Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28584
Title: การลุกไหม้ได้เองของถ่านหินไทย
Other Titles: Spontaneous combustion of Thai coals
Authors: ศุภรินทร์ ไชยกลางเมือง
Advisors: สมชาย โอสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ถ่านหิน -- การเผาไหม้
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการลุกไหม้ได้เองของถ่านหินแหล่งต่างๆ ในประเทศไทย 7 แหล่งจาก 4 จังหวัดร่วม 11 ตัวอย่าง ทำการทดลองหาแนวโน้มการลุกไหม้ได้เองของถ่านหินโดยวิธีต่างกัน 3 วิธีได้แก่ การดูดซึมก๊าซออกซิเจน ออกซิเดชันแบบเปียก และผลต่างทางความร้อน ผลการทดลองพบว่า ตัวอย่างถ่านหินทั้งหมดเป็นศักดิ์ซับบิทูมินัสและมีแนวโน้มการลุกไหม้ได้เองแตกต่างกัน สามารถแบ่งตัวอย่างถ่านหินได้เป็น 3 กลุ่ม คือถ่านหินที่มีแนวโน้มการลุกไหม้ได้เองสูง ปานกลาง และต่ำ โดยวิธีวัดการดูดซึมก๊าชออกซิเจนถ่านหินมีอัตราการดูดซึม ก๊าชออกซิเจน 5 ชั่วโมงแรกของการทดลองเท่ากับ 30-54, 15-23 และ 9-15 มิลลิลิตรต่อ ชั่วโมงต่อ 100 กรัมถ่านหินตามลำดับ ส่วนวิธีออกซิเดชันแบบเปียกซึ่งใช้เวลาเข้าสู่ศูนย์ มิลลิโวลต์เป็นเกณฑ์ตัดสิน พบว่าถ่านหินที่มีแนวโน้มการลุกไหม้ได้เองสูงปานกลางและต่ำใช้เวลาน้อยกว่า 90, 90-130 และมากกว่า 130 นาทีตามลำดับ และผลการทดลองโดยวิธีผลต่างทางความร้อนพบว่าถ่านหินที่มีแนวโน้มการลุกไหม้ได้เองสูง ปานกลางและต่ำ มีเทอร์โมแกรมตัดแกนอุณหภูมิที่ 135, 160 และ 180 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่าถ่านหินที่อยู่ในกองเก็บนานมีแนวโน้มการลุกไหม้ได้เองลดลงและถ่านหินใหม่มีโอกาสลุกติดไฟง่ายกว่าถ่านหินที่กองเก็บไว้ เนื่องจากถ่านหินที่กองเก็บไว้พื้นที่ผิวที่ว่องไวในการเกิดออกซิเดชันบางส่วนถูกทำลาย ไป ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ถ่านหินเกิดการลุกไหม้ได้ เองมาจากปฏิกิริยาออกซิเดชันซึ่ง เป็นปฏิกิริยา คายความร้อน ถ้าหากความร้อนที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกได้และเกิดการสะสมจะทำให้ แนวโน้มการเกิดการลุกไหม้ได้เองของถ่านหินสูงขึ้น การทดลองหาแนวโน้มการลุกไหม้ได้เองทั้ง 3 วิธีได้ผลเหมือนกัน ฉะนั้นจึงสามารถ เลือกใช้แค่ละวิธีได้ตามความเหมาะสมประโยชนที่ได้รับทำให้ทราบข้อมูลที่เป็นสาเหตุทำให้ เกิดการลุกไหม้ได้เองของถ่านหินและใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อไป
Other Abstract: One could divide these coals into three groups; high, medium and low susceptibility to spontaneous combustion, freshly-mined coals are more susceptible to spontaneous combustion. The first group, in the oxygen method, the rates of oxygen absorption at 5 hours were 30-54, 15-23 and 9-15 ml/h/100 g of high, medium and low susceptibility coals. In the wet oxidation method, the susceptibility is indicated by time to zero millivolt; which is found to be 90, 90-130 and more than 130 minutes for high, medium and low/ susceptibility coals respectively. In the differential thermal analysis method, the susceptibility is indicated by the crossing points of the thermogram and temperature profiles, which are found to be at 135, 160 and 180°c for high, medium and low susceptibility coals. This tendency to spontaneous combustion will decrease with stockpiling time. This is due to reduction of reactive surface areas which were partly oxidized since atmospheric oxidation of coal is an exothermic reaction and its rate increases with temperature, if the heat generated by oxidation is not dissipated and is accumulated in the coal pile, the coal is more prone to spontaneous combustion. The three methods used in this investigation yielded similar result, so any of these methods can be selected accordingly. The benefit obtained from this work is the knowledge on the cause of coal self-heating which will be useful for future development of the research.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28584
ISBN: 9745846309
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suparin_ch_front.pdf8.27 MBAdobe PDFView/Open
Suparin_ch_ch1.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Suparin_ch_ch2.pdf18.15 MBAdobe PDFView/Open
Suparin_ch_ch3.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Suparin_ch_ch4.pdf14.28 MBAdobe PDFView/Open
Suparin_ch_ch5.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Suparin_ch_back.pdf19.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.