Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28190
Title: ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมกับการต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน
Other Titles: Participatory democracy and the struggles for community rights
Authors: ชญาน์ทัต ดีมา
Advisors: นฤมล ทับจุมพล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Naruemon.T@Chula.ac.th
Subjects: สิทธิชุมชน
การพัฒนาชุมชน
ประชาธิปไตย
การจัดการป่าไม้ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนของชุมชนท้องถิ่นบนฐานคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม งานวิจัยเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจงโดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านนาอิน เป็นตัวอย่างรูปธรรมของการมีส่วนร่วมเชิงสถาบัน โดยการสร้างแนวร่วมกับตัวแทนทางการเมือง การมีส่วนร่วมในกลไกราชการ การร้องเรียนต่อองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ขณะที่ชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน เป็นตัวอย่างรูปธรรมของชุมชนที่อาศัยการมีส่วนร่วมทางตรงโดยการกำหนดตัวตนผ่านการนิยามความหมายสิทธิชุมชน การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนด้วยภูมิปัญญาในการพึ่งพาตนเอง การสร้างองค์กรชุมชนและชุมชนเครือข่ายความร่วมมือ โดยมุ่งรักษาความเป็นชุมชนที่สามารถดูแลจัดการป่าได้อย่างยั่งยืน ทั้งสองกรณีเป็นการใช้กลไกประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความชอบธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรแสดงถึงสิทธิในการปรับเปลี่ยนทิศทางหรือสิทธิในการจัดการทรัพยากรของชุมชนเอง โดยการแสวงหากลไกคู่ตรงข้ามมาปรับใช้เพื่อสนองตอบต่อเป้าหมายตามพลวัตทางสังคม สะท้อนภาพความพยายามของชุมชนที่ต้องอาศัยทั้งกลไกการมีส่วนร่วมเชิงสถาบันและการมีส่วนร่วมทางตรงในการตอบสนองเป้าหมายการต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน มีความสำคัญในแง่การเชื่อมโยงแนวคิดประชาธิปไตยกระแสหลักแบบตัวแทนเข้ากับประชาธิปไตยทางเลือกที่ มีการเปิดโอกาสและพื้นที่ทางการเมืองให้ชุมชนปกครองตนเองบนฐานคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม บทบาทของชุมชนท้องถิ่นที่มากขึ้นมีผลทำให้รัฐมีบทบาทการจัดการท้องถิ่นน้อยลง แสดงถึงการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐกับชุมชนให้เสมอภาคกันซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยในสังคมไทย
Other Abstract: This research comparatively examines how local communities in Thailand are struggling for community rights based on democratic concepts and participatory mechanisms. The research applies qualitative methods with in-depth interviews, documentary, participatory and non-participatory observations. The results show that Na-In community engages in self-determination by connecting with institutional mechanisms, such as, representative politics, governmental and constitutional mechanisms. On the other hand, Hauy-Hin-Lad-Nai community is struggling directly through self-reliance by building its unique identity, creating civil society and community networks, and living sustainably with the natural environment. This research also shows that participatory democracy is a significant mechanism which can affect how the government or community itself gains access to resources. The combination of institutional and direct participatory mechanisms used in the struggles for community rights can also be connected to the basic contested political concepts of mainstream liberal democracy and alternative participatory democracy. This would expand political arena, enable communities to manage themselves efficiently and might lead to new balance of power relations between the government and local communities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28190
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1489
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1489
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chayatad_de.pdf7.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.