Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27554
Title: | การนัดหยุดงานกับกฎหมาย |
Other Titles: | Strike and the law |
Authors: | วินิตย์ ศรีภิญโญ |
Advisors: | ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล สุดาศิริ เฮงพูลธนา |
Subjects: | การนัดหยุดงาน -- ไทย การนัดหยุดงาน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ กฎหมายแรงงาน ข้อพิพาทแรงงาน Strikes and lockouts -- Thailand Strikes and lockouts -- Law and legislation Labor laws and legislation Labor disputes |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ก่อนที่จะมีกฎหมายรับรองสิทธิในการนัดหยุดงานนั้นถือว่า การนัดหยุดงานเป็นการ กระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานและยังเป็นความผิดทางอาญาอีกด้วย หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ได้เกิดความคิดว่าบทบัญญัติเรื่องสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ได้ให้ความคุ้มครองลูกจ้างอย่างเพียงพอ เพราะแม้ลูกจ้างจะมีเสรีภาพที่จะตกลงเกี่ยวกับข้อความในสัญญาจ้างแรงงาน แต่ความตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นความตกลงของบุคคลที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่เสมอภาคกัน ลูกจ้างจึงตกเป็นฝ่าย เสีย เปรียบ กฎหมายของประเทศต่าง ๆ จึงยอมรับสิทธินัดหยุดงานของลูกจ้าง ทำให้อำนาจต่อรองของลูกจ้างทัดเทียมกับนายจ้าง ถึงแม้ว่ากฎหมายจะยอมรับสิทธินัดหยุดงานของลูกจ้างก็ตาม แต่การใช้สิทธินัดหยุดงาน ก็มีข้อจำกัดและหลักเกณฑ์หลายประการที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติตาม การนัดหยุดงานที่ฝ่าฝืนข้อจำกัด และหลักเกณฑ์ที่ยอมรับกันถือว่าเป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การนัดหยุดงานมิใช่เป็นภารเลิกสัญญาจ้างแรงงาน แต่การนัดหยุดงานเป็นเพียงวิธีการที่ลูกจ้างใช้เป็นการชั่วคราว เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของตน โดยมีเจตนาว่า เมื่อได้มีการตกลงกันแล้วก็จะกลับเข้าทำงานร่วมกับนายจ้างต่อไป ดังนั้นในระหว่างการนัดหยุดงาน ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจึงยังมิได้สิ้นสุดลง นายจ้างกับลูกจ้างยังมีสิทธิและหน้าที่บางประการที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามกฎหมายอยู่ การมุ่งทำลายอีกฝ่ายหนึ่งหรือการก่อให้ เกิดความเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งอย่างร้ายแรงนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีกฎหมายห้ามลูกจ้างนัดหยุดงาน แต่เมื่อลูกจ้างถูกบีบคั้นจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และไม่ไค้รับการเยียวยาแก้ไข ลูกจ้างก็ยอมละเมิดกฎหมายโดยร่วมกันนัดหยุดงาน ดังนั้นจะห้ามการนัดหยุดงานโดยกฎหมายมิไค้ และแม้จะลงโทษผู้นัดหยุดงานไปแล้วก็มิใช่ว่าจะป้องกันการนัดหยุดงานได้โดยสิ้นเชิง การที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ยอมรับสิทธินัดหยุดงานของลูกจ้าง เมื่อเกิดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ จึงเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายของนานาอารยประเทศ การนัดหยุดงานมีข้อจำกัดและหลักเกณฑ์หลายประการที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติตาม เพราะการนัดหยุดงานมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดความเสียหาย และเกิดความไม่สงบสุขแก่ประชาชนส่วนรวมด้วย ดังนั้นการนัดหยุดงานที่ชอบด้วยกฎหมายจึงต้องกระทำภายใต้หลักเกณฑ์ต่างๆดังนี้ 1. หลักความมั่นคงปลอดภัยของชาติและความสงบสุขของประชาชน หลักดังกล่าวทำให้มีการออกกฎหมายจำกัดสิทธินัดหยุดงานของลูกจ้างในกิจการต่างๆที่จำเป็นต่อความสงบสุขของประชาชน เช่นการประปา การไฟฟ้า การโทรศัพท์เป็นต้น 2. หลักรักษาหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือหน้าที่รักษาสันติ หลักการดังกล่าวถือว่าระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับใช้อยู่ ลูกจ้างจะนัดหยุดงานไม่ได้ 3. หลักความเป็นธรรมทางสังคม ตามหลักการนี้ลูกจ้างจะนัดหยุดงานได้ต้องเป็นการกระทำเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยต้องกระทำต่อคู่กรณีคือนายจ้างของตน และนายจ้างสามารถตอบสนองข้อเรียกร้องได้ การนัดหยุดงานจะต้องเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะนำมาใช้ โดยต้องปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อน วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของกฎหมายการนัดหยุดงาน, การจำกัดสิทธินัดหยุดงาน, รูปแบบของการนัดหยุดงานทั้งที่ชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย, ขอบเขตของการใช้สิทธินัดหยุดงาน, สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของนายจ้าง ลูกจ้างอันเนื่องมาจากการนัดหยุดงานรวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนัดหยุดงาน เพื่อเป็นแนวทางให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และอาจเป็นแนวทางให้มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายไทยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ปัญหาการนัดหยุดงานจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยนั้น ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือ นายจ้างและลูกจ้าง นายจ้างและลูกจ้างต้องเข้าใจและยอมรับสิทธิของกันและกันด้วยความจริงใจ นอกจากนี้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการระงับข้อพิพาทแรงงาน และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการแรงงานสัมพันธ์ให้แก่นายจ้างและลูกจ้างอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องก็มีส่วนช่วยให้ปัญหาการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายลดน้อยลง |
