Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27578
Title: ความคิดเห็นของครู และ ผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Opinions of teachers and parents concerning destrable behavior of Bangkok metropolis secondary school students
Authors: อรนันท์ บุญประสิทธิ์
Advisors: พิบูลศรี วาสนสมสิทธิ์
หลุย จำปาเทศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองเกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่นักเรียน สมมติฐาน ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ 5 ประการคือ 1. ความคิดเห็นของครูชายและผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา ไม่แตกต่างกัน 2. ความคิดเห็นของครูหญิงและผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา ไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นของครูชายและครูหญิง เกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา ไม่แตกต่างกัน 4. ความคิดเห็นของผู้ปกครองชายและผู้ปกครองหญิง เกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา ไม่แตกต่างกัน 5. ความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง เกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา ไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ประเภทแรกประกอบด้วยครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย จำนวน 250 คน จากโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร 25 โรง ประกอบด้วย โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนราษฎร์ และโรงเรียนสาธิต ส่วนประเภทหลัง ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนจากโรงเรียนดังกล่าว 250 คน กลุ่มตัวอย่างประชากรได้จากการสุ่มแบบธรรมดา ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่าและแบบคำถามปลายเปิด แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า มัชฌิมเลขคณิต (X̅) มัชฌิมเลขคณิตรวม (X̅t) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวม (St) ทดสอบค่าซี (Z-Test) และหาค่าร้อยละ แล้วนำมาเสนอในรูปตารางและความเรียง สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยปรากฏว่า ความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพอนามัยนั้น การหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดทุกชนิด มีความสำคัญมากที่สุด สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา การมีทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีความสำคัญน้อยที่สุด พฤติกรรมด้านการเรียน การตั้งใจเรียนและทำงานอย่างสม่ำเสมอ มีความสำคัญมากที่สุด การรอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ไม่เฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง มีความสำคัญน้อยที่สุด พฤติกรรมด้านการปฏิบัติตนเพื่อตนเอง การซื่อตรงต่อตนเอง มีความสำคัญมากที่สุด ร่วมและสนับสนุนกิจกรรมทางศิลปะและดนตรี มีความสำคัญน้อยที่สุด พฤติกรรมด้านการปฏิบัติตนต่อผู้อื่น การมีความกตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีพระคุณทั้งหลาย มีความสำคัญมากที่สุด การกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้น มีความสำคัญน้อยที่สุด พฤติกรรมด้านการเมือง การปกครอง ศาสนา ระเบียบประเพณีวัฒนธรรมไทย การตระหนักถึงความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อันเป็นสถาบันที่รวมจิตใจของประชาชน มีความสำคัญมากที่สุด การสามารถเข้าร่วมในการการปฏิบัติศาสนพิธีได้อย่างเหมาะสม มีความสำคัญน้อยที่สุด ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นของ ครูและผู้ปกครองพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนพฤติกรรมด้านการเรียน และพฤติกรรมด้านการเมือง การปกครอง ศาสนา ระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมไทย ครูและผู้ปกครองมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สำหรับพฤติกรรมด้านการปฏิบัติตนเพื่อตนเองและพฤติกรรมด้านการปฏิบัติตนต่อผู้อื่น ครูและผู้ปกครองมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในการแสดงความคิดเห็นและครูผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนที่ครูและผู้ปกครองได้เคยประสบ พบว่า ปัญหาการติดยาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด สาเหตุพฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่ครูและผู้ปกครอง เห็นสอดคล้องกันว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด คือ การขาดความรัก ความอบอุ่นจากบิดามารดา และบิดามารดาหย่าร้างกัน วิธีการที่จะแก้ไขและปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีงานให้แก่เด็กจำเป็นที่ผู้ใหญ่ต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี นอกจากนั้นสถาบันทางสังคมทุกสถาบันควรให้ความร่วมมือในการปรับปรุงพฤติกรรมของเยาวชนอย่างจริงจัง
Other Abstract: Purposes: The purposes of this research were to study and to compare the teachers and parents’ opinions on desirable behavior of secondary school students. Recommendations for the improvement of instructional activities beneficial to the modification of students behavior were also proposed. Hypothesis: 1. There are no significantly different between male teachers’ and male guardians’ opinions concerning desirable behavior of secondary school students. 2. There are no significantly different between female teachers’ and female guardians’ opinions concerning desirable behavior of secondary school students. 3. There are no significantly different between male teachers’ and female teachers’ opinions concerning desirable behavior of secondary school students. 4. There are no significantly different between male guardians’ and female guardians’ opinions concerning desirable behavior of secondary school students. 5. There are no significantly different between teachers’ and parents’ opinions concerning desirable behavior of secondary school students. Procedures : The samples of this study comprised 2 categories. The first category composed of 250 teachers from 25 metropolitan secondary schools. They were government, private and demonstration schools. The second category composed of 250 parents of the students from those 25 schools already mentioned. Both categories of samples were secured by simple random sampling. The questionnaires constructed by the researcher composed of rating scale and open-ended items. The results were computed by mean, pooled mean, standard deviation, pooled standard deviation, z-test and percentage then tabulated and explained descriptively. Findings: The major findings of their study were as follows: concerning the student’s personal heath behaviors: avoidance of drugs was rated to be the most important, and first aid skill was rated as the least important. On the student’s learning behaviors : having attention to learn regularly was rated as most important, and well roundedness in general areas of knowledge was rated as least important. About the behaviors of students themselves : being honest to himself was rated as most important, art and music participation was rated as least important. Concerning the student’s interpersonal behaviors : being grateful to helpers was rated as most important, and eagerness for social improvement was rated as least important. Concerning the students behaviors towards politic, government, religion and national culture: realization of the nation, religion and monarchy as the most important institution of the country was rated as most important, and proper participation in religious activities was rated as least important. Comparing the teachers’ and parents’ opinions, the opinions on the student’s personal health behaviors were significantly different at the level of .01 learning behaviors and behaviors towards politics government, religion and national culture were significantly different at the level of .05. Besides, the behaviors of students themselves and interpersonal behaviors were no significant differences at the level of .05. Both teachers and the parents agreed that drug adios was the most crucial problem for secondary school students. The causes of students misbehaviors might be the feeling of insecurity and broken family. In order to solve the problem, adults should behave as good model of conduct and full attention and co-operation from all social institutions should be encouraged.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27578
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranun_Bo_front.pdf543.08 kBAdobe PDFView/Open
Oranun_Bo_ch1.pdf500.16 kBAdobe PDFView/Open
Oranun_Bo_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Oranun_Bo_ch3.pdf360.65 kBAdobe PDFView/Open
Oranun_Bo_ch4.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Oranun_Bo_ch5.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Oranun_Bo_back.pdf804.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.