Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28234
Title: การวิเคราะห์นิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรี
Other Titles: An analysis of Thai women's magazines
Authors: เยาวภา เจริญศิลป์
Advisors: ชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล
ระวีวรรณ ประกอบผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์นิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรีมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษานิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรีว่าประกอบด้วยคอลัมน์ประเภทใดบ้าง ในปริมาณมากน้อยเท่าใดและเพื่อสำรวจการจัดทำนิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรีในด้านนโยบายการจัดทำ วัตถุประสงค์ของนิตยสารการคัดเลือกผู้เขียน การคัดเลือกเรื่องเพื่อตีพิมพ์ และวิธีการเผยแพร่นิตยสาร นิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรีที่นำมาวิจัย มีจำนวน 20 ชื่อเรื่อง ตัวอย่างประชากรได้แก่ นิตยสารที่ตีพิมพ์ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2527 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2528 รวมจำนวน 297 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์นิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรี และแบบสัมภาษณ์บรรณาธิการนิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรี และนำข้อมูลมาคำนวณโดยการหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัยด้านปริมาณการเสนอคอลัมน์ประเภทต่างๆ ที่ปรากฏในนิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรี ปรากฏว่า คอลัมน์บันเทิงคดีปรากฏ ในจำนวนสูงสุดในนิตยสาร 9 ชื่อเรื่อง ได้แก่ ทานตะวัน (ร้อยละ 70.6) สกุลไทย (ร้อยละ 49.2) สาวสยาม (ร้อยละ 41.5) กานดา (ร้อยละ 29.5) สตรีสาร (ร้อยละ 29.1) แพรวสุดสัปดาห์ (ร้อยละ 28.6) นรี (ร้อยละ 26.9) และขวัญเรือน (ร้อยละ 20.9)ตามลำดับ คอลัมน์สารคดีปรากฏในจำนวนสูงสุดในนิตยสาร 5 ชื่อเรื่อง รักลูก (ร้อยละ 44.2) แม่และเด็ก (ร้อยละ 30.9) ผู้หญิง 24 (ร้อยละ 26.6) สาวสวย (ร้อยละ 25.6) และเปรียว (ร้อยละ 22.5) ตามลำดับ คอลัมน์การสาธิตการปรากฏในจำนวนสูงสุดในนิตยสาร 3 ชื่อเรื่องได้แก่ กุลสตรี (ร้อยละ 41.2) แม่บ้าน (ร้อยละ 30.0) และหญิงไทย (ร้อยละ 24.8) ส่วนโฆษณาปรากฏในจำนวนสูงสุดในนิตยสาร 3 ชื่อเรื่องได้แก่ ดิฉัน (ร้อยละ 30.6) แพรว (ร้อยละ 25.4) และลุคส์ (ร้อยละ 21.9) ตามลำดับ ในด้านสาขาวิชาที่ปรากฏในคอลัมน์สารคดีในนิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรีทั้ง 20 ชื่อเรื่อง พบว่า ด้านการท่องเที่ยวปรากฏสูงสุดในแพรวสุดสัปดาห์ (ร้อยละ 9.5) สกุลไทย (ร้อยละ 8.5) สตรีสาร (ร้อยละ 6.5) แพรว (ร้อยละ 5.7) ขวัญเรือน (ร้อยละ 4.3) ลุคส์ (ร้อยละ 4.1) และดิฉัน(ร้อยละ 4.0) ตามลำดับ นอกจากนี้ขวัญเรือนยังมีบทความด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ในจำนวนเท่ากันด้วย ด้านสุขภาพและความงาม ปรากฏสูงสุดในนิตยสารรักลูก (ร้อยละ 20.3) สาวสวย (ร้อยละ 15.0) แม่และเด็ก (ร้อยละ 14.7) แม่บ้าน (ร้อยละ 11.3) ผู้หญิง 24 (ร้อยละ 8.2) และสาวสยาม (ร้อยละ 3.5) ตามลำดับ ด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ปรากฏสูงสุดในหญิงไทย (ร้อยละ 5.7) นรี (ร้อยละ 5.4) ขวัญเรือน (ร้อยละ 4.3) กุลสตรี (ร้อยละ 2.7) ตามลำดับ ด้านศิลปกรรม ปรากฏสูงสุดใน เปรียว (ร้อยละ 4.9) ลลนา (ร้อยละ 3.9) และทานตะวัน(ร้อยละ 3.5) ตามลำดับ และด้านชีวประวัติและผลงานปรากฏสูงสุดในกานดา (ร้อยละ4.6) อนึ่งจากการวิจัยพบว่า นิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรีทุกชื่อเรื่องมีสารคดีด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและสุขภาพและความงาม ด้านการจัดทำนิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรีปรากฏว่า นิตยสารทุกชื่อเรื่องมีวัตถุประสงค์การจัดทำเพื่อเสนอสาระความรู้และความบันเทิงแก่ผู้อ่าน และปรากฏว่านิตยสารจำนวนสูงสุด 12 ชื่อเรื่อง มีนโยบายด้านเนื้อหาเพื่อเสนอสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและสังคม นิตยสารส่วนใหญ่พิจารณาคัดเลือกผู้เขียนจากประสบการณ์และชื่อเสียง และพิจารณาคัดเลือกเรื่องที่จะลงพิมพ์จากสาระของบทความ และสาระของเรื่องเป็นประการสำคัญ ด้านการเผยแพร่นิตยสาร ผู้จัดทำได้ใช้วิธีการจำหน่วยและการอภินันทนาการนิตยสาร สำหรับวิธีการจำหน่ายนั้น ผู้จัดทำได้ใช้วิธีการสมัครเป็นสมาชิกจำนวนสูงสุดรองลงมาได้แก่ การจำหน่ายผ่านตัวแทนและการฝากขายตามร้านหนังสือทั่วไป โดยราคาต่ำสุดของนิตยสารคือ ฉบับละ 7 บาทสูงสุดฉบับละ 35 บาท ด้านการอภินันทนาการนิตยสารปรากฏว่า นิตยสารทุกชื่อเรื่องอภินันทนาการนิตยสารให้กับหน่วยงานต่างๆและบริษัทห้างร้านที่ลงโฆษณา นอกจากนี้ยังอภินันทนาการนิตยสารให้กับห้องสมุดและโรงเรียนในชนบทด้วย ข้อเสนอแนะ บรรณารักษ์ควรแนะนำผู้ใช้ห้องสมุดได้อ่านนิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรีที่ให้สาระความรู้มากกว่าความบันเทิง โดยจัดนิทรรศการ ป้ายนิเทศนิตยสารที่น่าสนใจ แนะนำบทความน่าสนใจในนิตยสารสำหรับสตรี หรือทำดรรชนีบทความด้านสารคดีที่ปรากฏในนิตยสารภาษาไทยสำหรับสตรี
