_ch3.pdf550.13 kBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Sh_ch4.pdf323.96 kBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Sh_ch5.pdf582.68 kBAdobe PDFView/Open
Suwimon_Sh_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.