Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27468
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างหัวคะแนนกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบการเลือกตั้งของไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: The relationship between vote canvassers and candidates for the house of representative in Thai electoral system : case study of the first district, Surat Thani Province
Authors: สุริยัณห์ จิรสัตย์สุนทร
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: หัวคะแนน--ไทย
การเลือกตั้ง--ไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร--ไทย
Canvasser--Thailand
Legislators--Thailand
Elections--Thailand
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้ต้องการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างหัวคะแนนกับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบการเลือกตั้งของไทย ซึ่งได้ศึกษาถึงที่มาของหัวคะแนน ลักษณะความสัมพันธ์ของหัวคะแนนกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง และวิธีการที่หัวคะแนนใช้ในการหาเสียง ผลการศึกษาวิจัยถึงที่มาของหัวคะแนนพบว่า การที่ผู้สมัครไม่สามารถส่งข่าวสารของตนไปสู่ประชาชนได้โดยตรงอย่างทั่วถึง อันเนื่องมาจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ 1. ระยะเวลาหาเสียงมีน้อย 2. เสียค่าใช้จ่ายสูง 3. เขตเลือกตั้งกว้างใหญ่มีจำนวนประชากรมาก จึงต้องใช้ผู้นำชุมชนเป็นตัวแทนในการส่งข่าวสาร การใช้ตัวแทนจึงเป็นที่มาของหัวคะแนน และส่วนใหญ่แล้วหัวคะแนนมีอาชีพเป็นกำนั้นและผู้ใหญ่บ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างหัวคะแนนกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง พบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นไปในลักษณะการช่วยเหลือเกื้อกูลแบบผู้อุปถัมภ์ - ผู้ได้อุปถัมภ์ต่อกัน ทั้งก่อนและภายหลังการเลือกตั้ง สำหรับความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์ - ผู้ได้อุปถัมภ์ของหัวคะแนนกับผู้สมัคร เป็นไปในลักษณะของ “ปิยวาจา” “อัตถจริยา” และ “สมานัตตา” ผสมผสานกันอยู่ ส่วนลักษณะ “ทาน” ส่วนใหญ่แล้วไม่เป็นแต่อย่างใด วิธีการหาเสียงของหัวคะแนนที่ใช้แบ่งได้ 2 วิธี ที่สำคัญคือ 1. ใช้ความเป็นผู้นำทางความคิดเห็นของตน 2. การให้ผลประโยชน์ตอบแทน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วได้แก่ การสร้างสาธารณประโยชน์แก่ชุมชนและการเลี้ยงอาหาร สำหรับการซื้อเสียงหรือการแจกเงินโดยตรง พบว่าปรากฏน้อยมาก
Other Abstract: This study attempted to investigate the relationship between vote canvassers and candidates for the House of Representatives in Thai electoral system. Special attention was given to origin of vote canvassers, the relationship between vote canvassers and the candidates and how the vote canvassers are used in the election campaign. The study found that the candidates cannot send their campaign message to the constituents adequately due to 3 major factors, namely : 1. limited time of election campaigns. 2. high cost of election campaigns. 3. large size of electoral district and large number of constituents. Thus the candidate have to used community leaders as their campaign agents who are mostly Kamnun and Pooyaiban. The relationship between vote canvassers and the candidates holds a patron-client characteristic before and after the election. The vote canvassers use 2 methods in gaining votes, that is , their positions as opinion leaders, and offering rewards such as public utilities. However, a vote buying ids rarely found.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27468
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1988.100
ISBN: 9745696129
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1988.100
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suriyan_Ji_front.pdf430.48 kBAdobe PDFView/Open
Suriyan_Ji_ch1.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Suriyan_Ji_ch2.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Suriyan_Ji_ch3.pdf733.6 kBAdobe PDFView/Open
Suriyan_Ji_ch4.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Suriyan_Ji_ch5.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Suriyan_Ji_ch6.pdf790.87 kBAdobe PDFView/Open
Suriyan_Ji_back.pdf708.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.