Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27669
Title: การสำรวจความสนใจในอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2527 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: A survey of the vocational interests of mathayom suksa three and mathayom suksa six students for the academic year 1984 in Northeastern Region
Authors: อนงค์ สกุลคู
Advisors: ชุมพร ยงกิตติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความสนใจในอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2527 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกกลุ่มตัวอย่างตามเพศ อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา ระดับการศึกษาของบิดามารดา ระดับรายได้ของบิดามารดา และระดับสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 902 คน เป็นชาย 490 คน หญิง 412 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 828 คน เป็นชาย 414 คน หญิง 414 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามประวัติส่วนตัวของนักเรียน ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบิดามารดา และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามความสนใจในอาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลความสนใจในอาชีพ โดยหาค่าร้อยละ จำแนกกลุ่มตัวอย่างตามเพศ อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา ระดับการศึกษาของบิดามารดา ระดับรายได้ของบิดามารดาและระดับสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสนใจในอาชีพอันดับ 1 ของนักเรียนชายและหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียน มีความสนใจในหมวดอาชีพวิชาชีพ วิชาการ มากที่สุด จำนวนนักเรียนหญิงที่สนใจในหมวดอาชีพการบริการ หมวดอาชีพการคมนาคม การผลิตและการช่าง รองลงมาตามลำดับ นักเรียนหญิงสนใจหมวดอาชีพรองลงมาจากหมวดอาชีพวิชาชีพ วิชาการตามลำดับ คือหมวดอาชีพเสมียนและพนักงาน หมวดอาชีพการค้า สำหรับนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สนใจหมวดอาชีพวิชาชีพวิชาการมากที่สุด หมวดอาชีพที่สนใจรองลงมาตามลำดับ คือ หมวดอาชีพการบริการ และหมวดอาชีพการกสิกรรม นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สนใจหมวดอาชีพวิชาชีพวิชาการมากที่สุด ที่สนใจรองลงมาตามลำดับ คือ หมวดอาชีพเสมียนและพนักงาน หมวดอาชีพการค้า สำหรับความสนใจในอาชีพ อันดับ 2 และ 3 ของนักเรียนชายและหญิง ทั้งสองระดับการศึกษา มีแนวโน้มของความสนใจในอาชีพ คล้ายความสนใจในอาชีพอันดับ 1 2. เมื่อพิจารณารายอาชีพที่นักเรียนสนใจมากที่สุด 5 อาชีพแรกของสนใจในหมวดอาชีพที่นักเรียนเลือกเป็นอันดับ 1 พบว่า นักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 3 สนใจอาชีพทหารมากที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือช่างเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า และอิเลคโทรนิคตำรวจ ช่างซ่อม เครื่องจักรยานยนต์ และช่างไฟฟ้า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สนใจอาชีพทหาร ตำรวจ ครู-อาจารย์ นักบิน และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ตามลำดับ นักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สนใจในอาชีพพยาบาล มากที่สุด รองลงมาคือ แพทย์ นักธุรกิจ ครู-อาจารย์ และพนักงานธนาคาร ตามลำดับ นักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สนใจอาชีพพยาบาล มากที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ครู-อาจารย์ พนักงานธนาคาร ค้าขายดำเนินการเอง และนักธุรกิจ จะเห็นได้ว่า นักเรียนชายทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสนใจ อาชีพทหารมากที่สุด สำหรับนักเรียนหญิง ทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสนใจอาชีพพยาบาลมากที่สุด 3. ความสนใจในอาชีพที่นักเรียนเลือกเป็นอันดับ 1 2 และ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อจำแนกตามอาชีพของบิดา อาชีพของมารดา ระดับการศึกษาของบิดามารดา ระดับการศึกษาของบิดามารดา ระดับรายได้ของบิดามารดา และระดับสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจหมวดอาชีพ วิชาการมากที่สุด รองลงมาคือ หมวดอาชีพการบริการ 4. การสำรวจความสนใจในอาชีพที่นักเรียนเลือกเป็นอันดับ 1 2 และ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตามอาชีพของบิดา อาชีพของมารดา ระดับการศึกษาของบิดามารดา ระดับรายได้ของบิดามารดา และระดับสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนพบว่ากลุ่มตัวอย่างสนใจในหมวดอาชีพ วิชาการมากที่สุด 5. การวิเคราะห์เหตุผลของนักเรียนเกี่ยวกับความสนใจในอาชีพที่เลือกเป็นอันดับ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สนใจในหมวดอาชีพวิชาชีพ วิชาการกลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลที่สนใจในหมวดอาชีพนี้ ว่า เป็นอาชีพที่มีโอกาสได้ช่วยเหลือบุคคลอื่นอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติมากที่สุด เหตุผลรองลงมาตามลำดับ เกี่ยวกับหมวดอาชีพนี้ คือ เป็นอาชีพที่มีรายได้ดี ค่าตอบแทนสูง ได้ทำงานตรงกับความสามารถของตนเอง และลักษณะงานตรงกับที่ต้องการทำ 6. การตรวจสอบว่านักเรียนมีความเข้าใจลักษณะงานอาชีพที่ตนเองสนใจ เป็นอันดับ 1 และความรู้ ความสามารถของผู้ที่ต้องทำงานในหมวดอาชีพวิชาชีพ วิชาการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ความเข้าใจถูกต้องอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น
