Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27792
Title: การออกแบบและสร้างเครื่องควบคุมค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด โดยใช้ไมโครโปรเซสเซอร์
Other Titles: Design and construction of microprocessor-based electrical maximum demand controller
Authors: เอกชัย แสงอินทร์
Advisors: ประสิทธิ์ พรศักดิ์สิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เครื่องควบคุมค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ที่ได้สร้างขึ้นมาในการทำวิทยานิพนธ์นี้ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เบอร์ z-80 เป็นตัวควบคุม โดยใช้เทคนิคการทำนายแบบเชิงเส้นเพื่อหาค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ที่คาดว่าจะถูกใช้ไปในช่วงเวลา 15 นาที แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าขีดจำกัดความต้องการที่สามารถโปรแกรมกำหนดค่าได้ จากผลลัพธ์ที่ได้ถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลในการควบคุมภาระไฟฟ้าที่ต่ออยู่กับเครื่องควบคุมจำนวน 8 ช่อง เพื่อควบคุมไม่ให้ค่าความต้องการเกินขีดจำกัด สำหรับการกำหนดเวลาเริ่มต้นของการควบคุมทุกช่วงเวลา15 นาที สามารถทำได้โดยการกดสวิทซ์ที่เครื่องควบคุม หรืออาจจะต่อพ่วงกับ เครื่องวัดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าของการไฟฟ้า ถ้าหากเครื่องวัดนั้นสามารถทำให้กำเนินสัญญาณซิงค์ออกมาได้ ในการตรวจจับสัญญาณของการใช้พลังงานไฟฟ้า เครื่องควบคุมจะรับสัญญาณพัลส์ที่ได้ให้กำเนินออกมาจากจานหมุนในเครื่องวัดค่าพลังงานไฟฟ้า และแสดงค่าความต้องการพลังไฟฟ้าที่ถูกใช้ไปทุกช่วงเวลา 15 นาที ออกทางหน่วยแสดงผลแบบตัวเลข 7 ส่วน และทางเครื่องพิมพ์ สำหรับช่องส่งสัญญาณออกไปควบคุมภาระไฟฟ้าทั้ง 8 ช่อง สามารถโปรแกรมให้มีระดับความสำคัญ และค่าเวลาตัดต่ำสุดของภาระไฟฟ้าแต่ละช่องได้โดยไม่ขึ้นต่อกัน และผู้ใช้ยังสามารถเลือกการควบคุมได้ด้วยตนเองอีก ในขั้นสุดท้ายเป็นการทดสอบเครื่องควบคุมในห้องปฏิบัติการ โดยได้ผลของการควบคุมมีค่าความแม่นยำเป็นที่น่าพอใจ
Other Abstract: A maximum electricity demand controller has been developed, based on the Zilog z-80 microprocessor. The demand in each 15-minute interval is predicted by a linear extrapolation technique and is compared to the programmable demand limit. The electrical loads at the 8 output channels are controlled according to the outcome of this comparison. The 15-minute interval can be synchronized either manually or from the Utility’s demand meter (if available). The controller monitors the energy consumed by receiving pulses originated from the rotating disc of a precision kilowatt-hour meter. At the end of each time interval, the total demand is displayed on the 7-segment LED display and can be logged by using the printer. The 8 output channels have independent programmable priority levels and minimum off-time delays. Each channel can also be controlled manually. The controller has been satisfactorily tested in the laboratory.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27792
ISBN: 9745628352
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Akachai_Sa_front.pdf377.38 kBAdobe PDFView/Open
Akachai_Sa_ch1.pdf447.26 kBAdobe PDFView/Open
Akachai_Sa_ch2.pdf593.3 kBAdobe PDFView/Open
Akachai_Sa_ch3.pdf497.59 kBAdobe PDFView/Open
Akachai_Sa_ch4.pdf519.18 kBAdobe PDFView/Open
Akachai_Sa_ch5.pdf433.24 kBAdobe PDFView/Open
Akachai_Sa_ch6.pdf283.51 kBAdobe PDFView/Open
Akachai_Sa_back.pdf826.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.