Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27776
Title: บทบาทที่ปฏิบัติอยู่และบทบาทที่ปรารถนาของอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Other Titles: Role Performance and Role Preference of Chiengmai University Professors
Authors: อรวรรณ อุทิศวรรณกุล
Advisors: รพี สุวรรณะชฏ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์บทบาทที่ปฏิบัติอยู่ บทบาทที่ปรารถนา และความขัดแย้งระหว่างบทบาทที่ปฏิบัติอยู่และบทบาทที่ปรารถนาของอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศึกษาจากข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศึกษาจากข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในภาคต้นปีการศึกษา ๒๕๒๐ จำนวน ๓๔๑ คนระบุในแบบสอบถาม การวิเคราะห์บทบาทของอาจารย์แยกพิจารณาในสองประเด็นใหญ่คือ หน้าที่ และสิทธิ ได้แก่ หน้าที่ที่อาจารย์ปฏิบัติและสิทธิที่อาจารย์ได้ หน้าที่ที่อาจารย์ชอบปฏิบัติและสิทธิที่อาจารย์ชอบ ความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ที่ปฏิบัติและหน้าที่ที่ชอบ ความขัดแย้งระหว่างสิทธิที่ได้รับและสิทธิที่ชอบ นอกจากนั้นยังได้แยกวิเคราะห์บทบาทของอาจารย์ในประเด็นย่อยคือ สาขาวิชาที่อาจารย์ทำงาน ตำแหน่งวิชาการสถานที่ทำงานครั้งแรก และระยะเวลารับราชการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การวิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างบทบาทที่ปฏิบัติอยู่และบทบาทที่ปรารถนาของอาจารย์นั้น นอกจากวิเคราะห์ในประเด็นย่อยดังกล่าวแล้ว ยังได้วิเคราะห์ในประเด็นย่อยเพิ่มอีกสองประเด็นคืออายุ และรายได้ ผลการศึกษาปรากฏว่า ๑. บทบาทที่ปฏิบัติอยู่ของอาจารย์ ๑.๑ หน้าที่ที่อาจารย์ปฏิบัติ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกือบทุกคนปฏิบัติงานต่างๆ ในกลุ่มหน้าที่สอนหลายประการอาทิ อ่านหนังสือหรือบทความเกี่ยวกับสาขาวิชาที่สอนบรรยายในชั้นเรียน นอกจากอาจารย์มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการสอนต่างๆดังกล่าวแล้ว อาจารย์เกือบทุกคนยังให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักศึกษา โดยมีอาจารย์ให้คำแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นจำนวนมากกว่าอาจารย์ที่ให้คำแนะนำในปัญหาทั่วๆไปแก่นักศึกษา หน้าที่ที่อาจารย์ปฏิบัติมากรองลงมาคือ วิจัย จากการศึกษาพบว่ามีอาจารย์ปฏิบัติงานวิจัยในสนามหรือวิจัยในห้องทดลองเป็นจำนวนมากกว่าอาจารย์ที่ปฏิบัติงานวิจัยจากเอกสาร ที่น่าสนใจคือ มีอาจารย์จำนวนไม่น้อยที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานบริหารด้วยอย่างไรก็ตาม งานบริหารที่อาจารย์ส่วนใหญ่ปฏิบัติคือ ประชุมเรื่องทั่วไป นอกจากนี้ได้แก่ พิจารณานโยบายด้านวิชาการ พิจารณานโยบายด้านการบริหารงานบุคคล และพิจารณานโยบายด้านงบประมาณ หน้าที่ที่อาจารย์ปฏิบัติน้อยมากคือ งานบริการทางวิชาการแก่สังคม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการช่วยเหลืองานของสมาคมต่างๆมากกว่าที่จะเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการของศูนย์ให้คำปรึกษาทางวิชาการ ๑.๒ สิทธิที่อาจารย์ได้รับ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีสิทธิให้คะแนนและกำหนดวิธีให้คะแนน นอกจากนั้นยังมีสิทธิอื่นอีกหลายประการคือ กำหนดเนื้อหาวิชาและวิธีสอน ร่วมตัดสินนโยบายของภาควิชา เลือกวิชาที่จะสอน ร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กำหนดจำนวนชั่วโมงในการสอน กำหนดจำนวนชั่วโมงการทำงานในมหาวิทยาลัย ร่วมตัดสินนโยบายของคณะ และร่วมตัดสินนโยบายของมหาวิทยาลัย ๒. บทบาทที่ปรารถนาของอาจารย์ ๒.๑ หน้าที่ที่อาจารย์ชอบปฏิบัติ หน้าที่ที่อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกือบทุกคนระบุว่าชอบปฏิบัติได้แก่ หน้าที่สอน ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ อาจารย์ชอบอ่านหนังสือหรือบทความเกี่ยวกับสาขาวิชาที่สอน และที่น่าสังเกตคือ มีอาจารย์ที่ชอบตรวจรายงานประจำภาคหรือตรวจการบ้านเป็นจำนวนน้อยมาก หน้าที่ที่อาจารย์ชอบปฏิบัติมากอีกหน้าที่หนึ่งคือให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักศึกษา ทั้งนี้มีอาจารย์ที่ชอบให้คำแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษามากกว่าอาจารย์ที่ชอบให้คำแนะนำในปัญหาทั่วๆไป หน้าที่ที่อาจารย์หลายคนระบุว่าชอบต่อมาคือ วิจัย และจากการสอบถามรายละเอียดพบว่ามีอาจารย์ที่ชอบปฏิบัติงานวิจัยในสนามหรือวิจัยในห้องทดลองเป็นจำนวนมากกว่าอาจารย์ที่ชอบปฏิบัติงานวิจัยจากเอกสาร หน้าที่ที่มีอาจารย์ระบุว่าชอบน้อยมากคือ งานบริหารมหาวิทยาลัย ดังจะเห็นได้ว่าน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอาจารย์ที่ศึกษาระบุว่าชอบพิจารณานโยบายด้านวิชาการ ประชุมเรื่องทั่วไป พิจารณานโยบายด้านการบริหารงายบุคคล พิจารณานโยบายด้านงบประมาณ ส่วนการปฏิบัติงานบริการทางวิชาการแก่สังคมนั้น มีอาจารย์จำนวนครึ่งหนึ่งที่ระบุว่าชอบให้คำแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาทั่วๆไป (ไม่ใช่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ซึ่งมากกว่าอาจารย์ที่ระบุว่าชอบเป็นกรรมการและที่ปรึกษาคณะกรรมการให้หน่วยราชการและองค์การเอกชนอย่างเห็นได้ชัด ๒.