Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27605
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิทยา สุนริตธนารักษ์ | |
dc.contributor.author | สมชาย ไขว้พันธุ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-13T08:50:08Z | |
dc.date.available | 2012-12-13T08:50:08Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745665134 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27605 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | นโยบายที่สำคัญของรัฐบาลประการหนึ่งคือต้องการปรับปรุงระบบบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพเพื่ออำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เกิดความพอใจ และเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีของรัฐบาล ให้ประชาชนเกิดความนิยมชมชอบและสนับสนุนรัฐบาล สิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องปรับปรุงคือ วิธีการบริการประชาชนที่สามารถสนองความต้องการของประชาชนได้ และหน่วยงานรัฐบาลที่เป็นกลไกสำคัญใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดได้แก่อำเภอ ซึ่งมีข้าราชการอำเภอเป็นผู้นำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของรัฐบาล ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงการบริการประชาชนของอำเภอเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. การบริการประชาชนในหน้าที่ปกติบนที่ว่าการอำเภอ 2. ให้ข้าราชการอำเภอรับผิดชอบประจำตำบล 3. จัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ออกไปบริการประชาขนในหมู่บ้าน ตำบล 4. จัดให้มีเวรบริการประชาชน สำหรับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะศึกษาวิจัยเฉพาะกรณีการจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ว่าเป็นวิธีการตอบสนองความต้องการของคนในสังคมได้ และประสิทธิผลของการจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ ทำให้ประชาชนเกิดความพอใจ เกิดศรัทธาและสนับสนุนรัฐบาลและระบบการเมืองต่อไป โดยจะศึกษาวิจัยทั้งทางด้านการวิจัยค้นคว้าเอกสาร และการวิจัยสนาม ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยจากแบบสอบถาม โดยการให้ข้าราชการอำเภอ บนที่ว่าการอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เป็นผู้กรอกแบบสอบถาม รวมทั้งการสัมภาษณ์ประชาชนในหมู่บ้านที่เคยได้รับบริการจากหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่พบว่า จากความคิดเห็นของข้าราชการอำเภอและประชาชนในหมู่บ้านนี้ที่อำเภอเคยจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่นั้นมีผลดี แม้ว่าบางอย่างจะไม่ดีมากแต่อยู่ในขั้นดีพอสมควร ซึ่งต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป และผลดีของการจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ ล้วนเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ให้ประหยัดเวลาและเงินทองของประชาชนในการติดต่อราชการ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างข้าราชการอำเภอกับประชาชน ทำให้เกิดความเข้าใจและความรู้สึกเห็นอกเห็นใจกัน ทำให้ข้าราชการได้มองเห็นปัญหาที่แท้จริงของประชาชน ทำให้อำเภอสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ถูกจุดตรงตามความต้องการของประชาชน ความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างข้าราชการกับประชาชน ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนาหมู่บ้าน ประชาชนเกิดความพอใจในการทำงานของข้าราชการ แสดงว่าระบบราชการมีประสิทธิภาพ ประชาชนย่อมพอใจใจการทำงานของรัฐบาลด้วย ทำให้เกิดความสะดวกในการปกครอง เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงแก่รัฐบาล ทำให้รัฐบาลและระบบการเมืองอยู่ได้ ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าการที่รัฐบาลมีนโยบายให้จัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ ถือเป็นความสามารถของรัฐบาลที่ทำให้ประชาชนสนับสนุนและยอมรับในนโยบายดังกล่าว ทำให้รัฐบาลอยู่ในอำนาจได้นาน อย่างไรก็ตาม การจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ ก็ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่บ้าง ได้แก่ 1. ในเขตการแทรกซึมของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ไม่อาจดำเนินได้อย่างกว้างขวางไม่สามารถกำหนดการปฏิบัติงานที่แน่นอนไว้ล่วงหน้าได้ 2. ส่วนราชการอื่นๆ ยังคิดว่าเป็นงานของกรมการปกครองฝ่ายเดียว จึงไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร 3. ขาดวัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และเจ้าหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถออกได้ครบทุกหมู่บ้าน 4. ไม่สามารถออกได้ทุกฤดูกาล โดยเฉพาะเรื่องการคมนาคม และประชาชนต้องทำไร่ทำนา 5. งานบางอย่างไม่สามารถบริการให้เสร็จภายในวันเดียวได้ เช่น การขอตั้งหรือเปลี่ยนชื่อสกุล สิ่งสำคัญที่จะทำให้การดำเนินการตามโครงการจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของรัฐบาลได้นั้น ขึ้นอยู่กับตัวนายอำเภอเป็นสำคัญว่าสามารถเป็นศูนย์รวม และเป็นที่ยอมรับของส่วนราชการ ของทุกกระทรวงที่มีหน่วยงานอยู่ในอำเภอนั้นมากน้อยแค่ไหน และนายอำเภอให้ความสนใจต่อนโยบาย ในการจัดหน่วยบริการอำเภอเลื่อนที่เพียงใด แต่ก็มีอุปสรรคที่น่าเห็นใจสำหรับนายอำเภอเช่นกัน ได้แก่ 1. นายอำเภอไม่มีบทบาทในการบริหารบุคคลของข้าราชการส่วนต่างๆ ของอำเภอได้อย่างเต็มที่ 2. กระทรวง ทบวง กรมอื่นมักสั่งการไปยังหน่วยงานระดับอำเภอ โดยไม่ผ่านนายอำเภอ 3. ส่วนราชการอื่นๆ รายงานของตนเองถึงกระทรวง ทบวง กรม โดยไม่ผ่านนายอำเภอ นายอำเภอจึงไม่ทราบความเคลื่อนไหวของการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นๆ | |
