Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27874
Title: ความพึงพอใจของครู อาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงาน
Other Titles: Satisfaction of teachers in large secondary schools under the auspices of the department of general education in Bangkok metropolis concerning factors of the job performance
Authors: อุษณีย์ พานิชย์ไพศาลกูล
Advisors: ณัฐนิกา คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของครู อาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงาน 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างครู อาจารย์ชาย และครู อาจารย์หญิง และระหว่างครู อาจารย์ที่มีอายุราชการแตกต่างกัน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงาน สมมติฐานของการวิจัย 1. ความพึงพอใจของครู อาจารย์ชาย และครู อาจารย์หญิงในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน 2. ความพึงพอใจของครู อาจารย์ซึ่งมีอายุราชการต่างกันในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรได้จากครู อาจารย์ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานครทุกโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 84 โรงเรียน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายตามสัดส่วนในแต่ละโรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างประชากร 370 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อความที่สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 2 ข้อ และข้อความที่วัดระดับความคิดเห็นที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงาน จำนวน 66 ข้อ ผู้วิจัยส่งและรับแบบสอบถามด้วยตนเองและทางไปรษณีย์ จำนวนแบบสอบถามที่ได้รับคืน 289 ฉบับ เป็นแบบสอบถามที่สามารถใช้เป็นข้อมูลในการวิจัยได้ จำนวน 285 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 77.02 การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS-X คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที สรุปผลการวิจัย จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ดังนี้ 1. ความพึงพอใจของครู อาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงาน โดยส่วนรวมและจำแนกตามเพศและอายุราชการอยู่ในระดับปานกลาง 2. องค์ประกอบในการปฏิบัติงานที่ครู อาจารย์มีความพึงพอใจสูงสุด คือ ลักษณะของงาน รองลงมา คือความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ส่วนองค์ประกอบในการปฏิบัติงานที่ครู อาจารย์ มีความพึงพอใจต่ำสุด คือ เงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการ รองลงมาคือ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 3. เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของครู อาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงาน ได้ผลดังนี้ 3.1 ความพึงพอใจของครู อาจารย์ชาย และครู อาจารย์หญิงที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงานโดยส่วนรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายองค์ประกอบ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2 องค์ประกอบ คือ ความมั่นคงในการทำงานและเงินเดือน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ 3.2 ความพึงพอใจของครู อาจารย์ที่มีอายุราชการ 1-4 ปี และครู อาจารย์ที่มีอายุราชการ 4 ปีขึ้นไป ที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงานโดยส่วนรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5 องค์ประกอบ คือ ความรับผิดชอบ การได้รับการยอมรับนับถือ ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความมั่นคงในการทำงาน
Other Abstract: Purposes: 1. To study the level of satisfaction of the large secondary school teachers under the Auspices of the Department of General Education in Bangkok Metropolis concerning factors of the job performance. 2. To compare the satisfaction of the large secondary school teachers under the Auspices of the Department of General Education in Bangkok Metropolis in terms of sex and professional experiences in civil service concerning factors of the job performance. Hypotheses: 1. Satisfaction of the large secondary school teachers under the Auspices of the Department of General Education in Bangkok Metropolis,based on sex, concerning factors of the job performance is significantly different. 2. satisfaction of the large secondary school teachers under the Auspices of the Department of General Education in Bangkok Metropolis, based on professional experiences in civil service, concerning factors of the job performance is significantly different. Research Methodology: The sample used in this research were 370 on-the-job teachers in 84 large secondary school teachers under the Auspices of the Department of General Education in Bangkok Metropolisselected by simple random sampling, varying to the proportion in classified school size. The data collected by sending questionnaires to respondents. The instrument dealt with the samples’ status and opinions concerning factors of the job performance. A total of 289 questionnaires out of 370 copies were returned and 285 completed copied or 77.02 percent were analyzed. The statistical treatments were the computation of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test through the Statistical Packaged for the Social Science Version X (SPSS-X) Program. Findings: The findings of the study are summarized as follow: 1. The overall satisfaction of the large secondary school teachers in Bangkok Metropolis concerning factors of the job performance are at moderate level. 2. The factors of job performance which respondents rated at the highest level of satisfaction is work itself, the second highest is interpersonal relations (peers). The factors of the job performance which were rated at the lowest level of satisfaction is salaries, fringe benefit and welfare, the second lowest is interpersonal relations between superior and respondent. 3. Comparing the variables which affect the satisfaction of the large secondary school teachers in Bangkok Metropolis concerning factors of the job performance, it was found out as follows: 3.1 Satisfaction of the teachers concerning factors of the job performance, based on sex as a whole, is not significantly different. Nevertheless when comparing among each variables, work security factor and salaries, fringe benefit and welfare factor are significantly different at .05 level. 3.2 There is an overall difference at .05 level between teachers work during 1-4 years and those who more than four years. Furthermore when comparing among the studied factors, it was found out that there is a significant difference at the .05 level among five factors namely responsibility, recognition, professional advancement, working environment and work security.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27874
ISBN: 9745637955
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Usanee_Pa_front.pdf504.92 kBAdobe PDFView/Open
Usanee_Pa_ch1.pdf541.47 kBAdobe PDFView/Open
Usanee_Pa_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Usanee_Pa_ch3.pdf331.8 kBAdobe PDFView/Open
Usanee_Pa_ch4.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Usanee_Pa_ch5.pdf722.45 kBAdobe PDFView/Open
Usanee_Pa_back.pdf547.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.