Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27437
Title: | ความสามารถและลีลาการเขียนรูปเรขาคณิตของเด็กปฐมวัย |
Other Titles: | Abilities and strokes in drawing geometric shapes of pre-school children |
Authors: | สุวรรณี รัตนมาลัย |
Advisors: | วรรณี ศิริโชติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความมุ่งหมายของการวิจัยนี้ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนรูปเรขาคณิตและวิธีการเขียนรูปเรขาคณิตของเด็กปฐมวัย โดยการเปรียบเทียบเพศและถิ่นที่อยู่ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นเด็กเล็กสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 93 คนเด็กชาย 41 คนและเด็กหญิง 52 คนอายุ 5 – 6 ปี ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบ 3 ชุดและแบบสังเกต 1 ชุด ได้แก่ แบบทดสอบการเลือกรูปเหมือน แบบทดสอบการเขียนรูปเรขาคณิตโดยอิสระ แบบทดสอบการเลือกรูปเรขาคณิตที่นำไปประกอบเป็นรูปภาพ และแบบสังเกตลีลาการเขียนรูปเรขาคณิต ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นด้วยตนเองและได้ผ่านการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คนการทดสอบเป็นรายบุคคล โดยให้กากบาทในแบบทดสอบการเลือกรูปเหมือนและให้เขียนรูปเรขาคณิตจำนวน 8 รูป ได้แก่ รูปสามเหลี่ยมในแนวนอน รูปสามเหลี่ยมในแนวตั้ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวนอน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้ง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปวงกลม รูปวงรีในแนวนอนและรูปวงรีในแนวตั้ง โดยจะเลือกเขียนรูปใดก่อนก็ได้ ขณะที่เขียนรูปเรขาคณิตผู้วิจัยบันทึกในแบบสังเกตลีลาการเขียนรูปเรขาคณิตเมื่อเขียนรูปเราขาคณิตนั้นเสร็จ ผู้วิจัยนำแบบทดสอบการเลือกรูปเรขาคณิตที่นำไปประกอบเป็นรูปภาพที่มีเครื่องหมายที่มุมบนด้านซ้ายเหมือนกับแบบทดสอบการเขียนรูปเรขาคณิตโดยอิสระ โดยการระบายสีเฉพาะรูปที่เหมือนกับรูปเรขาคณิตที่เขียนไปแล้วรูปเรขาคณิตรูปอื่นๆ ก็ดำเนินด้วยวิธีเดียวกันจนครบทุกรูป แบบทดสอบทั้งสามชุดวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าทีและหาค่าร้อยละในแบบสังเกต ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ความสามารถในการเลือกรูปเหมือนของเด็กชายและเด็กหญิงที่เรียนโรงเรียนเขตในเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ความสามารถในการเลือกรูปเหมือนของเด็กชายและเด็กหญิงที่เรียนโรงเรียนในเขตชนบทไม่แตกต่างกัน ความสามารถในการเลือกรูปเหมือนของเด็กปฐมวัย ที่เรียนโรงเรียนเขตในเมืองและเด็กปฐมวัย ที่เรียนโรงเรียนในเขตชนบทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการเลือกรูปเรขาคณิตที่นำไปประกอบเป็นรูปภาพของเด็กชายและเด็กหญิงที่เรียนโรงเรียนเขตในเมืองไม่แตกต่างกัน แต่ความสามารถในการเลือกรูปเรขาคณิตที่นำไปประกอบเป็นรูปภาพของเด็กชายและเด็กหญิงที่เรียนในเขตชนบทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการเลือกรูปเรขาคณิตที่นำไปประกอบเป็นรูปภาพของเด็กปฐมวัยที่เรียนโรงเรียนเขตในเมืองและเด็กปฐมวัยที่เรียนโรงเรียนในเขตชนบทไม่แตกต่างกัน 3.ความสามารถในการเขียนรูปเรขาคณิตของเด็กชายและเด็กหญิงที่เรียนโรงเรียนเขตในเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวนอน สำหรับรูปเรขาคณิตรูปอื่นๆไม่แตกต่างกัน ความสามารถในการเขียนรูปเรขาคณิตของเด็กชายและเด็กหญิงที่เรียนโรงเรียนในเขตชนบทไม่แตกต่างกัน ความสามารถในการเขียนรูปเรขาคณิตของเด็กปฐมวัยที่เรียนโรงเรียนเขตในเมืองและเด็กปฐมวัยที่เรียนโรงเรียนในเขตชนบทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในการเขียนรูปสามเหลี่ยมในแนวตั้งและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวนอน และแตกต่างกันที่ระดับ .05 ในการเขียนรูปสามเหลี่ยมในแนวนอน ส่วนรูปอื่นๆไม่พบความแตกต่าง 4. ลักษณะที่เขียนมากที่สุดของเด็กปฐมวัยที่เรียนโรงเรียนเขตในเมืองและโรงเรียนในเขตชนบท เขียนรูปสามเหลี่ยมในแนวนอน ( )โดยเขียนจากมุมที่ฐานด้านซ้ายในทิศทางตามเข็มนาฬิกา เด็กปฐมวัยที่เรียนโรงเรียนเขตในเมืองเขียนรูปสามเหลี่ยมในแนวตั้ง ( ) โดยเริ่มจากมุมที่ฐานด้านขวาในทิศทางตามเข็มนาฬิกา เด็กปฐมวัยที่เรียนโรงเรียนในเขตชนบท เขียนรูปสามเหลี่ยนในแนวตั้ง ( ) โดยเริ่มจากมุมที่ฐานด้านซ้าย เขียนด้านหนึ่งขึ้นอีกด้านหนึ่งลงเช่นเดียวกับฐาน เด็กทั้งสองเขตเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวนอน ( ) โดยเริ่มจากมุมด้านซ้ายในทิศทางตามเข็มนาฬิกา เด็กทั้งสองเขตเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้ง ( ) และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ( ) โดยเริ่มจากมุมบนด้านซ้าย ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เด็กทั้งสองเขต เขียนรูปวงกลม ( ) โดยเริ่มจากส่วนโค้งด้านล่าง ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา เด็กทั้งสองเขต เขียนรูปวงรีในแนวนอน ( ) โดยเริ่มจากส่วนโค้งด้านซ้าย ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา เด็กทั้งสองเขต เขียนรูปวงรีในแนวตั้ง ( ) โดยเริ่มจากส่วนโค้งด้านล่างในทิศทางตามเข็มนาฬิกา |
