Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27409
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ระหว่างการทำแบบฝึกหัด และการทดสอบย่อยหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง
Other Titles: A comparison of mathematics learning achievement between learning by exercises and quizes of mathayom suksa two stuents
Authors: สุวรรดี นิมมานพิสุทธิ์
Advisors: พร้อมพรรณ อุดมสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียน และความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง ในวิชาคณิตสาสตร์ เรื่อง “ปริมาตรและพื้นที่ผิว” ระหว่างการทำแบบฝึกหัดและการทดสอบย่อย ผู้วิจัยได้ทดลองสอนนักเรียนจำนวน 66 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มกลุ่มละ 33 คนโดยเมื่อเรียนจบแต่ละคาบ ให้นักเรียนกลุ่มทดลองที่ 1 ทำแบบฝึกหัดที่มีการตรวจเพื่อแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง และกลุ่มทดลองที่ 2 ทำแบบทดสอบย่อยสำหรับคาบนั้นๆที่มีการเฉลยและอภิปรายผลด้วยทุกครั้งใช้เวลาทดลองสอนกลุ่มละ 10 คาบๆ ละ 50 นาที โดยวิธีสอนแบบปกติทั้ง 2 กลุ่ม เมื่อเรียนจบบทเรียนทั้งหมดแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่มีค่าความเที่ยงของแบบสอบเท่ากับ 0.87 แล้วนำคะแนนผลสัมฤทธิ์ของทั้ง 2 กลุ่ม มาทดสอบภาวะแห่งความแปรปรวนโดยใช้ F-test เมื่อได้ผลไม่แตกต่างกันจึงทดสอบความแตกต่างของมัชฌิมเลขคณิตของทั้ง 2 กลุ่มโดยใช้ t-test หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ จึงทดสอบความคงทนในการจำของกลุ่มทดลองทั้งสองโดยใช้ข้อสอบชุดเดิม แล้วนำผลมาวิเคราะห์เช่นเดียวกัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองเรื่อง “ปริมาตรและพื้นที่ผิว” โดยการทำแบบฝึกหัดและการทดสอบย่อยหลังเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05
Other Abstract: The purposes of this research were to compare mathematics learning achievement and the retention of subject matter of mathayom suksa two students on “Volume and Surface” between doing exercises and quizzes. Sixty six students were divided into two experimental groups. Each group consisted of thirty three students. At the end of each period, the first experimental group was assigned to do exercises and the second experimental group was assigned to do quizzes. The total time spent in teaching was ten periods, fifty minutes each. After accomplishing the entire lesson, the students had an achievement test which the reliability was 0.87. Then the scores of both groups were analyzed by using F-test for testing the equality of variances and t-test for testing the differences of two means. Two weeks later the students had the same test again to determine the retention of the subject matter. Then the scores of both groups were analzed by using the same way. The result of this research concluded that the mathematics learning achievement and the retention of the subject matter of mathayom suksa two students on “Volume and Surface” by doing exercise and quizzes were statistically non-significant differences at the level of 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27409
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwandee_Ni_front.pdf423.94 kBAdobe PDFView/Open
Suwandee_Ni_ch1.pdf559.55 kBAdobe PDFView/Open
Suwandee_Ni_ch2.pdf882.98 kBAdobe PDFView/Open
Suwandee_Ni_ch3.pdf361.88 kBAdobe PDFView/Open
Suwandee_Ni_ch4.pdf322.13 kBAdobe PDFView/Open
Suwandee_Ni_ch5.pdf380.11 kBAdobe PDFView/Open
Suwandee_Ni_back.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.