Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27666
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ความน่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักศึกษาอาชีวศึกษา จากโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์
Other Titles: A comparative study of vacational students' perceived attractiveness of alcohol beverages as advertised on television
Authors: อนงค์ ก้องประวัติ
Advisors: สมชาย ธัมมนันท์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กาวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรับรู้ความน่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามข่าวสารในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ของนักศึกษาอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี สังกัดกรมอาชีวศึกษา และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาที่เปิดสอนประเภทวิชาคหกรรม ศิลปกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม ในกรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2529 ซึ่งเคยดูโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ จำนวน 856 คน เป็นผู้ชาย 403 คน และผู้หญิง 453 คน อายุระหว่าง 15 ถึง 34 ปี โดยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยอาศัยขอบเขตเนื้อหาในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ 14 ชื่อการค้า ซึ่งได้แพร่ภาพทางโทรทัศน์ในช่วงเดือนธันวาคม 2528 ถึง มกราคม 2529 โดยอิงแนวความคิดการเรียนรู้ข่าวสาร (The Message-Learning Approach) ของ Hovland และคณะแบบสอบถามชุดนี้ได้นำไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพคือ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อด้วยการทดสอบค่าที และค่าความเที่ยงโดยการทดสอบซ้ำกับการวัดความสอดคล้องภายในด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของ Cronbach สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเอส ของ Scheffe’ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาอาชีวศึกษาชายและหญิงมีการรับรู้ความน่าดื่มตามข่าวสารในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสองลักษณะเนื้อหา คือ แหล่งสารในโฆษณามีความน่าดึงดูด (p < .01) แหล่งสารในโฆษณามีความคล้ายคลึงกับผู้รับสาร (p < .05) ส่วนอีกสี่ลักษณะเนื้อหามีการรับรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 2. นักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีอายุระหว่าง 15-20 ปี กับนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 21-34 ปี มีการรับรู้ความน่าดื่มตามข่าวสารในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งหกลักษณะเนื้อหา 3. นักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีการับรู้ความน่าดื่มตามข่าวสารในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสี่ลักษณะเนื้อหา คือ แหล่งสารในโฆษณามีความน่าเชื่อถือ (p < .05) แหล่งสารในโฆษณามีความคล้ายคลึงกับผู้รับสาร (p < .05) เน้นให้ผู้รับสารรู้สึกภาคภูมิใจ (p < .05) และเน้นให้ผู้รับสารรู้สึกมีความสุข (p < .01) ส่วนอีกสองลักษณะเนื้อหามีการรับรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 4. นักศึกษาอาชีวศึกษาที่เคยดื่มและไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการรับรู้ความน่าดื่มตามข่าวสารในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติห้าลักษณะเนื้อหา คอื แหล่งสารในโฆษณามีความน่าดึงดูด (p < .01) แหล่งสารในโฆษณามีความคล้ายคลึงกับผู้รับสาร (p < .001) เน้นให้ผู้รับสารรู้สึกภาคภูมิใจ (p < .05) เน้นให้ผู้รับสารรู้สึกมีความสุข (p < .001) และอ้างถึงเหตุผล (p < .05) ส่วนแหล่งสารที่มีความน่าเชื่อถือมีการรับรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 5. นักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีลักษณะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสามลักษณะ คือ ดื่มเป็นประจำ ดื่มบางครั้งบางคราว และดื่มนาน ๆ ครั้ง มีการรับรู้ความน่าดื่มตามข่าวสารในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งหกลักษณะเนื้อหา 6. นักศึกษาอาชีวศึกษาที่เคยดื่มตาม และไม่เคยดื่มตามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดที่โฆษณาทางโทรทัศน์ มีการรับรู้ความน่าดื่มตามข่าวสารในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งหกลักษณะเนื้อหา (p < .001)ผลการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่าตัวแปรที่นำมาเปรียบเทียบแล้วทำให้การรับรู้ความน่าดื่มตามข่าวสารในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์แตกต่างกัน คือ เพศ ระดับการศึกษา พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรมการดื่มตามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ ซึ่งผลการวิจัยเป็นข้อมูลที่ทำให้ ตระหนักว่าข่าวสารในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์นั้น ทำให้ผู้ชมที่เป็นเยาวชนรับรู้ว่าน่าดื่มตามได้ อย่างไรก็ตามการรับรู้เช่นนี้จะส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ และยังมีปัจจัยตัวแปรอื่นใดเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการดื่มอีกบ้างนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
Other Abstract: The purpose of this survey research was to compare the variables concerning the perceived attractiveness of alcohol beverages as advertised on television of the vocational students. Subjects were 856 vocational students whose level of study were certificate, diploma and undergraduate in the area of home-economic, art, commerce and industry attached the department of vocational education and institute of technology and vocational education in academic year 1986, in Bangkok. The subjects were randomly selected by using the multi-stage sampling method. The apparatus was the questionnaire constructed according to the Hovland and collegues’ message-learning approach for the collection of data from 14 alcohol beverages advertisements on television during December 1985 to January 1986. Retest and Cronbach’s coefficient alpha methods were applied for the measurement of reliability. Item discrimination was tested by using t-test. The data were analyzed by using t-test, one-way analysis of variance and Scheffe’s method for pairwise comparison. The results show as follow : 1. There is significant difference between sexes in the perceived attractiveness of alcohol beverages as advertised on television in two dimensions, i.e., the attractiveness of the source (p < .01) and the similarity of the source (p < .05). There is no significant difference in the other dimensions. 2. There is no significant difference between students whose age range are 15-20 years and 21-34 years in the perceived attractiveness of school. beverages as advertised on television in all six dimensions. 3. There is significant difference between the certificate and diploma vocational education students in the perceived attractiveness of alcohol beverages as advertised on television in four dimensions, i.e., the credibility of the source (p < .05), the similarity of the source (p < .05), the prestige identification of the message (p < .05) and the happiness identification of the message (p < .01). There is no significant difference in the other dimensions. 4. There is significant difference between drinker and non-drinker students in the perceived attractiveness of alcohol beverages as advertised on television in five dimensions, i.e., the attractiveness of the source (p < .01), the similarity of the source (p < .001), the prestige identification of message (p < .05), the happiness identification of message (p < .001) and the reasoning of the message (p < .05). There is on significant difference in the credibility of the source. 5. There is no significant difference among three categories of drinking frequency, i.e., always, sometimes and seldom in the perceived attractiveness of alcohol beverages as advertised on television in all six dimensions. 6. There is significant difference between students who have ever and never consumed the alcohol beverages advertised on television in the perceived attractiveness of alcoholic beverages as advertised on television in all six dimensions (p < .001). The results of this research indicate that the variables that discriminate the perceived attractiveness of alcohol beverages as advertised on television of vocational students are sex, educational level, the alcoholic drinking and the alcoholic drinking advertised on television. The results of this research suggest that the messages in the alcohol beverages advertisements on television are persuasive to the youth. However, further studies should be perform in order to find other variables which determine the drinking behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27666
ISBN: 9745671681
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anong_Ko_front.pdf508.4 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Ko_ch1.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Anong_Ko_ch2.pdf531.37 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Ko_ch3.pdf648.58 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Ko_ch4.pdf570.12 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Ko_ch5.pdf328.47 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Ko_back.pdf843.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.