Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2819
Title: การสะสมของสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในตะกอนบริเวณเอสทูรีแม่น้ำท่าจีน
Other Titles: Accumulation of polycyclic aromatic hydrocarbons in sediments from Tha Chin estuary
Authors: จิราณีย์ ไชยปุริวงศ์, 2517-
Advisors: กัลยา วัฒนากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: gullaya@sc.chula.ac.th
Subjects: เอสทูรี
โพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
แม่น้ำท่าจีน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทำการเก็บตัวอย่างตะกอนผิวหน้าและตะกอนตามความลึก จากบริเวณเอสทูรีแม่น้ำท่าจีน ศึกษาการกระจายของสาร PAHs ในดินตะกอนผิวหน้าและการสะสมในตะกอนดินตามความลึก ผลการวิเคราะห์พบสาร PAHs ที่มีจำนวนวงแหวนตั้งแต่ 2-6 วง โดยมีการกระจายของชนิดและปริมาณแตกต่างกัน PAHs ที่พบได้มากได้แก่ naphthalene, biphenyl, acenaphthene, fluorene, phenanthrene, chrysene, benzo(a)anthracene, perylene, anthracene, fluoranthene และ pyrene โดยมีปริมาณ PAHs รวมของตัวอย่างตะกอนผิวหน้าตามลำน้ำท่าจีน 0.22-1.52 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.62 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง การกระจายของสาร PAHs รวมในตะกอนดินผิวหน้าพบว่าบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดของสาร PAHs จะเป็นบริเวณที่พบการสะสมได้มากกว่าบริเวณที่อยู่ไกลแหล่งกำเนิดออกไป การสะสมของสาร PAHs รวมในตะกอนตามความลึกบริเวณคลองสุนัขหอนแสดงแนวโน้มของ PAHs ลดลงเมื่อความลึกเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันมีการสะสมของสาร PAHs มากกว่าในอดีต แต่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสาร PAHs ตามความลึกตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำมีแนวโน้มไม่ชัดเจน อาจเนื่องจากการขุดลอกร่องน้ำบริเวณปากแม่น้ำทำให้รบกวนการสะสมและการตกตะกอนในบริเวณนี้ การพิจารณาแหล่งกำเนิดของสาร PAHs พิจารณาได้จากดัชนี Fluoranthene/Pyrene Phenanthrene/Anthracene sigMP/P และ (2+3-ring)PAHs/(4+5-ring)PAHs โดยพบว่าแหล่งกำเนิดหลักของสาร PAHs ในดินตะกอนบริเวณเอสทูรีแม่น้ำท่าจีน ส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้ เช่น จากการปล่อยควันเสียจากยานพาหนะ จากโรงงานอุตสาหกรรม และการปล่อยน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วลงสู่แหล่งน้ำ แหล่งกำเนิดรองมาจากการปนเปื้อนจากน้ำมัน
Other Abstract: Surface and core sediment samples were collected along the Tha Chin estuary in order to investigate the distribution and vertical accumulation of PAHs. The PAHs found were those of the molecules with 2-6 rings. Dominant PAHs were naphthalene, biphenyl, acenaphthene, fluorene, phenanthrene, chrysene, perylene, benzo(a) anthracene, anthracene, fluoranthene and pyrene. Concentrations of total PAHs in surface sediments from the Tha Chin estuary ranged from 0.23-1.52 with an average value of 0.62 microgram/g dry weight. The distribution of PAHs concentration in surface sediments showed high accumulation near the sources. Vertical distribution of total PAHs in the sediment cores collected from Klong Sunukhorn showed a decreasing trend of the PAHs concentration with depth. This suggests that accumulation of PAHs in the present time is higher than earlier dates. PAHs in the sediment cores collected from the mouth of the river showed fluctuating trend, probably due to dredging activity at the river mouth which disturb the accumulation and deposition of sediment in this area. Source of PAHs in the sediment was indentified by Fluoranthene/Pyrene Phenanthrene/Anthracene sigmaMP/P and (2+3-ring)/(4+5-ring) PAHs ratios. The ratios indicated that primary sources of accumulated PAHs in sediments from Tha Chin estuary were mostly of pyrolytic origin, namely automobile exhaust, industrial pollution and discharge of used lubucating oil directly into the river. Secondary sources were of petrogenic origin.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2819
ISBN: 9741704658
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiranee.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.