Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27535
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพระนลคำฉันท์
Other Titles: An analytical study of Phra Non Khamchan
Authors: อมรรัตน์ เนตรมุกดา
Advisors: ขลดา เรืองรักษ์ลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะประเมินคุณค่าวรรณคดีเรื่องพระนลคำฉันท์ พระนิพนธ์ของพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ โดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ตอนแรก เป็นการเปรียบเทียบพระนลคำฉันท์ กับ นโลปาขยานม ฉบับภาษาอังกฤษของดีน มิลแมน ในด้านโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ตลอดจนกลวิธีการแต่งทั้งนี้เพื่อประเมินค่า และพิสูจน์ว่าพระนลคำฉันท์ได้ที่มาจากนโลปาขยานม ฉบับของดีน มิลแมน ตอนที่สอง ศึกษาลักษณะเด่นในด้านการใช้คำ อักขรวิธี รวมทั้งด้านวรรณศิลป์ในพระนลคำฉันท์ เพื่อประเมินคุณค่าวรรณคดีเรื่องพระนลคำฉันท์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า พระนลคำฉันท์ได้ที่มาจากนโลปาขยานม ฉบับภาษาอังกฤษของดีน มิลแมน แต่เวลาถ่ายทอดเป็นภาษาไทย น.ม.ส. ใช้วิธีอ่านจับใจความ แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ โดยได้คงเนื้อหาในส่วนที่ดีอยู่แล้วไว้ดังเดิม เป็นต้นว่าโครงเรื่องซึ่งมีเอกภาพดีอยู่แล้ว นอกจากนี้ น.ม.ส. ยังได้คงแก่นเรื่องซึ่งมีลักษณะนิสัยของพระนล เป็นแกนกลางในการดำเนินเรื่องไว้ ในส่วนที่เป็นตัวละคร ได้เพิ่มการบรรยายกริยาอาการ ตลอดจนความรู้ศึกของตัวละครให้เห็นชัดขึ้น เพื่อให้ตัวละครดูสมจริงมากยิ่งขึ้น ส่วนด้านกลวิธีการแต่งนั้นก็คล้ายคลึงกัน ต่างกันเฉพาะในด้านผู้เล่าเรื่อง ซึ่งในนโลปาขยานม กำหนดให้ฤษีพฤหทัศวะเป็นผู้เล่า แต่ในพระนลคำฉันท์ น.ม.ส. เป็นผู้เล่าเอง นับได้ว่าความสำเร็จส่วนหนึ่งของพระนลคำฉันท์มาจากนโลปาขยานมฉบันของ ดีน มิลแมน. ในเรื่องเกี่ยวกับการใช้คำ น.ม.ส. แสดงเอกลักษณ์ออกมาให้เห็นชัดในเรื่องการใช้รูปคำแปลกใหม่ ซึ่งบางครั้งให้ความหมายที่แปลกแตกต่างไปจากที่คนทั่วไปคุ้นเคยความหมายต่าง ๆ เหล่านี้ น.ม.ส. มิได้คิดขึ้นเอง แต่เป็นความหมายหนึ่งในบรรดาความหมายหลายๆ อย่างของคำๆ นั้นในภาษาเดิม นอกจากนี้ น.ม.ส. ยังสามารถเลือกสรรค่ามาใช้ได้ดีตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการ คำเหล่านี้มีทั้งที่เป็นคำยากและคำง่ายปะปนกันไป เป็นคำที่ให้เสียงคำตรงตามอารมณ์ และมีเสียงคำสอดคล้องกับความหมายประจำคำของคำๆ นั้นด้วย น.ม.ส. สามารถพลิกแพลงคำมาใช้ได้หลายรูปแบบ ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มความงาม ความไพเราะในด้านวรรณศิลป์ให้แก่พระนลคำฉันท์ ทำให้วรรณคดีเรื่องนี้มีความไพเราะไม่แพ้วรรณคดีคำฉันท์ที่มีชื่อเสียงเรื่องอื่น ๆ
Other Abstract: The purpose of this thesis is to evaluate the literary work Phra Non Khamchan by Prince Bidyalankarana. The study is devided into 2 sections. The first one is the comparative study of Phra Non Khamchan with the English version of Naopakhyanam by Dean Milaman in the aspects of plot, theme, characters and techniques of writing in order to evaluate and prove that Phra Non Khamchan has its origin from Nalopakhyanam by Dean Milman. The second one is the study of the poet’s use of figurative language. Phra Non Khamchan was derived from the English version of Nalopakhyanam by Dean Milman, in which the Prince cut and added something that considered propriated to the story’s artistic unity. He still kept the characteristic of Phra Non as the theme of the story. He could create all characters more realistic. The style of writing the story and the steps of creating characters were the same but the one who told the story was different. Vrihadasva was the story teller in Nalopakhyanam, but in Phra Non Khamchan the Prince told the story by himself. So it can be said that one part of his success came from the original work of Dean Milman. Concerning about his writing the Prince showed his unique in choosing new meaning of words which are infamiliar to the readers, but those meaning of words came from their origin. He could choose the words exactly to his purpose. These words are both simple and difficult. The Prince could use all devices of language in his book very beautifully so that it can be compared with other kinds of literary works in the same genre.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27535
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat_Ne_front.pdf464.34 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ne_ch1.pdf303.85 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ne_ch2.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ne_ch3.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ne_ch4.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ne_ch5.pdf268.43 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Ne_back.pdf348.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.