Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27482
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมคิด รักษาสัตย์
dc.contributor.advisorดิเรก ศรีสุโข
dc.contributor.authorอุไร เสรีประเสริฐ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-11T04:19:58Z
dc.date.available2012-12-11T04:19:58Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27482
dc.descriptionวิทยานิพนธ์(ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2528en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคหัวใจโคโรนารี กับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโคโรนารีของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง และผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง และเปรียบเทียบภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโคโรนารี ระหว่าง กลุ่ม เพศ และ ช่วงอายุ กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง และผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ 4 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 180 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล และเครื่องมือทางการแพทย์ แบบสัมภาษณ์การปฏิบัติตนมี 4 ด้าน คือ ด้านการตรวจสุขภาพ ด้านความเครียด ด้านการรับประทานอาหาร และด้านการออกกำลังกาย ค่าความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์เท่ากับ 0.803 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าความห่างจากการเป็นโรคหัวใจโคโรนารี ทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบผลคูณเพียร์สัน และทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย 1. การปฏิบัติตนของกลุ่มที่มีความดันโลหิตสูง ในด้านความเครียด ด้านการรับประทานอาหาร และด้านการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโคโรนารี ส่วนในด้านการตรวจสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโคโรนารี 2. การปฏิบัติตนของกลุ่มผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ในด้านการตรวจสุขภาพและด้านความเครียด มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโคโรนารี ส่วนในด้านการรับประมานอาหาร และด้านการออกกำลังกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโคโรนารี 3. การปฏิบัติตนของกลุ่มผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ในด้านการตรวจสุขภาพด้านความเครียด ด้านการรับประทานอาหาร และด้านการออกกำลังกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโคโรนารี 4. การปฏิบัติตนของเพื่อป้องกันโรคหัวใจโคโรนารีของทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าการปฏิบัติตนด้านการรับประทานอาหารอยู่ในระดับดี ด้านการตรวจสุขภาพ และด้านความเครียดอยู่ในระดับค่อนข้างดี ส่วนการปฏิบัติตนด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับไม่ดี การปฏิบัติตนในแต่ละด้านของทั้ง 3 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน 5. ภาวะเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจโคโรนารีระหว่างกลุ่ม และระหว่าง เพศไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มช่วงอายุ 51 – 60 ปี มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโคโรนารีมากกว่ากลุ่มช่วงอายุ 40 – 50 ปี และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the relationships between self-practice for preventing coronary heart disease and the risk of coronary heart disease in groups of high blood pressure, high Blood sugar and hypercholesteromia. The risk of coronary heart disease between sex, groups and age-groups were also compared. The research samples were devided into three individual groups of high blood pressure, high blood sugar and hypercholesterolemia. The samples of 60 of each group were selected by purposive sampling. The research instruments were self-practice interview form, record form and medical instruments the reliability of self- practice interview form was .803. The data were analysed by using various statistical methods : percentage, mean, standard deviation, resemblance score, t-test, one-way analysis of variance and Pearson product moment correlation coefficient methods. The significants was tested at .05 level. The major finding 1. In high blood pressure group : there were negative statistical significant relationship between self-practice in stress, eating, exercise and the risk of coronary heart disease ; and there was no statistical significant relationship between self-practice in health examination and the risk of coronary heart disease. 2. In high blood sugar group : there were negative statistical significant relationship between self-practice in health examination, stress and the risk of coronary heart disease; and there were no statistical significant relationship between the self-practice in eating, exercise and the risk of coronary heart disease. 3. In hypercholesterolemia group : there were no statistical significant relationship between self practice in health examination, stress and exercise and the risk of coronary heart disease. 4. The self-practice of three groups were good in eating, were fair in health examination and stress, and were poor in exercise. There was no statistical significant difference of each area of self-practice among three groups. 5. There were no statistical significant difference of the risk of coronary heart disease among three groups and between sex, but there was statistical significant difference of the risk of coronary heart disease between 40 – 50 years group and 51 – 60 years group.
dc.format.extent518928 bytes
dc.format.extent564455 bytes
dc.format.extent1130172 bytes
dc.format.extent428568 bytes
dc.format.extent563303 bytes
dc.format.extent620469 bytes
dc.format.extent796058 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคหัวใจโคโรนารี กับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโคโรนารี ของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง และผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงen
dc.title.alternativeRelationships between self-practice for preventing coronary heart disease and the risk of coronary heart disease in groups of high blood pressure, high blood sugar, and hypercholesterolemiaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Urai_Se_front.pdf506.77 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Se_ch1.pdf551.23 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Se_ch2.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Urai_Se_ch3.pdf418.52 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Se_ch4.pdf550.1 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Se_ch5.pdf605.93 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Se_back.pdf777.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.