Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27480
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นคร จันทศร | |
dc.contributor.author | อุมาพร มาระวิชัย | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-11T04:14:45Z | |
dc.date.available | 2012-12-11T04:14:45Z | |
dc.date.issued | 2522 | |
dc.identifier.isbn | 9745606766 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27480 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีใหญ่ที่สุด ซึ่งมีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน สถานีนี้จัดไว้เพื่อบริการผู้โดยสารโดยเฉพาะ และมีการจัดเสนอบริการผู้โดยสารเดินทางระยะไกลไปในเส้นทางใต้, เหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งการเดินทางระหว่างกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากบริการด้านการโดยสารแล้ว สถานีกรุงเทพยังมีบริการรับส่งสินค้าหีบห่อซึ่งจะส่งไปกับขบวนรถโดยสารอีกด้วย ภายในสถานีจะมีเป็นที่ตั้งของหน่วยให้บริการสำรองที่จองตั๋วและจองตั๋วล่วงหน้า รวมทั้งบริการด้านโดยสารอื่นๆ อีกด้วย เนื่องจากความต้องการใช้บริการจองตั๋วล่วงหน้าผันแปรไปตามเวลาต่างๆ ทั้งรายชั่วโมงของแต่ละวันและรายเดือนในแต่ละรอบปี จึงเป็นการยากที่จะจัดระบบให้บริการให้เหมาะสมได้ และที่ผ่านมาการให้บริการยังมีขีดความสามารถไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้บริการ ผู้มาใช้บริการมักจะกล่าวถึงความไม่สะดวกเมื่อต้องการใช้บริการจองตั๋วล่วงหน้าอยู่เสมอ และมีบางรายที่เปลี่ยนไปใช้การบริการโดยสารแบบอื่นถ้าสามารถทำได้ ในบางครั้งปัญหาเหล่านี้ยังถูกหยิบยกขึ้นวิพากษ์วิจารณ์ในระดับผู้บริหารขั้นสูงของประเทศอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อเร่งรัดให้การรถไฟดำเนินการแก้ไขสิ่งที่มักถูกหยิบยกขึ้นกล่าวถึงในแง่ของผู้โดยสารซึ่งต้องการใช้บริการก็คือ.- ก. ความไม่สะดวกในการจองตั๋วล่วงหน้าเที่ยวกลับ (ทั้งเที่ยวออกจากกรุงเทพฯและเที่ยวกลับเข้ากรุงเทพ) ข. ความไม่สะดวกในการจองตั๋วล่วงหน้าจากสถานีในส่วนภูมิภาค ค. ความล่าช้าและยุ่งยากสับสนของระบบการให้บริการในปัจจุบัน ง. บางครั้งก็เกิดกรณีสำรองที่นั่งซ้ำกัน ซึ่งทำให้ผู้โดยสารไม่พอใจเป็นอันมาก ทางด้านการรถไฟนั้น นอกจากจะตระหนักถึงปัญหาของผู้โดยสารแล้ว ยังมีความรู้สึกว่าการใช้ประโยชน์ที่นั่งบนรถขบวนรถไม่เต็มที่เท่าที่ควร โดยเฉพาะที่นั่งซึ่งได้รับคืนจากตัวแทนจำหน่ายและผู้โดยสารก่อนกำหนดขบวนรถออกเดินทางไม่นานนัก ปัญหานี้ทำให้สูญเสียรายดืที่ควรจะได้รับ นอกจากนั้นยังประสบปัญหาการจัดระบบบริการให้มีขีดความสามารถเหมาะสม สามารถให้บริการโดยผู้โดยสารรอคอยนานพอสมควรในช่วงที่มีผู้ใช้บริการมาก และการใช้ประโยชน์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสูงพอสมควรเมื่อจำนวนผู้ใช้บริการลดน้อยลง เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหา การวิจัยนี้จึงกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นสองประการคือ.- ก. ปูแนวทางเพื่อศึกษาระบบจองตั๋วล่วงหน้าในส่วนที่ยังไม่ครบสมบูรณ์ต่อไป ข. เพื่อหาเกณฑ์การตัดสินใจโดยมีข้อมูลที่สามารถกำหนดข้อดีและข้อเสียเป็นจำนวนแน่ชัด สนับสนุน ซึ่งจะช่วยให้การจัดระบบบริการดีและมีหลักเกณฑ์มากขึ้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในข้อ ก. ได้ทำการศึกษาโดยการสังเกตจากระบบในปัจจุบัน สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของการรถไฟฯ และรวบรวมเอกสารที่พอจะหาได้ วัตถุประสงค์ในข้อนี้นอกจากจะเป็นการสนับสนุนวัตถุประสงค์ในข้อ ข. แล้ว ยังเป็นการกำหนดแนวทางไว้เพื่อการศึกษาต่อไปในอนาคตด้วย ทั้งนี้เพราะการวิจัยนี้เป็นการศึกษาระบบการให้บริการสำรองที่และจำหน่ายตั๋วเป็นครั้งแรกของการรถไฟฯ อย่างไรก็ดีจะไม่ศึกษาลงไปในรายละเอียดของปัญหาทั้งหมด แต่จะกล่าวถึงข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขหรือควรทำการวิจัยต่อไปเท่านั้น อาทิเช่น ปัญหาเกี่ยวกับแผนผนังที่นั่งของขบวนรถและระบบการจำหน่ายตั๋ว ส่วนวัตถุประสงค์ในข้อ ข. นั้น ได้ทำการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคม 2524 ซึ่งเป็นช่วงกลางของฤดูการโดยสารในรอบปี การศึกษาได้ครอบคลุมถึงพฤติกรรมของการเข้ามารับบริการของผู้โดยสาร และการให้บริการของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ข้อมูลที่รวบรวมมาได้จะถูกนำมาทดสอบเพื่อหาการกระจาย และใช้เป็นตัวแทนของความต้องการใช้บริการที่ต้องออกแบบระบบเพื่อตอบสนอง ระบบบริการปัจจุบันซึ่งเป็นแบบผสมระหว่างแบบขนานและหลายขั้นตอน (Multi-channel/Multi-stage) จะถูกวิเคราะห์โดยสร้างเป็นหุ่นจำลองเลียนแบบของจริงและโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จ GPSS/1100 หุ่นจำลองนี้จะถูกนำเข้าคำนวณโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยและบริษัทซัมมิท จำกัด การคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้นในขั้นแรกเป็นการทดสอบความแม่นยำของหุ่นจำลองที่สร้างขึ้นโดยเปรียบเทียบลักษณะของแถวคอยในระบบจริง และในขั้นต่อไปยังได้ทำการคำนวณเพื่อเป็นแนวทางสำหรับระบบบริการในแบบอื่นที่อาจต้องนำมาใช้ในอนาคต ระบบที่เป็นทางเลือกเหล่านี้ได้แก่.