Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27647
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorแสงโสม เกษมศรี-
dc.contributor.advisorเพ็ญศรี ดุ๊ก-
dc.contributor.authorสมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์-
dc.date.accessioned2012-12-13T19:51:42Z-
dc.date.available2012-12-13T19:51:42Z-
dc.date.issued2517-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27647-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517en
dc.description.abstractจุดประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงการเริ่มต้นบทบาทของประเทศมหาอำนาจตะวันตกในการสร้างทางรถไฟแห่งประเทศไทยจนถึงกาสิ้นสุดบทบาทของประเทศเหล่านั้น โดยการค้นคว้าหาสาเหตุและปัจจัยชักนำให้กิจการรถไฟของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของชาวตะวันตก ผู้เขียนได้เสนอข้อมูลที่จะชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปของกิจการรถไฟในเวลานั้น สภาพการณ์ทางการเมืองซึ่งผลักดันให้เกิดการแข่งอำนาจและแย่งผลประโยชน์ในระหว่างกลุ่มประเทศจักรวรรดินิยม วิธีการที่ชาวตะวันตกใช้ในการควบคุม และกีดกันคนไทยไม่ให้มีอิสระในการดำเนินการรถไฟของชาติไทย ปัญหาต่างๆ อันเกิดจากการเข้ามามีบทบาทของประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ ตลอดจนนโยบายและวิธีการของรัฐบาลไทยในการกำจัดอิทธิพลของชาวตะวันตก ทำให้กิจการรถไฟได้ตกเป็นของคนไทยในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการศึกษาเพื่อแสดงถึงวาระเริ่มต้น ระหว่างการมีบทบาท จนถึงการสิ้นสุดบทบาทของประเทศมหาอำนาจตะวันตกในกิจการรถไฟไทย วิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 8 บท ไม่รวมบทนำและบทสรุป บทนำ กล่าวถึงสาเหตุและความสำคัญของปัญหา จุดมุ่งหมายในการศึกษา ที่มาของเอกสารและข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ปัญหาในระหว่างการค้นคว้าและวิจัย ขอบเขตและวิธีการเขียนวิทยานิพนธ์ ข้อคิดเห็นที่ได้จากประสบการณ์ระหว่างการค้นคว้า รวมทั้งข้อเสนอแนะบางประการของผู้เขียน บทที่ 1 กล่าวถึงพัฒนาการด้านการคมนาคมของไทยก่อนการสร้างทางรถไฟ และกล่าวถึงเหตุการณ์ที่โน้มน้าวให้รัฐบาลตกลงสร้างทางรถไฟ บทที่ 2 กล่าวถึงการตัดสินใจสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ประมวลความและวิเคราะห์การเริ่มเข้ามามีบทบาทของชาวเยอรมันในกิจการรถไฟไทย เปรียบเทียบลักษณะการต่อสู้ๆ เพื่อแย่งอำนาจในกรมรถไฟหลวงระหว่างอังกฤษและเยอรมนี บทที่ 3 กล่าวถึงการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ - นครราชสีมา และกรณีพิพาทระหว่างกรมรถไฟหลวงกับผู้รับเหมาสร้างทางรถไฟชาวอังกฤษ การวิจัยในบทนี้จะแสดงถึงการบีบบังคับที่ประเทศจักรวรรดินิยมถือปฏิบัติต่อประเทศที่ด้วยแสนยานุภาพกว่า บทที่ 4 กล่าวถึงความพยายามของกลุ่มนายทุนชาวอังกฤษที่จะขอสัมปทานสร้างทางรถไฟสายเหนือ การตัดสินใจของรัฐบาลไทยในการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และบทบาทของชาวเยอรมันในการสร้างทางรถไฟสายนี้ บทที่ 5 กล่าวถึงโครงการของฝรั่งเศสที่จะสร้างทางรถไฟตัดผ่านดินแดนไทย ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อการเจรจาทางการทูตระหว่างไทย และฝรั่งเศส ในกรณีสืบเนื่องจากวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ส่วนบทที่ 6 แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกบรรยายถึงปัญหาก่อนการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ -เพชรบุรี และชี้ให้เห็นถึงการแย่งผลประโยชน์ระหว่างประเทศมหาอำนาจด้วยกันในการประมูลซื้อวัสดุสร้างทางรถไฟ ส่วนตอนที่ 2 กล่าวถึงนโยบายของอังกฤษในการรักษาอิทธิพลในแหลมมลายู การตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่จะสร้างทางรถไฟสายใต้ วิธีการของรัฐบาลอังกฤษในการกีดกันชาวเยอรมันไม่ให้มีส่วนร่วมในการสร้างทางรถไฟสายใต้ การกู้เงินจากรัฐบาลสหพันธรัฐมลายา บทที่ 7 และ 8 กล่าวถึงการสร้างทางรถไฟในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สงครามโลก ครั้งที่ 1 และผลกระทบกระเทือนที่มีต่อกิจการรถไฟไทย การปฏิรูประบบงานในกรมรถไฟหลวง การดำเนินงานสร้างทางรถไฟภายหลังกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธินเข้าดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และความสำเร็จของรัฐบาลไทยในการกำจัดอิทธิพลของชาวตะวันตกในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บทสรุป สรุปสาเหตุและผลของการสร้างทางรถไฟในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เปรียบเทียบอำนาจของเจ้ากรมรถไฟชาวเยอรมันแต่ละคน จำแนกลักษณะความสนใจของประเทศมหาอำนาจตะวันตกในกิจการรถไฟไทย และวิเคราะห์ผลของการที่ประเทศเหล่านี้เข้ามามีบทบาทในการสร้างทางรถไฟแห่งประเทศไทย