๒ สิทธิที่อาจารย์ชอบ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ส่วนใหญ่ชอบสิทธิเลือกวิชาที่จะสอน สิทธิอื่นๆ ที่อาจารย์ชอบรองลงมาคือ สิทธิกำหนดเนื้อหาวิชาและวิธีสอน ให้คะแนนและกำหนดวิธีให้คะแนน ร่วมตัดสินนโยบายของภาควิชา กำหนดจำนวนชั่วโมงในการสอน ร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กำหนดจำนวนชั่วโมงการทำงานในมหาวิทยาลัย ร่วมตัดสินนโยบายของคณะ และร่วมตัดสินนโยบายของมหาวิทยาลัย ๓. ความขัดแย้งระหว่างบทบาทที่ปฏิบัติอยู่และบทบาทที่ปรารถนาของอาจารย์ ความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ที่ปฏิบัติและหน้าที่ที่ชอบ หมายถึง อาจารย์เคยและหรือกำลังปฏิบัติหน้าที่นั้น แต่มีความรู้สึกไม่ชอบหน้าที่นั้น หรืออาจารย์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่นั้น แต่มีความรู้สึกชอบหน้าที่นั้น ความขัดแย้งระหว่างสิทธิที่ได้รับและสิทธิที่ชอบ หมายถึง อาจารย์เคยและหรือได้รับสิทธินั้น แต่มีความรู้สึกไม่ชอบสิทธินั้น หรืออาจารย์ไม่เคยได้รับสิทธินั้น แต่มีความรู้สึกชอบสิทธินั้น จากการทดสอบสมมติฐานในการศึกษาด้วยไคสแควร์ และ t (ทางเดียว) สรุปได้ว่า ๑. สาขาวิชาไม่มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งระหว่างบทบาทที่ปฏิบัติอยู่และบทบาทที่ปรารถนาของอาจารย์ ๒. ตำแหน่งวิชาการไม่มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งระหว่างบทบาทที่ปฏิบัติอยู่และบทบาทที่ปรารถนาของอาจารย์ ๓. สถานที่ทำงานครั้งแรกไม่มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งระหว่างบทบาทที่ปฏิบัติอยู่และบทบาทที่ปรารถนาของอาจารย์ ๔. อายุไม่มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ที่ปฏิบัติและหน้าที่ที่ชอบของอาจารย์ แต่อายุมีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งระหว่างสิทธิที่ได้รับและสิทธิที่ชอบของอาจารย์ ๕. ระยะเวลารับราชการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ที่ปฏิบัติและหน้าที่ที่ชอบของอาจารย์ แต่ระยะเวลารับราชการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งระหว่างสิทธิที่ได้รับและสิทธิที่ชอบของอาจารย์ ๖. รายได้ไม่มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ที่ปฏิบัติและหน้าที่ที่ชอบของอาจารย์ แต่รายได้มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งระหว่างสิทธิที่ได้รับและสิทธิที่ชอบของอาจารย์ โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความขัดแย้งระหว่างบทบาทที่ปฏิบัติอยู่และบทบาทที่ปรารถนาไม่มากนัก ซึ่งสอดคล้องกับการระบุของอาจารย์ที่ว่ามีปัญหาในการทำงานเพียงหนึ่งในสาม โดยอาจารย์มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานวิจัย บริหารมหาวิทยาลัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และงานสอนเป็นจำนวนมากว่าอาจารย์ที่มีปัญหาการให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักศึกษาอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ผู้เขียนมีทัศนะว่าควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นๆ ที่อาจมีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งระหว่างบทบาทที่ปฏิบัติอยู่และบทบาทที่ปรารถนาของอาจารย์ อาทิ ระดับการศึกษา ความรู้สึกของอาจารย์ต่อผู้บังคับบัญชา ต่อเพื่อนร่วมงาน และต่อนักศึกษา อาจารย์ที่มีตำแหน่งบริหารและอาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งบริหารเป็นต้น