dc.description.abstractalternative | A significant policy of the Government is to improve the efficiency of the administrative system in order to meet people’s demand satisfactorily. District is the administrative organization which enjoys close relationship with people. It is important that District must me able to provide what is demanded of. Efforts are currently made in that direction in the following manners. 1. Routine service at the district office 2. Assigning an assistant district officer to particular communes 3. Organizing mobiles district office unit providing necessary services at villages 4. Designating an official on duty every day at the district office. This thesis will focus on the Mobile District Office Unit with the assumption that it can meet the public need, and its effectiveness can satisfy the people whereby public approval of the government and political system as a whole is made possible. Documentary and field researches are used in this thesis. Questionnaires are tendered to officials at the Wanonniwat District. Sakolnakorn Provice as well as villagers who have at least been served by the mobile district office unit data reveal that all the respondents are in favour of the mobile district office services. They need such services because they are saved of their time and money. Moreover, the activity brings about close cooperation between the public and government officials. The officials are able to know what the people need and as such can correct the problems. It can also lead to close cooperation between the public and government officials in village development. It may be also said that public satisfaction to the services rendered indicates efficiency of the government. This, in consequent will lead to the stability and security of the country. To summarize, the government policy in organizing the mobile district office unit can enable the government to obtain public supports and approval. Nevertheless, there are some problems for the mobile district office unit. They are: 1. In the communist-control areas, the system cannot work well. 2. Other government agencies other than the Department of Local Administration assume that the project is the responsibility and duty of the Department of local Administration alone. 3. Lack of equipment, materials, and vehicles. 4. Difficulty of transportation in some areas in some seasons. 5. Some services cannot be finished within a day, such as a request to register or change one’s surname. The district officer has a key role to bring the mobile district office unit to achieve its purposes. Therefore, the achievement depends upon his authority, the acceptance of all officials in the district, and his interests to the activity. However, there are some obstacles for the district officer as well: 1. The district officer has no command over personnel of all government offices in his district. 2. Directions of other government offices are made without the district officer’s knowledge. 3. Other departments report directly to their superiors. Hence, the district officer cannot control the operation of other departments. | |
dc.format.extent | 548254 bytes | |
dc.format.extent | 1225428 bytes | |
dc.format.extent | 2198989 bytes | |
dc.format.extent | 1612256 bytes | |
dc.format.extent | 834809 bytes | |
dc.format.extent | 826001 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การสนองความต้องการของชุมชนโดยรัฐ : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ อำเภอวานรนิวาส | en |
dc.title.alternative | State's responses to public demands : a case study of mobile service unit of Amphoe Wanon Niwat | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การปกครอง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somchai_Kh_front.pdf | 535.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Kh_ch1.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Kh_ch2.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Kh_ch3.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Kh_ch4.pdf | 815.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Kh_back.pdf | 806.64 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.