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at studying the beginning and the end of the roles of the Western powers in the railways construction in Thailand. It attempts to investigate the factors which caused the Thai railways in the reigns of King Rama V and King Rama VI to fall under the Western influence. The data presented reveal the state of the railways then, the political situation which brought about among the imperialist countries the craving for power and profits, the Western methods of hindering the Thais from managing their railways independently, various problems arising from the influence of the Western powers, and finally the policy and procedure of the Thai government in eliminating the Western influence in the later period of the reign of King Rama VI; thenceforth the railways system has been managed by the Thais. This thesis is organized into 8 chapters excluding the introduction and conclusion. The introduction states the causes and the significance of the problem, the purpose of the study, the reference documents and the data used in the study, research problems, the scope and procedure of the thesis, ideas arising from research experience and some suggestions of the writer. Chapter I deals about the development of the communication system before the railways construction and various events which induced the government to decide about the construction of the railways. Chapter II reveals the decision in constructing Bangkok-Nakorn Rajsima Line, analysis of the beginning of the German influence in the Thai railways, and the comparative study of the English and the German seeking power in the Thai railways construction. Chapter III mentions the construction of Bangkok – Nakorn Rajsima Line and the dispute between the Royal Railway Department of Thailand and the English contractor. It indicates the influence of the imperialist countries on the inferior ones. Chapter IV describes the efforts of the English capitalists in demanding a concession to construct a Northern Line, including the decision of the Thai government to construct Bangkok – Chiengmai Line and the role of the Germans in this construction. Chapter V is concerned with the French project of constructing a railway across the Thai territory which affected the diplomatic negotiations between Thailand and France caused by the 1893 crisis. Chapter VI is divided into 2 parts. The first describes the problems before the construction of Bangkok – Petchburi Line and the engagement in vigorous rivalry between the great Powers to bid for the construction materials. The second part demonstrates the English policy in maintaining the influence in the Malay Peninsula, the decision of the Thai Government in constructing a Southern line, the methods that the English Government employed to hinder the Germans from participating in this undertaking and the loan of money form the Federate Malay States. Chapter VII and VIII mention the railways construction in the reign of King Rama VI, the First World War and its effects upon the Thai railways, the management to reform the working system of the Royal Railway department, the Railways construction after H.R.H. Prince Purachatra assumed to post of Commissioner – General and finally the success of the Thai government in eliminating the Western influence in the later period of the reign of King Rama VI. At the end of the thesis is a summary of the causes and effects of the railways construction in the reigns of King Rama V and VI, the comparison of the influence of each German Director – General of the Royal Railway Department, the points of interest of the Western powers in the Thai railways system and the analysis of the effects caused by the participation of these powers in the construction of the Thai railways.
dc.format.extent2432950 bytes-
dc.format.extent19720345 bytes-
dc.format.extent8805858 bytes-
dc.format.extent3041891 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleบทบาทของประเทศมหาอำนาจตะวันตกในการสร้างทางรถไฟของประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวen
dc.title.alternativeThe roles of the western powers in the Thai railways construction during the reigns of King Rama V and Rama VIen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somjai_Ph_front.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Somjai_Ph_ch1.pdf19.26 MBAdobe PDFView/Open
Somjai_Ph_ch2.pdf8.6 MBAdobe PDFView/Open
Somjai_Ph_back.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.