Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27712
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน ฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาการ ของผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Opinions of principals, academic assistant principals and teachers concerning the academic performance of academic assistant principals in the elementary schools under the jurisdiction of Bangkok metropolitan administration
Authors: แหลมทอง ร่มสนธิ์
Advisors: สงัด ยุทรานันท์
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานทางด้านวิชาการของผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 85 คน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ จำนวน 86 คน และครูผู้สอน จำนวน 717 คน โดยส่งแบบสอบถามไปทั้งสิ้น 960 ฉบับ ได้รับคืนมา 888 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.50 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ (check-list) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating-scale) เนื้อหาสาระของแบบสอบถามจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางวิชาการของผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการ หลักสูตรและเอกสารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการศึกษา กิจกรรมเสริมหลักสูตร วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุด และการวัดและการประเมินผลทางวิชาการ และในส่วนสุดท้ายจะเกี่ยวข้องกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัย 1. จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านวิชาการของผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการนั้น ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ มีความคิดเห็นว่า ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการปฏิบัติงานด้านวิชาการด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ 7 ด้าน คือ ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการหลักสูตร และเอกสารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการศึกษา วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุด และการวัดและการประเมินผลทางวิชาการ ส่วนครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่า ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการปฏิบัติงานในด้านดังกล่าว โดยปฏิบัติร่วมกับผู้อื่นโดยเท่าเทียมกัน สำหรับการปฏิบัติงานด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรนั้น กลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกันว่า ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการปฏิบัติโดยร่วมกับผู้อื่นโดยเท่าเทียมกัน 2. จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค ในการปฏิบัติงานของผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการนั้น กลุ่มตัวอย่างประชากรทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกันว่า การปฏิบัติงานของผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการมีปัญหาและอุปสรรคน้อย
Other Abstract: Purposes of the Research: 1. To study the academic performance of the academic assistant principals in the elementary schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration. 2. To study the problems and obstacles of the performance of the academic assistant principals in the elementary schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration. Procedures: The samples of this study consisted of 85 principals, 86 academic assistant principals and 717 teachers. The instrument used in this research was a questionnaire which was constructed in form of check-list and rating-scale. The content of the questionnaire was concerned with process of the academic affairs administration, curriculum and the curricular materials, instructional management, educational supervision, co-curricular activities, instructional materials, library, measurement and evaluation, and the problems and obstacles of the performance of the academic assistant principals. The data were analysed by using percentage, mean and standard deviation. Findings: 1. According to the opinions of the principals and the academic assistant principals, the academic assistant principals took a great part in the academic administration in 7 areas : the process of academic affairs administration, curriculum and the curricular materials, instructional management, educational supervision instructional materials, library, measurement and evaluation ; but the teacher viewed that the academic assistant took an equal part in administration. The task concerned with co-curricular activities was the only one area that the principals, the academic assistant principals and the teachers viewed that the academic assistant principals took an equal part in administration. 2. The principals, the academic assistant principals and the teachers agreed that the academic assistant principals confronted with some problems and obstacles in academic administration; however those problems and obstacles were not serious.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27712
ISBN: 9745645478
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Laemthong_Ro_front.pdf408.07 kBAdobe PDFView/Open
Laemthong_Ro_ch1.pdf482.71 kBAdobe PDFView/Open
Laemthong_Ro_ch2.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Laemthong_Ro_ch3.pdf336.16 kBAdobe PDFView/Open
Laemthong_Ro_ch4.pdf863.7 kBAdobe PDFView/Open
Laemthong_Ro_ch5.pdf662.39 kBAdobe PDFView/Open
Laemthong_Ro_back.pdf606.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.