Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28102
Title: ความหมายทางอาญาของคำว่า"เอกสาร"
Other Titles: Criminal meaning's "document"
Authors: รัฐสิทธิ์ คุรุสุวรรณ
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในแนวความคิดทางอาญาเกี่ยวกับเอกสารนั้น ถือว่าเอกสารเป็นหลักฐานอันสำคัญยิ่ง ในทางกฎหมาย ความเชื่อถือและความมั่นคงในทางกฎหมาย ขึ้นอยู่กับการใช้ได้และความปลอดภัยแห่งเอกสาร คุณธรรมทางกฎหมายของความผิดเกี่ยวกับเอกสาร จึงไม่ใช่ทรัพย์สิน ดังนั้นใน ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 บัญญัตินิยามไว้ในมาตรา 1 (7) นั้นจะเห็นได้ว่าความสำคัญหรือสาระสำคัญของเอกสารมีอยู่ 4 ประการ คือ 1. เอกสารเป็นสิ่งที่แสดงออกแห่งเจตนา2. เอกสารเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง3. เอกสารต้องเป็นสิ่งที่มีเนื้อหาในทางกฎหมาย4. เอกสารนั้นต้องแสดงถึงผู้ออกหรือทำเอกสารนั้นขอบเขตของการใช้ถ้อยคำของกฎหมาย หรือการตีความกฎหมายอาญาโดยเฉพาะความหมายทางอาญาของคำว่า "เอกสาร" ซึ่งปรากฏว่าบทนิยามจำต้องพิจารณาถึงตามตัวอักษร และ ตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นควบคู่กันไปแต่ก็ยังมีข้อเท็จจริงที่ยังชัดข้องที่จะชี้ชัดว่าเป็นเอกสารหรือไม่ ซึ่งต้องอาศัยความเห็นของนักกฎหมาย และเหตุผลต่างๆ มาชี้ชัดให้ถึงความคิดเห็นหรือทัศนะต่างๆ จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายประกอบว่าฝ่ายใดมีเหตุผลอันน่ารับฟังมากกว่ากัน ซึ่งบางครั้งก็ยังไม่มีแนวคำพิพากษาฎีกาตัดสิน ก็คงต้องรอฟังคำชี้ขาดของศาลฎีกาต่อไปหรือ ในกรณีมีคำพิพากษาฎีกาก็มีนักกฎหมายได้หมายเหตุท้ายคำพิพากษาฎีกา นอกจากนี้กฎหมายต่างประเทศระบบ Common Law โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ก็มีคำว่า "Document" ซึ่งจากการวิจัยเปรียบเทียบกับเอกสารในกฎหมายไทย ในสาระสำคัญก็ไม่แตกต่างกัน และสิ่งสำคัญที่นำมาวิเคราะห์อันไม่สามารถก้าวล่วงได้ ก็คือ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับเอกสารที่เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีความเกี่ยวพันกับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอุปกรณ์จำพวกซอฟท์แวร์ อันได้แก่เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ดรัมแม่เหล็ก (Magnetic Drum) บัตรแม่เหล็ก (Magnetic Card) บัตรเจาะรู (Punched Cards) เทปกระดาษเจาะรู (Punched Paper Tape) ดีสเกตต์ หรือจานฟล็อปปี้ (Diskette หรือ Floppy Disk) ซึ่งยังไม่สามารถชี้ชัดว่าเป็นเอกสารและความหมายของคำว่า "เอกสาร" ในประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ยังไม่สามารถตามทันต่อเหตุการณ์ในปัญหาเทคโนโลยีที่กำลังรุดหน้าไปถึงกรณีเกี่ยวกับการสื่อความหมายอันเกิดจากเทคโนโลยีซึ่งก้าวหน้าได้เพียงพอ
Other Abstract: A criminal concept concerning on document is that document is very important for evidence. A credit and a stability of document in legal aspect depends on its validity and its completeness. A legal equity for offences concerning document is not a property. So The Penal Code, B.E. 2499 has definited "document" in section 1 (7) with 4 qualifications.1 Document must be a declaration of intention.1 Document must be formality.1 Document must have a legal content.1 Document must indicate the producer. A scope of legal term on interpretation of criminal law for"document" must interpret both in its meaning and its objective. But it is the fact that sometime it is very hard to indicate what is document. So the opinion of lawyer and different reason must be used to fulfil the meaning of document and it can be said that sometime there is no decision of The Supreme Court to clear this problem. .Moreover the problems of document meaning appear in technological issue such as data of computer and its equipment's that are Magnetic Card, Punched Cards, Punched Paper Tape, Diskette or Floppy Disk which can not indicate for the meaning of document as appear in the meaning of "document" in Penal Code, B. E. 2499 which can not apply to the said technological terms.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28102
ISBN: 9745788139
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattasidhi_ku_front.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Rattasidhi_ku_ch1.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Rattasidhi_ku_ch2.pdf13.5 MBAdobe PDFView/Open
Rattasidhi_ku_ch3.pdf26.58 MBAdobe PDFView/Open
Rattasidhi_ku_ch4.pdf18.45 MBAdobe PDFView/Open
Rattasidhi_ku_ch5.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
Rattasidhi_ku_back.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.