Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27383
Title: การสำรวจสถานภาพการทำงานของบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Other Titles: A survey of working status of Faculty of Education Graduates, Ramkhamhaeng University
Authors: สุวิมล อังควานิช
Advisors: พวงแก้ว ปุณยกนก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจสถานภาพการทำงานของบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยแบ่งบัณฑิตออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บัณฑิตที่ทำงานขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหงกับบัณฑิตที่ไม่ได้ทำงานขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ คะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อสำเร็จการศึกษา และปริญญาสาขาวิชาที่จบกับสถานภาพการทำงานของบัณฑิตที่ไม่ได้ทำงานขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง สถานภาพการทำงานที่ศึกษาได้แก่ อาชีพ ภูมิภาคที่ปฏิบัติงาน หน่วยงานลักษณะงาน รายได้ การติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และลักษณะการใช้ความรู้สำหรับบัณฑิตที่ไม่ได้ทำงานขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง นอกจากสถานภาพการทำงานที่ได้กล่าวแล้ว ยังได้ศึกษาถึงลักษณะการได้งานและระยะเวลาที่ใช้ในการหางานครั้งแรกด้วย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 940 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างมีระบบโดยแบ่งชั้นตามสัดส่วนจากบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2517 ถึง 2520 ซึ่งมีบัณฑิตทั้งสิ้น 2,033 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและส่งให้กลุ่มตัวอย่างตอบ ซึ่งได้ข้อมูลคืนมาทั้งสิ้น 579 ชุด คิดเป็นร้อยละ 61.60 จากข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงร้อยละจำแนกตามสถานภาพการทำงานทีละลักษณะและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพการทำงานของบัณฑิตที่ไม่ได้ทำงานขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง กับลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวด้วยสถิติไคสแควร์ ถ้าพบว่ามีนัยสำคัญก็จะหาค่าสัมประสิทธิ์การณ์จรต่อไป ได้ข้อค้นพบดังนี้ กลุ่มตัวอย่างบัณฑิตทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำงานขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง และกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ครู อาจารย์ ทำงาน ในกรุงเทพมหานคร โดยทำงานในสถาบันการศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา งานที่ทำเกี่ยวกับการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะงานสอนหนังสือ ส่วนใหญ่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว มักไม่ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ในเรื่องรายได้นั้นบัณฑิตที่ทำงานขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 4,000 ถึง 4,999 บาท ส่วนบัณฑิตที่ไม่ได้ทำงานขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 2,000 ถึง 2,999 บาท มากที่สุด บัณฑิตทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาเป็นส่วนประกอบในการปฏิบัติงาน และสำหรับบัณฑิตที่ไม่ได้ทำงานขณะศึกษาในมหาวิยาลัยรามคำแหง เกือบทั้งหมดนั้น ได้งานที่ไม่ต่ำกว่าระดับความรู้ขั้นปริญญาตรี และใช้เวลาในการหางานไม่เกิน 3 เดือน เป็นส่วนมาก นอกจากนี้ ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างบัณฑิตที่ไม่ได้ทำงานขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ยังพบว่า ลักษณะต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) ดังนี้ 1. เพศ มีความสัมพันธ์กับรายได้ 2. คะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อสำเร็จการศึกษา มีความสัมพันธ์กับลักษณะการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และลักษณะการใช้ความรู้ 3. ปริญญาสาขาวิชาที่จบ มีความสัมพันธ์กับอาชีพ หน่วยงาน ลักษณะงานภูมิภาคที่ปฏิบัติงาน และลักษณะการใช้ความรู้
Other Abstract: The purposes of this research were : (1) to study the working status of the Faculty of Education graduates from Ramkhamhaeng University by dividing them into two groups, those who worked while studying in Ramkhamhaeng University and those who did not (2) to study the relationships between the working status and (a) the sex, (b) the grade point average and (c) the type of bachelor degree of the latter group. In addition to the working status of the students who did not work while studying in Ramkhamhaeng University the research also covered the kind of jobs they could get and the amount of time they spent finding their first jobs. In fact the working status here referred to occupation, geographical region, type of agency and work, income, further educational study and the extent of actual application of their degree-related knowledge. The sample, consisting of 940 graduates, was first stratified selected and then systematically selected from 2,033 graduates in the 1974-1977 academic years. 579 returned the questionnaire which the author had constructed. The author analyzed the questionnaire data be percentage Chi-square statistic and Contingency coefficient. Major findings were as follows : - Most of the work the sample in both groups were involved in was related to education. Most of them were teaching in schools situated in Bangkok Metropolis and did not make full use of their degree-related knowledge in their work. As far as further educational study was concerned, few of them had the chance to further their study at a higher level. The average income per head of the sample who worked while studying in Ramkhamhaeng University was around 4,000-4,999 baht per month, while that of the others was about 2,000-2,999 baht per month. Almost all of the sample who did not work while studying in Ramkhamhaeng University could get kinds of jobs which required not less than a bachelor degree. Moreover, it took them not more than three months to find these jobs. As far the second group it was found that (1) sex was significantly related to income at P < .05, (2) grade point average was significantly related to the follow-up of academic advancement and the application of the degree-related knowledge at P < .05 and (3)the relationship between the type of bachelor degree and occupation, type of agency and work, and also the geographical region was significant at P < .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27383
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwimol_An_front.pdf599.97 kBAdobe PDFView/Open
Suwimol_An_ch1.pdf522.75 kBAdobe PDFView/Open
Suwimol_An_ch2.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Suwimol_An_ch3.pdf377.72 kBAdobe PDFView/Open
Suwimol_An_ch4.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Suwimol_An_ch5.pdf929.79 kBAdobe PDFView/Open
Suwimol_An_back.pdf854.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.