Other Abstract: | The purpose of this study was to compare the abilities in drawing and methods in drawing Geometric Shapes of Pre-school children according to sex and places of residency. The subjects of the study were 93 Pre-school children, 41 boys and 52 girls ages from 5 to 6 years, from Ampur Muang Nakornrajasima office of the Provincial Primary Education, selected by using simple random sampling technique. The instruments used in this study were (1) the Test for Selecting Similar Geometric Shapes; (2) the Free Drawing Geometric Shapes Test ; (3) the Stroke Observation Test. The Test for selecting the Similar Geometric Shapes was draw in pictures. The Tests were constructed by researcher and had already been considered by 6 experts. The Tests had to be administered to the subjects individually. Each child had to select the similar Geometric Shapes and had to draw the following 8 Geometric shapes: The horizontal triangle, the vertical triangle, the horizontal rectangle, the vertical rectangle, the square, the circle, the horizontal oval and the vertical oval. The child could begin drawing any Geometric Shapes first. The researcher recorded in the Observational Test while the child was drawing the Geometric Shapes. After finishing drawing, the researcher gave each child a piece of paper, contained three picture which had the same mark on the upper left corner of the Free Drawing Geometric Shapes Test in order to find out that Geometric Shape. The other Geometric Shapes were done in the same way. The three Tests were analyzed by t-test and the Observational Test was analyzed in percentage. The findings indicated that : 1. The ability in selecting similar pictures of Pre-school boys and girls in urban school was significantly different at the .01 level, but in rural schools was not different. The ability in selecting similar pictures of Pre-school children in urban and rural schools was significantly different at the .05 level. 2. The ability in selecting Geometric Shapes for composing into pictures of Pre-school boys and girls in urban school was not different, but in rural schools was significantly different at the .05 level. The ability in selecting Geometric Shapes for composing into pictures of Pre-school children in urban and rural schools was not different. 3. The ability in drawing Geometric Shapes of boys and girls in urban schools was significantly different at the .01 level drawing the horizontal rectangle, but for another Geometric Shapes was not different. The ability in drawing Geometric Shapes of boys and girls in rural schools was not significantly different, The ability in drawing Geometric Shapes of Pre-school children in urban and rural schools was significantly different at the .01 level in drawing vertical triangles and horizontal rectangles and was significantly different at the .05 level in drawing horizontal triangles. There was no difference in other shapes. 4. The characteristics which draw most by Pre-school children in urban and rural schools were the characteristics in drawing horizontal triangle ( ) by beginning with the left corner of the figure base and proceeded in a clockwise direction. The Pre-school children in urban schools drew the vertical triangle ( ) by beginning with the right corner of the figure and proceeded in a clockwise direction. The Pre-school children in rural schools drew the vertical triangle ( ) by beginning with the left corner of the figure with one side up, the other side down. The Pre-school children drew the horizontal rectangle ( ) by beginning with the upper left corner of the figure and proceeded in a clockwise direction. The Pre-school children drew the vertical rectangle ( ) and the square ( ) by beginning with the upper left corner of the figures and proceeded in a counter – clockwise direction. The Pre-school children drew the horizontal oval ( ) which began with the left curve of the figure and proceeded in a clockwise direction. The pre-school children drew the vertical oval ( ) which began with the lower curve of the figure and proceeded in a clockwise direction. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27437 |
ISBN: | 9745635138 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwannee_Ra_front.pdf | 661.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwannee_Ra_ch1.pdf | 567.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwannee_Ra_ch2.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwannee_Ra_ch3.pdf | 501.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwannee_Ra_ch4.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwannee_Ra_ch5.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwannee_Ra_back.pdf | 683.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.