Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28180
Title: | การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของการปลูกสาหร่ายใบมะกรูด กรณีศึกษาอ่าวตังเข็น จังหวัดภูเก็ต |
Other Titles: | The cost-benefit analysis of cultivation of Halimeda : a case study of Tangkhen Bay, Phuket Province |
Authors: | เอกภัทร ลักษณะคำ |
Advisors: | พงศา พรชัยวิเศษกุล จาริต ติงศภัทิย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pongsa.P@Chula.ac.th Charit.T@chula.ac.th |
Subjects: | สาหร่ายทะเล -- การปลูก -- ไทย -- ภูเก็ต สาหร่ายทะเล -- การปลูก -- ต้นทุนและประสิทธิผล การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุนการผลิต) Marine algae -- Planting -- Thailand -- Phuket Marine algae -- Planting -- Cost effectiveness Value analysis (Cost control) |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ1) วิเคราะห์ต้นทุน และผลประโยชน์ของการเพาะปลูกสาหร่ายใบมะกรูด และ 2) ศึกษาการได้รับประโยชน์ และอุปสรรคจากสาหร่ายใบมะกรูด ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของสาหร่ายใบมะกรูดของชุมชนอ่าวตังเข็น จังหวัดภูเก็ต ในส่วนการคำนวณต้นทุน และผลประโยชน์การเพาะปลูกสาหร่ายใบมะกรูดผ่านเครื่องมือ 3 ประการ ได้แก่ (1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (2) อัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุน และ (3) การวิเคราะห์ค่าความไว และในส่วนการศึกษาการได้รับประโยชน์ และอุปสรรคจากสาหร่ายใบมะกรูด ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนที่อาศัยอยู่โดยรอบอ่าวตังเข็น จังหวัดภูเก็ตจำนวน 46 ราย ผลการศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุน และผลประโยชน์ภายใต้กรณีปกติ และกรณีตามการวิเคราะห์ค่าความไว พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นบวกอยู่ในช่วงโดยประมาณ 160,000 บาท ถึง 4,170,000 บาท และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่ามากกว่าหนึ่งซึ่งอยู่ในช่วง 1.11 ถึง 4.60 แสดงถึงการเพาะปลูกสาหร่ายใบมะกรูดมีความคุ้มค่าในการลงทุนปลูกซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเชิงลึก เพื่อการอนุรักษ์สาหร่ายใบมะกรูด และนำไปสู่ช่องทางของกลไกการพัฒนาที่สะอาดต่อไป ผลการศึกษาการได้รับประโยชน์ และอุปสรรคจากสาหร่ายใบมะกรูด ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าสาหร่ายใบมะกรูดสร้างประโยชน์ในระดับมากมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.08 และเห็นว่าสาหร่ายใบมะกรูดเป็นอุปสรรคต่อชุมชนในระดับค่อนข้างน้อยโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.58 ตลอดจนมีส่วนร่วมในการจัดการสาหร่ายใบมะกรูดในระดับปานกลางมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับประโยชน์และการมีส่วนร่วมในการจัดการสาหร่ายใบมะกรูดมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหน่วยงานส่วนท้องถิ่นสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนจัดการทรัพยากรในพื้นที่ต่อไป |
Other Abstract: | This study focuses on 1) analyzing the costs and benefits from Halimeda cultivation and 2) studying the benefits and barriers of Halimeda and the participation of people in the management of Halimeda for the community in Tangkhen Bay Phuket province. We also analyze costs and benefits from Halimeda cultivation through 3 techniques: (1) Net Present Value: NPV, (2) Benefit and Cost ratio and (3) Sensitivity Analysis. The samples were collected from the household in Tangkhen Bay Phuket province of 46. Analyzing the costs and benefits from Halimeda cultivation under base case and sensitivity analysis case indicates that the net present value is positive in the range of approximately 160,000 THB to 4,170,000 THB. and benefit cost ratio is greater than one, which is in the range of 1.11 to 4.60. It can be revealed that Halimeda cultivation is worth to invest and the relevant institute can expand this study in order to conserve Halimeda and lead to create channel for the clean development mechanism in the future. The result of studying the benefits and barriers of Halimeda and the participation of people in the management of the abundance of Halimeda shows that the majority of samples have benefited from Halimeda much level with mean score 8.08. Barriers to the community in relatively low level with mean score 2.58. As well as participating in Halimeda management in a medium with an average score of 4.92. In addition relationship between the benefits and participation in the management of Halimeda are correlated in the same direction. The local authority can be used as guidelines for resource management planning in the area. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28180 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1481 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1481 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
aekkapat_la.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.