Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27612
Title: ผลกระทบของเส้นทางคมนาคมต่อการใช้ที่ดินของเมืองนครสวรรค์
Other Titles: The impact of transportation routes on land use in urban area of Nakorn Sawan province
Authors: สมชาย งามกาละ
Advisors: ศรีอุไร ตันติลีปิกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทบยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบการคมนาคมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงระดับความเป็นเมือง บริเวณตัวเมืองเป็นแหล่งที่มีโครงข่ายและความหนาแน่นของเส้นทางคมนาคมสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ โดยเป็นตัวนำอาหาร วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิตอื่นๆ มาสู่เมือง และกระจายผลผลิตของเมืองไปยังพื้นที่โดยรอบ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการคมนาคมส่งผลกระทบต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของเมือง เมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากและระบบเศรษฐกิจที่สลับซับซ้อน ย่อมต้องการระบบ และรูปแบบการคมนาคมที่ทันสมัย สะดวกรวดเร็วเพื่อสามารถสนองความต้องการของประชากร และระบบเศรษฐกิจของเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ กล่าวถึงบทบาทและความสำคัญของชุมชนเมืองนครสวรรค์ที่มีต่อชุมชนต่างๆ ในภาคเหนือ ลำดับชั้นวิวัฒนาการของรูปแบบการคมนาคมที่เหมาะสม สามารถสนองความต้องการต่อระบบเศรษฐกิจ และรองรับการขยายตัวของชุมชนเมืองนครสวรรค์ในแต่ละช่วงเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาถึงผลกระทบของเส้นทางคมนาคมที่มีต่อการใช้ที่ดินของเมืองนครสวรรค์ ผลการศึกษาปรากฏว่าการใช้ที่ดินและทิศทางการขยายตัวของชุมชนเมืองนครสวรรค์มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการคมนาคมอย่างใกล้ชิด โดยชุมชนเมืองนครสวรรค์เริ่มต้นมาจากการเป็นเมืองชุมทางการคมนาคมขนส่งทางน้ำ และการค้าขายที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เนื่องจากความเอื้ออำนวยของสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดบรรจบของแม่น้ำสายสำคัญ การตั้งถิ่นฐานที่ปรากฏในระยะแรกมีลักษณะเป็นแนวยาวตามสองฝั่งแม่น้ำ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาการคมนาคมทางบก คือ ทางรถไฟ และระบบถนนการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารสะดวกรวดเร็วขึ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเมืองนครสวรรค์เป็นอย่างมากทิศทางการขยายตัวของเมืองแปรเปลี่ยนจากการขยายตัวตามแนวลำน้ำ ไปเป็นการขยายตัวตามแนวเส้นทางคมนาคมทางบกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นทางถนน กล่าวได้ว่าการคมนาคมทางถนนเป็นรูปแบบการคมนาคมที่มีอิทธิพลต่อการใช้ที่ดิน และทิศทางการขยายตัวของ เมืองนครสวรรค์มากที่สุดในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะทวีความสำคัญมากขึ้นไปอีกในอนาคต การขยายตัวของเมืองนครสวรรค์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างขาดความเป็นระเบียบแบบแผนและการควบคุมที่ดีพอ อาคารบ้านเรือน ร้านค้าและสิ่งก่อนสร้างต่างๆ ขยายตัวออกไปตามแนวสองฟากของถนนสายหลัก ส่งผลให้โครงสร้างของเมืองมีลักษณะเป็นแนวยาวตามสองฟากถนนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้ยากลำบากต่อการควบคุมดูแลและการจัดบริการปัจจัยพื้นฐานต่างให้เพียงพอต่อความต้องการ และไม่สามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริการปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองนครสวรรค์ในอนาคตได้ ท้ายสุดของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คาดคะเนถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของเมืองในอนาคต และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาตามหลักวิชา เพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานประกอบการวางแผนรองรับความเจริญเติมโตของชุมชนเมืองนครสวรรค์ต่อไป
Other Abstract: Transportation system is one of the most important indicators of urbanization levels. A town is a centre of transport and communication network which is essential for economic growth, as the feeding lines of food, raw materials and other production factors to urban people. Besides, the transport plays a main role in distributing the products form a town to the surrounding areas. Therefore, the changes in transport system of any town will have an effect on urban expansion as well as an economic growth of that town. A big town with a great number of population requires the most convenient transport pattern to efficiently serve the population demand and the economic situation of that town. This’ thesis is concentrated on the importance of Nakorn Sawan Community within the northern region, in terms of the evolution of its transport pattern that has an influence on economic pattern and the community growth from the past up to the present. The thesis is aimed to study the impact of transport routes on the landuse of Nakorn Sawan Community. The results of the study have revealed the close relation between the urban growth and the transportation changes. The Nakorn Sawan Community originated from being the focal point of river transport and the regional commercial center of the lower North and the Upper Central Regions. The River transport was the most important for NakornSawan in the past because of the geographical suitability gained from being the junctions of the important rivers. The early settlement was in linear pattern along the river banks. Then, the development of railway and roads that make goods and passengers transport more convenient have sent the great effect out the urban structure of Nakorn Sawan. The direction of settlement has changed from the river oriented pattern to the road. The physical urban growth becomes linear along the land transport. Thus, it can be pointed that the road transport has the most influence on the size and the direction of Nakorn Sawan urban growth at present and shows the same trend in future. Then, the thesis also indicates the unplanned growth of Nakorn Sawan Community. Residential, commercial and other buildings have been generally seen along the main roads, creating the endless linear pattern of urban area. That type of growth makes the infrastructure service of the municipality inefficient and insufficient, especially in the future. Finally, the problems of urban growth of Nakorn Sawan has been also presented in the thesis as well as the tentative academic suggestion; to be useful for future landuse planning of Nakorn Sawan Community.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27612
ISBN: 9745612138
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_Ng_front.pdf656.74 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ng_ch1.pdf509.17 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ng_ch2.pdf675.52 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ng_ch3.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ng_ch4.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ng_ch5.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ng_back.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.