Other Abstract: | Before the right to strike was legally recognized, strikes were criminal and breach of the labor contract. After the ege of nineteenth century, industrial revolution, people considered the provisions of hire of service did not protect sufficiently employees, although the employee had the unlimited freedom to conclude the aforesaid contract prescribing the rights and the obligations between both parties, the agreement between employer and employee was made on an unequal status. Due to the disadvantage of the employee, there were movement in many countries to write a labor law to guarantee the rights to strike and this right authorized the employee to have a more bargaining position. although the labor law permits the right to strike but it must be done with some limitations on the person who violates the regulation would render to unlawful stopping work. Quitting work is not the measure to terminate the working agreement. The main purpose of quitting work is to force employer to respond to employee's demand upon him. When the dispute is settled, employee can come back to work. During the striking process, the relationship between the employer and employee does not come to an' end, the two parties interact with reciprocity of rights and obligations provided by the law. Any antagonistic behavior is considered unlawful. Even if the law forbids the employee to strike, he may violate the law relating to quit work because of economic problems occuring to him and he can not receive suitable remedy to takle problems. Therefore, one can consider that law can not prohibit the employee to strike. It is the reasonable reality of the Labor Relation Act 1975 to recognize the right to strike, the employee can strike when the dispute arise from the conditions concerning the collective bargaining agreement. Strike is not only render the loss of profit to the employer and the employee but also the infringement of public security so that stopping work must be deal with these regulations : 1.The principle of the security and the welfare of people. It creates the provisions on the limitations upon the right to strike in specific performance, i.e., waterworks, electrical, telephone, etc. 2.The principle of perserving collective bargaining agreement or maintaining peaceful conditions. It holds that the employee could not quit work during collecting bargaining being still in force. 3.The principle of justice in society. According to this principle, the employee can strike in accordance with the modification on the hire of service. The employee must directly enforce this, measure , to their employers and the latter can accede , to their demands. Its application must be the final measure to respond to their requirements and the employee must operate in accordance with purview prescribing by the law. This thesis intends to study the development of law relating to strike, the limitations upon the stopping work, forms of strike, the rights and obligations of both parties, the liability of employer and employee in this sphere and the effect of strikes. In addition, the paper is aimed to find solutions for illegal strikes and purpose some recommendation on lawful strike. Finally, it may be the guideline to revise or amend the provisions concerning quitting work in Thai law. The problem of stopping work may be extend or descend according to the attitude of employer and employee. Both parties must consider and recognize their rights in the cordial way. Morever, the state official must focus on the confrontations between the two parties to settle labor dispute. In order to get rid of unlawful strike, we have to disseminate knowledge of labor relationship law in continuity and efficient method |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27554 |
ISBN: | 9745671088 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Winit_Sr_front.pdf | 722.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Winit_Sr_ch1.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winit_Sr_ch2.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winit_Sr_ch3.pdf | 3.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winit_Sr_ch4.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winit_Sr_ch5.pdf | 887.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Winit_Sr_ch6.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winit_Sr_back.pdf | 343.45 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.