Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27386
Title: สภาพและปัญหาการเรียนการสอนวิชาอาชีพ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
Other Titles: Situation and problems of teaching-learning vocational subjects of the lower secondary school curriculum B.E. 2521 in Chachoengsao, Chon Buri and Rayong provinces
Authors: สุวิทย์ ซื่อตรง
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนวิชาอาชีพ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง 2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนวิชาอาชีพ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 399 คน และครูผู้สอนวิชาอาชีพ จำนวน 171 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จากประชากรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) และแบบสังเกต จากแบบสอบถามที่ส่งไปจำนวน 570 ฉบับ ได้รับคืนมา 503 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 88.25 สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) สรุปผลการวิจัย ความคิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียน เกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนวิชาอาชีพ ด้านต่างๆ นั้น ผลปรากฏว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เกี่ยวกับด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการแนะแนว และด้านสถานที่ที่ใช้สอนและฝึกงาน ส่วนด้านการวัดผลและการประเมินผลไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียนเกี่ยวกับความเหมาะสมและการปฏิบัติของกิจกรรมในแต่ละด้านแล้ว ปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของครูสอนและนักเรียนอยู่ในระดับมากในด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการวัดและการประเมินผล ส่วนด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการแนะแนวและด้านสถานที่ที่ใช้สอนและฝึกงาน ปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียนเกี่ยวกับความเหมาะสมและการปฏิบัติของกิจกรรมอยู่ในระดับน้อยทั้งสามด้าน ความคิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียนเกี่ยวกับสภาพปัญหาการเรียนการสอนวิชาอาชีพ ด้านต่าง ๆ นั้น ผลปรากฏว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนของครูผู้สอนและนักเรียนแล้ว ปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นทั้งของครูผู้สอนและนักเรียนอยู่ในระดับน้อย เกี่ยวกับปัญหาด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการวัดผลและการประเมินผล ส่วนด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการแนะแนวค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก ส่วนค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับน้อยทั้ง 2 ด้าน สำหรับด้านสถานที่ที่สอนและฝึกงาน ปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นทั้งของครูผู้สอนและนักเรียนอยู่ในระดับมาก
Other Abstract: Purposes of the study : 1. To study the teaching-learning situation occurred in the vocational subjects of the Lower Secondary School Curriculum B.E. 2521 in Chachoengsao, Chon Buri and Rayong Provinces. 2. To study the teaching-learning problems occurred in the vocational subjects of the Lower Secondary school Curriculum B.E. 2521 in Chachoengsao, Chon Buri and Rayong Provinces. Research Procedures: Sample of the study composes of 399 lower secondary school students and 171 vocational subjects teachers which were selected by stratified Random sampling technique from the population in Chachorngsao, chon Buri and Rayong. The research instruments used were questionnaires which were constructed in the forms of check list and rating scale, and an observation sheet. Of the total 570 questionnaires sent out, 503 copies or 88.25 percent were completed and returned. The statistics used in this study included percentage, mean, standard deviation, and t-test. The Research Findings: Opinions of teachers and students concerning teaching-learning situation in vocational subjects showed a significant difference at the .05 level concerning activity performance in curriculum, teaching-learning activities, teaching-learning media, guidance, and teaching space and workshop, while opinions concerning activity performance in measurement and evaluation were not significant difference. However, opinions of both teachers and students were at the high level concerning activity performance in the areas of curriculum, teaching-learning activities, and measurement and evaluation. Their opinions concerning activity performance in teaching-learning media, guidance, and teaching space and workshop at the low level. Opinions of teachers and students concerning teaching-learning problems in vocational subjects showed a significant difference at the .05 level in all aspects. However, the opinions of both teachers and students revealed at the low level in the problem areas of curriculum, teaching-learning activities, and measurement and evaluation. Teachers’ opinions concerning the problem areas of teaching-learning media, and guidance were at the low levels. Their opinions were at the high level concerning the problem area of teaching space and workshop.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27386
ISBN: 9745633488
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwit_Su_front.pdf532.27 kBAdobe PDFView/Open
Suwit_Su_ch1.pdf584.15 kBAdobe PDFView/Open
Suwit_Su_ch2.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_Su_ch3.pdf394.08 kBAdobe PDFView/Open
Suwit_Su_ch4.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_Su_ch5.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Suwit_Su_back.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.