Other Abstract: Thesis study aims to analyse Chiengmai University professors' role in three different areas: role performance, role preference and the inconsistency between role performance and role preference. The analysis were based on data obtained from the sample of 341 regular professors of Chiengmai University by means of questionnaires, who do their job at the administered in June 1977. The term "role" analyzed in this study was classified according to role segments: obligations and rights. "Role performance" refered to professors' engaged obligations and entitled rights. "Role preference" refered to professors’ desired obligations and desired rights. The inconsistency between role performance and role preference refered to (1) contradiction between engaged obligations and desired obligations (2) contradiction between entitled rights and desired rights. The inconsistency between role performance and role preference was treated as the dependent variable while discipline, academic rank, placement, age, tenure at Chiengmai University, and income were treated as independent variables. Role Performance Professors‘ Engaged Obligations: Most Chiengmai University professors engaged in teaching and consulting activities. Some reported that they engaged in research, administration and academic service to the public. It was observed that Chiengmai University professors did field research and experimental research more that documentary research. Their administrative obligations were attending meetings, participating in educational policies, participating in personnel policies decision making and participating in allotment of funds. A small minority of professors provided academic service to the public. Professors‘ Entitled Rights: Chiengmai University professors had rights-to determine grades and grading methods,to determine course contend and teaching methods, to take part in determining policy for the department, to select the course, to engage in off campus activities, to determine lecture hours, to set working hours on campus, to take part in determining policy for the faculty and to take part in determining policy for the university. Role Preference Professors' Desired Obligations: The desired obligations that most professors specified is teaching. However, they prefered reading in one's field of specialization, to grading term papers. Other desired obligations were research, counseling with students. Less than half of the professors sample specified that administration and giving advice, either to the government officers or to the private organization personnels were their desired obligations. Professors‘ Desired Rights: Most Chiengmai University professors mentioned to select the course (the subject taught) as their desired rights. They listed to determine course content and teaching methods, to determine grades and grading methods, to take part in determining policy for the department, to determine lecture hours more frequently than they reported that to engage in off campus activities, to set working hours on campus, to take part in determining policy for the faculty and to take part in determining policy for the university as their desired rights. Inconsistency between Role Performance and Role Preference Findings from the hypothesis testing indicated that inconsistency between role performance and role preference is independent of discipline, academic rank, placement, age, tenure at Chiengmai University and income. It would seem that more data are necessary before any definite conclusions concerning inconsistency between role performance and role preference can be made. The author recommends that further study on inconsistency between role performance and role preference should consider professor's educational level as one of the independent variables.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27776
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orawan_Ut_front.pdf599.41 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_Ut_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_Ut_ch2.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_Ut_ch3.pdf582.26 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_Ut_ch4.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_Ut_ch5.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_Ut_ch6.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_Ut_ch7.pdf901.49 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_Ut_back.pdf785.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.