Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28374
Title: การเปรียบเทียบผลการปรับแก้ตัวประมาณค่าพารามิเตอร์ ด้วยวิธีของเฮนดริคก์กับของฟิลเลี่ยน โดยใช้ข้อมูลจากแบบสอบถาม
Other Titles: A comparison of the results of hendrick's and filion's methods of adjustment on the estimators obtained from questionnaire data
Authors: ลือชัย ชูนาคา
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาลี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการปรับแก้การประมาณค่าพารามิเตอร์ (ค่าเฉลี่ย) ด้วยวิธีของเฮนดริคก์ และวิธีของฟิลเลี่ยน เมื่อมีอัตราการตอบแบบสอบถามกลับคืนแตกต่างกัน โดยใช้วิธีการทดลองด้วยเทคนิคการสร้างสถานการณ์จำลองจากข้อมูลจริง ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ คะแนนความคิดเห็นของครูมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 874 คน เป็นข้อมูลในการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อองค์ประกอบในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างของการทดลองจำแนกศึกษาตามอัตราการตอบกลับที่เกิดจากการได้รับแบบสอบถามคืน มาครั้งแรกและหลังการติดตาม 2 ครั้ง ในอัดราส่วน 3 : 2 : 1 มีจำนวน 14 อัตรา คือ ร้อยละ 30, 35, 40, 45, 50, 55, 60, 65, 70, 75, 80, 85, 90 และ 95 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าประมาณที่ได้จากการปรับแก้ด้วยวิธีของเฮนดรีคก์ และวิธีของฟิลเลี่ยนไม่มีความลำเอียง ในการประมาณค่าที่ทุกระดับอัตราการตอบกลับ และค่าประมาณที่ได้จากการปรับแก้จากทั้ง 2 วิธี ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าประมาณที่ได้จากการปรับแก้ด้วยวิธีของเฮนดริคก์ และวิธีของฟิลเลี่ยนมีความคงเส้นคงวาในการประมาณค่าทุกระดับอัตราการตอบกลับ สำหรับอัตราการตอบกลับร้อยละ 30-45 และร้อยละ 65 ขึ้นไปวิธีของฟิลเลี่ยนให้ค่าประมาณที่มีความคงเส้นคงวาของการประมาณค่าดีกว่าวิธีของเฮนดริคก์ สำหรับ อัตราการตอบกลับร้อยละ 50-60 วิธีของเฮนดริคก์ให้ค่าประมาณที่มีความคงเส้นคงวาของการประมาณค่า ดีกว่าวิธีของฟิลเลี่ยน 3. ค่าประมาณที่ได้จากการปรับแก้ด้วยวิธีของฟิลเลี่ยนมีประสิทธิภาพของการประมาณค่าดีกว่า วิธีของเฮนดริคก์ สำหรับอัตราการตอบกลับร้อยละ 30-45 ส่วนอัตราการตอบกลับตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป ค่าประมาณที่ได้จากการปรับแก้จากทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพของการประมาณค่าเท่าเทียมกัน 4. ตัวประมาณค่าพารามิเตอร์ที่ได้จากการปรับแก้ วิธีของเฮนดริคก์ ตัวประมาณค่ามีคุณสมบัติ ของตัวประมาณค่าที่ดี สำหรับอัตราการตอบกลับร้อยละ 50-60 ส่วนวิธีของฟิลเลี่ยน ตัวประมาณค่ามี คุณสมบัติของตัวประมาณค่าที่ดี สำหรับอัตราการตอบกลับร้อยละ 30-45 และร้อยละ 65 ขึ้นไป
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the results of adjustment on the mean estimator by Hendrick's and Filion's methods when questionnaires were received with different response rates. This study was conducted using computer and Simulation Technique. The data were collected from 874 secondary school teachers' in Bangkok concerning their opinion on factor of the job performance. The samples of this experiment were the average of teachers' opinion with different response rates that received at the first place and two times follow up which the ratio of 3: 2: 1. The study would vary fourteen response rates as 30, 35, 40, 45, 50, 55, 60, 65, 70, 75, 80, 85, 90 and 95 percent. The finding could be summerized as follow: 1. The estimates adjusted by Hendrick's and Filion's methods were unbiased at all response rates. The test statistics employed to test significance of the estimates adjusted by the two methods were not significantly different at .05. 2. The estimates adjusted by Hendrick's and Filion's methods were consistent at all response rates. For response rates of 30-45 percent and 65 percent or more the estimates adjusted by Filion's method were more consistent than Hendrick's method. For 50-60 percent, the estimates adjusted by Hendrick's method were more consistent than Filion's method. 3. The estimates adjusted by Filion's method were more efficient than those of Hendrick's method for 30-45 percent response rates. For 50 percent response rates or more the estimates adjusted by two methods were approximately equal efficiency. 4. The estimator adjusted of Hendrick's method was a good estimator for 50-60 percent response rates. As for estimator adjusted of Filion's method was a good estimator for 30-45 percent and 65 percent or more response rates.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28374
ISBN: 9745782459
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Leuchai_ch_front.pdf5.3 MBAdobe PDFView/Open
Leuchai_ch_ch1.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open
Leuchai_ch_ch2.pdf12.87 MBAdobe PDFView/Open
Leuchai_ch_ch3.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open
Leuchai_ch_ch4.pdf12.08 MBAdobe PDFView/Open
Leuchai_ch_ch5.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Leuchai_ch_back.pdf13.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.