- ก. เมื่อเปลี่ยนจำนวนผู้ปฏิบัติงานในช่องให้บริการสำรองที่และจำหน่ายตั๋วต่างไปจากสภาพทำงานปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางที่ผู้บริหารจะได้นำไปเลือกใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ข. ข้อดีและความเป็นไปได้ของการจัดระบบให้บริการแบบขั้นตอนเดียว นั่นคือผู้ใช้บริการสามารถทำการสำรองที่และรับตั๋วโดยสารได้จากเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการเพียงคนเดียว แทนที่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่หลายคนในระบบบริการดังเช่นในปัจจุบัน ค. เพื่อเป็นแนวทางที่จะจัดระบบการให้บริการในอนาคตต่อไป ผลจากการคำนวณ (ในบทที่ 4) ถือได้ว่ามีนัยสำคัญเพียงพอในแง่ของวิธีการศึกษาอย่างไรก็ดี ผลการวิจัยอาจยังขาดความสมจริงสมจังไปบ้างในแง่ของการนำไปประยุกต์ใช้การทั้งนี้เนื่องจากมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระหว่างการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดเลขเริ่มต้นเพื่อผลิตเลขสุ่มซ้ำกัน การเรียกฟังก์ชั่นเพื่อผลิตเลขสุ่มในเส้นทางสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมาใช้ซ้ำกันและที่สำคัญคือ สั่งให้โปรแกรมหยุดทำการคำนวณเมื่อมีผู้โดยสารผ่านเข้ามาในระบบ 500 คน แทนที่จะสั่งให้โปรแกรมหยุดด้วยระยะเวลาในช่วงที่ผู้บริหารควรจะให้ความสนใจ เช่น ระหว่าง 8.30 – 11.30 น. หรือ 11.30 – 14.30 น. เป็นต้น ข้อผิดพลาดเหล่านี้ได้ตรวจพบเมื่อได้ทำการคำนวณทางเลือกต่าง ๆ เสร็จสิ้นทุกโปรแกรมแล้ว ซึ่งในการนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คิดเป็นมูลค่ากว่า 200,000 บาท (ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่มีการชำระเงิน ทั้งนี้เป็นไปตามสัญญาการเช่าเครื่องระหว่างการรถไฟฯ และบริษัทซัมมิท) ผู้ทำการวิจัยได้พิจารณาถึงความเหมาะสมต่างๆ แล้วเห็นว่า เป็นการไม่สะดวกที่จะทำการคำนวณซ้ำ ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ อีกทั้งบริการจากศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยก็ไม่สามารถสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวนี้ได้ (เนื่องจากไม่มีภาษาคอมพิวเตอร์ GPSS ใช้) นอกจากนั้นยัง เห็นว่า ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้เป็นข้อปลีกยอยในอันที่จะทำให้ผลการคำนวณขาดความแม่นยำไปบ้างเท่านั้นซึ่งหากการรถไฟฯจะนำผลการวิจัยไปใช้ไม่ว่ากรณีใด ก็คงจะต้องทำการคำนวณใหม่อยู่แล้ว การวิจัยนี้จึงไม่ได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว เพียงแต่พยายามกล่าวถึงข้อบกพร่องไว้อย่างชัดเจน (ในบทที่ 4 และ 5) และได้พยายามกล่าวถึงวิธีการใช้โปรแกรมไว้โดยละเอียด เพื่อให้การคำนวณซ้ำง่ายขึ้น ข้อบกพร่องจากการวิจัยนี้ได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่การรถไฟฯแล้ว | |
dc.description.abstractalternative | Bangkok Station is the biggest and busiest railway terminus where huge volume of passenger passes through and where inter-city as well as suburban trains depart and terminate. It is basically used for handling passenger, but goods to be carried by brake van car coupled in passenger train also shares facilities here. Advance booking, seat reservation and other services are provided inside this station. Because the demand for the railway management to provide service properly. The lack of ability to provide adequate working facilities in the past makes the situation worsen further. The customers always complain about inconvenience whenever they want to be served. Some of them have turned away to use other modes of transportation if possible and in many occasions, these have been brought up into the debate among high level authorities. Some of the talks on customer side usually reveal : a) the difficulties in obtaining seat on the return trip (to and from Bangkok) ; b) the difficulties in making reservation at stations in local area ; c) the slowness and confusion of service system and ; d) an embarrasing duplicated booking : i.e. one seat is often reserved for more than one passenger. On the railway side, apart from realizing the customer’s problem, it feels that all seats in a train, especially those being made available by agents or passenger cancellation not long before train departure, are not fully utilized. It also faces with the problem to provide service in order that demand will be coped and utilization of its employees is satisfactory. To assist the railway management in tackling these problems, the research has two objectives to meet : a) to set framework for the whole system and b) to provide quantitative information based on the existing working conditions so that decision, substantiated by scientific method, to organize preferable service mechanism can be made. In order to achieve the first objective, the study was carried out by making observation, interviewing the railway officers and collecting information from the documents available. This objective is regarded quite substantial not only to supplement