Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27856
Title: | ความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า |
Other Titles: | Cadets' opinions concerning science curriculum in Chulachomklao Royal Military Academy |
Authors: | ร้อยโท โอสถ ภาวิไล |
Advisors: | จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนนนายร้อยชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ชั้นละ 200 คน รวม 400 คน แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า ถามความคิดเห็นหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ในด้านเนื้อหาวิชา กิจกรรมการสอนและประโยชน์ของวิชาวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 2 เป็นแบบปลายเปิด ถามเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ในด้านเนื้อหาวิชา กิจกรรมการสอน ประโยชน์ของวิชาวิทยาศาสตร์และข้อเสนอแนะทั่วไป แบบสอบถามแต่ละตอนผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่ามีสัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยงชนิดสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.969 เมื่อใช้กับตัวอย่างประชากรดังกล่าว ความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยแสดงด้วยค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมทั้งเปรียบเทียบค่ามัชฌิมเลขคณิตของความคิดเห็นของตัวอย่างประชากรด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฎว่า นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มีความคิดเห็นว่าเนื้อหาวิชามีความจำเป็นต่อการศึกษาในระดับปานกลาง กิจกรรมการสอนมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง วิชาวิทยาศาสตร์มีประโยชน์ในระดับปานกลาง สำหรับเนื้อหาวิชาที่มีความจำเป็นต่อการศึกษาในระดับมากได้แก่ วงจรไฟฟ้ากระแสตรง เครื่องทำไฟฟ้าสลับ วัตถุระเบิดที่ได้จากน้ำมันดำจากถ่านหิน สีและตัวยาต่างๆ และวิตามิน กิจกรรมการสอนที่มีความเหมาะสมในระดับมาก ได้แก่ การสอนแบบสาธิตประกอบการบรรยาย การสอนโดยให้นักเรียนทำการทดลอง การใช้แบบจำลอง ของจริง และภาพยนตร์ เป็นอุปกรณ์การสอน การสอบระหว่างภาคและการสอบประจำภาค วิชาวิทยาศาสตร์ที่มีประโยชน์ในระดับมาก ได้แก่ วิชาฟิสิกส์ในหัวข้อที่ใช้เป็นพื้นฐานเบื้องต้นก่อนที่จะศึกษาวิชาวิศวกรรมแขนงอืน และสามารถที่จะนำไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมและศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าในด้านต่างๆ ของนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 3 กับชั้นปีที่ 4 ไม่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study and compare the opinions of cadets concerning science curriculum. The samples of this study were 400 third and fourth year cadets of Chulachomklao Royal Military Academy, 200 cadets from each year. The questionnaire was divided into two parts. The first one was a rating scale questionnaire concerning science curriculum in content, teaching activities and the usefulness of science. The second was open-end part asking about science content, teaching activities, usefulness of science and general recommendation. This questionnaire was constructed by the researcher. The rating scale part had the reliability determined by coefficient value of 0.969. The opinion of cadets was analyzed by means of the arithmetic mean, the standard deviation, and t-test. The results of this study showed that the opinions of the third and fourth year cadets concerning the academy’s science curriculum was that the science content was necessary at the medium level, teaching activities was suitable at the medium level, and science subject was useful at the medium level. The science contents which were necessary at the high level were direct current circuit, alternating generator, coal tar explosives, color and drug-substances, and vitamins. Teaching activities which were suitable at the high level were lecture, demonstration, experiment, using model, real object and movie as teaching aids, as well as midterm-test and final-test. Science subject which were useful at the high level were some items in physics which were used as prerequisite for other branches of engineering, and could be used for further studies at the high level of education. Besides the opinions of third year cadets, concerning such areas, wasn’t different from the fourth year cadets. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27856 |
ISBN: | 9745620696 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Osoth_Bh_front.pdf | 381.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Osoth_Bh_ch1.pdf | 318.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Osoth_Bh_ch2.pdf | 650.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Osoth_Bh_ch3.pdf | 315.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Osoth_Bh_ch4.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Osoth_Bh_ch5.pdf | 545.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Osoth_Bh_back.pdf | 633.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.