Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27738
Title: การฝึกอบรมครูช่วยสอนเด็กชาวเขาวิชาอ่านและเขียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาตอนต้น
Other Titles: The training of hill tribe teachers' aides in Thai language reading and writing for the primary grades
Authors: อรุณ กิ่งจันทร์
Advisors: กิติยวดี บุญซื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดลองฝึกอบรมครูช่วยสอนเด็กชาวเขาให้มีความสามารถในการสอนวิชาอ่านและเขียนภาษาไทย แก่เด็กชาวเขาและเพื่อทดลองใช้แบบเรียนวิชาภาษาไทย รวมทั้งคู่มือครูที่ใช้ประกอบหนังสือแบบเรียนวิชาภาษาไทยสำหรับเด็กชาวเขา ของแผนกวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรพิเศษสำหรับฝึกอบรมครูช่วยสอนเด็กชาวเขา หนังสือแบบเรียนสำหรับเด็กชาวเขา คู่มือครู แบบทดสอบ แบบนิเทศการสอนแบบปรนัย แบบประเมินผลความสามารถในการสอน แบบประเมินผลความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือแบบเรียน และวิธีสอนวิชา อ่านและเขียนภาษาไทย ตามแนวของโครงการทดลอง โดยนำเครื่องมือในการวิจัยดังกล่าว ไปทดลองฝึกอบรมกับตัวอย่างประชากรที่เป็นชาวเขาซึ่งกรมประชาสงเคราะห์คัดเลือกมาจำนวน 80 คน ณ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลในการวิจัยเก็บรวบรวมจากคะแนนก่อน และหลังการฝึกอบรม ทั้งคะแนนวิชาการด้านวิชาอ่านและเขียนภาษาไทย กับคะแนนวิชาครูเบื้องต้น ผลการวิจัย 1. สัมฤทธิผลทางด้านวิชาอ่านและเขียนภาษาไทย กับวิชาครูเบื้องต้น และความสามารถในการสอนอยู่ในเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ 2.ความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการฝึกอบรมแม้จะไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ.05ก็ตามแต่จากการสังเกตระหว่างการฝึกอบรม พบว่าผู้รับการฝึกอบรมส่วนใหญ่มีทักษะในการใช้ภาษาและความเข้าใจภาษาไทยดีขึ้น และมีความเข้าใจในวิธีสอนอ่านและเขียนภาษาไทย ตลอดจนรู้จักผลิตอุปกรณ์ดีขึ้น จึงนับได้ว่าการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสัมฤทธิผลด้านวิชาอ่านและเขียนภาษาไทย กับความสามารถในการสอน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น .54 และมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แสดงว่าสัมฤทธิ์ผลด้านวิชาอ่านและเขียนภาษาไทย กับความสามารถในการฝึกสอน มีความสัมพันธ์กันในเชิงนิมาน (positive) 4. ความสัมพันธ์ระหว่างสัมฤทธิผลด้านวิชาชีพครูเบื้องต้นกับความสามารถในการสอน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น .61 และมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แสดงว่าสัมฤทธิผลด้านวิชาชีพครูเบื้องต้นกับความสามารถในการฝึกสอน มีความสัมพันธ์กันในเชิงนิมาน (positive) 5. พื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์ และสภาพของผู้รับการฝึกอบรม ไม่มีอิทธิพลต่อความมั่นใจในการสอน 6. ผู้รับการฝึกอบรมมีความเข้าใจในเนื้อหาแบบเรียนภาษาไทย สำหรับเด็กชาวเขาที่กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ดี และคะแนนความเข้าใจดังกล่าว ก่อนและหลังการฝึกสอนเป็นไปในเชิงนิมาน (positive) นับได้ว่าเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ใช้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพ ผู้รับการฝึกอบรมมีความสามารถในการสอนวิชาอ่านและเขียนภาษาไทย การฝึกอบรมครั้งนี้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมาย
Other Abstract: Objectives: The purpose of this research was to find out the result of teacher's aids training in teaching Thai language reading and writing to Hill Tribes. It was also to study the use Thai language text books and Teacher's guides published by the Department of Elementary Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University. Procedures: The tools utilized in this research were the Special curriculum particularly designed for the research project; text books; teacher's guides; tests; practice teaching evaluation forms; text books evaluation forms and the method of teaching Thai language reading and writing. These tools were used on training 80 trainees at the Hill Tribe Development and Welfare Center, Mae Sarieng District, Maehongsorn Province. The research data was collected from the scores of the pretest and the posttest, from academic achievements in Thai language reading and writing and the fundamentals of teacher education, from the method of teaching and practice teaching. Results: 1. The trainees‘ achievements in Thai language reading and writing, in fundamentals of teacher education and the ability in teaching were satisfactory. 2. The arithmetic means (X) of the pretest and the posttest showed insignificance at the level of .50. However, most of the trainees were able to improve their language usage and understand how to teach. In addition, they were able to produce the teaching aids better. 3. The statistical relationship between the achievement in Thai language reading and writing and the ability in teaching gave a correlation coefficient (rxy) of .54 which was significant at the level of .01. It showed that the achievement in Thai language reading and writing and the ability in teaching were positively related. 4. The statistical relationship between the achievement in the fundaments of teacher education and the ability in teaching gave a correlation coefficient (rxy) of .61 which was significant at the level of .01. It showed that they were positively related. 5. The educational background, experiences and status of the trainees did not influence their self-confidence in teaching. 6. The trainees were able to understand the subject matter in Thai language text books for Hill Tribe Children well. The pretest and the posttest scores of their understanding were positive. Consequently, the tools and material, used in this research were efficient and the training could be considered effective and successful.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27738
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arun_Ki_front.pdf455.97 kBAdobe PDFView/Open
Arun_Ki_ch1.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Arun_Ki_ch2.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Arun_Ki_ch3.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Arun_Ki_ch4.pdf440.14 kBAdobe PDFView/Open
Arun_Ki_back.pdf789.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.