Other Abstract: The purpose of this research was to survey the vocational interests of Mathayom Suksa Three and Mathayom Suksa Six students for the academic year 1984 in Northeastern Region classified by sex, fathers’ career, mothers’ career, parents’ levels of education, Parents’ levels of income and students’ levels of achievement. The subjects if this study were 902 Mathayom Suksa Three students consisting of 490 boys and 412 girls and 828 Mathayom Suksa Six students of 414 boys and 414 girls selected by multiple stratified random sampling. The instruments used to collect data were designed by the researchers. The questionnaire consisted of 3 parts, the first part was the Bio-data Questionnaire, the second part was the Questionnaire on Parents’ data and the third part was the Vocational Interests Questionnaire. The researcher investigated vocational interests of the subjects by percentages classified by sex, fathers’ career, mothers’ career, parents’ levels of education, parents’ levels of income and students’ levels of achievement. The findings of this study were as follows : - 1. For the first in order of vocational interests of students in Mathayom Suksa three, most students were interested in Professtional Technical Occupation in which the girls were more interested than the boys. The boys were next interested in Service Occupation, Communication Production-Process and Mechanical Occupation, respectively. The girls were next interested in Clerical Occupation, Sales Occupation, respectively. The boys in Mathayom Suksa Six were most interested in Professional-Technical Occupation, Service Occupation and Agricultural Occupation, respectively. The girls in Mathayom Suksa Six were most interested in Professional-Technical Occupation, Clerical Occupation and Sales Occupation, respectively. The second and the third in orders of vocational interests of the students in both levels tended to be interested in the occupation similar to the first order. 2. When considering the first five careers that students were most interested in for the first in order of vocational interests, the results were that the boys in Mathayom Suksa Three were most interested in Armed Forces, Electrical and Electrician, respectively. The girls in Mathayom Suksa Three were most interested in Nursing Medicine, Business, Teaching and Banking, respectively. The boys in Mahayom Suksa Six were most interested in Armed Forces, Policemen, Teaching, Aircraft Pilots and Forest Rangers, Respectively. The girls in Mathayom Suksa Six were most interested in Nursing, Teaching, Banking, Working Proprietors and Business, respectively. It was considered that among students both in Mathayom Suksa Three and Six, the boys were most interested in Armed Forces while the girls in Nursing. 3. Of all three orders of vocational interests of students in Mathayom Suksa Three classified by fathers’ career, mothers’ career, parents’ levels of education, parents’ levels of income and students’ levels of achievement, the subjects were most interested in Professional-Technical Occupation and Service Occupation, respectively. 4. Of all three orders of vocational interests of students in Mathayom Suksa Six classified by fathers’ career, mothers’ career, parents’ levels of education, parents’ levels of income and students’ levels of achievement, the subjects were most interested in Professional-Technical Occupation. 5. The first in order of vocational interests of students in Mathayom Suksa Three and Mathayom Suksa Six was interested in professional-Technical Occupation, the reasons given were that of assisting others for the benefits of society and the country, high income, job assigned appropriate for their abilities and job description appropriate for their desires. 6. In terms of searching for students’ understanding of job description being interested the first in order and of knowledge and abilities of those who worked in professional-Technical Occupation, it was found that most subjects only had a moderate level of proper understanding.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27669
ISBN: 9745665053
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anong_Sa_front.pdf456.41 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Sa_ch1.pdf402.93 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Sa_ch2.pdf644.63 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Sa_ch3.pdf319.17 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Sa_ch4.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Anong_Sa_ch5.pdf377.98 kBAdobe PDFView/Open
Anong_Sa_back.pdf458.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.