the second objective but, since it is the first research carried out in this part of railway service, it was intended to serve as guideline for further studying and as future improvement of service system. However, this will not be presented in detail here, the research will only touch, identify and give recommendations to some certain key-points, for example, the filing and ticket issuing system. To achieve the second objective, data was collected in March 1981 which is in the middle of seasonal peak. The passenger arrival behavior and the service mechanism behavior were observed and data obtained was tested against standard distribution. This was used as representative of demand to be catered. The problem, the existing multi-channel/multi-stage service system, was then analyzed and formulated in term of simulation model. By adopting computer simulation language GPSS/1100, the model was solved by using data captured as input, The program was run on the UNIVAC machine by the courtesy of State Railway of Thailand and SUMMIT Co.Ltd. The model was initially calibrated against the real situation and the purposed systems were then examined. Without talking into account the possibility to access the existing reservation file, the alternative systems were comprising : i) The various combination of seat reservation and ticket selling channels which by the end will produce the outcome to assist railway management to select the most economical and likely possible system. ii) the advantages of one-shot service (M/M/C) where passenger can get seat and ticket from one server, instead of going through two (three infact) service stations. iii) The guideline for providing service mechanism to cope with the future demand. The results of calculation (in chapter 4) are significant and convincing enough in the view point of methodology to solve the problem. Unfortunately, some underlying mistakes have been incurred during the study. These were comprising :- the repetitive use of seed in random number generation, - incorrectness of using analyst-defined function to generate random number for the North and Northest line, - and, the most important, the termination of each program rune which were denoted by number of passenger (500 passenger) passing through the system, instead of termination by duration of time in the interesting period of daily service. It took some times to realize what went wrong in the analysis ; in this particular case, the mistake of the way the programs terminated was reminded by extraordinary length of queue and this was found out after finishing all the calculations which has already costed more than 200,000 baht on the commercial value (there was no actual payment due to the machine purchasing contract between the railway and the company). Obviously, these mistake, after being seriously considered, will only caused the inaccuracy of result and can be easily corrected afterward. Because, as mentioned earlier, the program has to be run on the UNIVAC machine at SUMMIT Co.Ltd. and since the University Computer Centre is not capable of supporting this research, it seems inconvenience to request for the repetitive running of the program. The railway management is therefore advised to repeat the run as recommended in chapter 4 and 5 before implementing the result. (This has been unofficially informed to the railway). | |
dc.format.extent | 651303 bytes | |
dc.format.extent | 1021188 bytes | |
dc.format.extent | 707598 bytes | |
dc.format.extent | 920522 bytes | |
dc.format.extent | 1172009 bytes | |
dc.format.extent | 517696 bytes | |
dc.format.extent | 833528 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การวิเคราะห์ระบบบริการจองตั๋วโดยสารรถไฟล่วงหน้า ที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ | en |
dc.title.alternative | An analysis of advanced booking and seat reservation system at Bangkok main station | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Umaporn_Ma_front.pdf | 636.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Umaporn_Ma_ch1.pdf | 997.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Umaporn_Ma_ch2.pdf | 691.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Umaporn_Ma_ch3.pdf | 898.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Umaporn_Ma_ch4.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Umaporn_Ma_ch5.pdf | 505.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Umaporn_Ma_back.pdf | 813.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.