Other Abstract: The objectives of this research were to analyze types and quantities of columns of the Thai women's magazines, also to survey the management of Thai women's magazines on policies, objectives, authors and articles' selection and magazine circulation. The 20 titles of Thai women's magazines were included 297 issues published between January 1984 to December 1985 were used as population sample or 28 percent of the total population. Research tools were Thai women's magazines analyzed form and editor's interview form. The data was analyzed and presented in the form of percentage and mean. The research results are concluded as follow: As for quantities of the various columns appeared in Thai women's magazines, 9 titles which emphasized on fiction at the most quantity were Thantawan (70.6%) Sakul Thai (49.2%) Sauw Siam (41.5%) LaLana (32.6%), Kanda (29.5%)„SatriSarn (29.1%)^, Phraew Weekend (28.6%) 1 Naree (26.9%), and Khwanruan (20.9%). Non-fiction was emphasized in 5 titles: RakLook (44.2%), Mother and Child (30.9%), Phuhying 24 (26.6%), SauwSuay (25.6%) and Phriaw (22.5%). Demonstration columns occupied most space in 3 titles: Kulsatri (41.2%) Maeban (30.0%) and Hying Thai (24.8%). While advertising was stressed on the highest rank in 3 titles : Dishan (30.6%), Phraew (25.4%) and Looks (21.9%). As for the subject matters of non-fiction of 20 Thai women's magazines : travelling was aimed on Phraew Weekend (9.5%), Sakulthai (8.5%), SatriSarn (6.5%)7Phraew (5.7%) Khwanruan (4.3%) Looks (4.1%) and Dishan (4.0%). Besides, Khwanruan also equally stressed on culture and tradition. Health and beauty were emphasized in RakLook (20.3%), Sauw Suay (15.0%), Mother and Child (14.7%), Maeban (11.3%), Phuying 24 (8.2%) and Sauw Siam (3.5%). Culture and tradition was emphasized in Hying Thai (5.7%), Naree (5.4%) and Kulsatri (2.7%). Arts were aimed on Phriaw (4.9%), LaLana (3.9%) and Thantawan (3.5%) while Kanda emphasized on biography. However, the research revealed that the subject matters of non-fiction appeared in every Thai woman's magazines were culture and tradition and health and beauty. As for the management of the magazines studied, the objectives of every title are to offer knowledge and entertainment to readers. The content policies of the majority (12 titles) are to provide readers and society the useful knowledge. Most magazines will select the experienced and well-known writers and consider the articles from their contents. For the magazine. circulation, most of them are distributed by mean of subscription and dispended to the agents and general book stores. The lowest price of the magazine is 7 baht and the highest is 35 baht per issue. Besides, publishers present the magazines as gift to some public department and to companies whose advertisements' appear in that issue. Some also donate the magazines to rural schools and libraries. Recommendations Librarians should advise their users to read the women's magazines which mostly consist of informational columns by means of displays or the exhibition of the interesting features. Moreover, indexing of non-fiction articles will be beneficial.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28234
ISBN: 9745675814
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yauvapa_ch_front.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open
Yauvapa_ch_ch1.pdf5.98 MBAdobe PDFView/Open
Yauvapa_ch_ch2.pdf11.14 MBAdobe PDFView/Open
Yauvapa_ch_ch3.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open
Yauvapa_ch_ch4.pdf19.49 MBAdobe PDFView/Open
Yauvapa_ch_ch5.pdf7.84 MBAdobe PDFView/Open
Yauvapa_ch_back.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.