Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28597
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่าง ความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ เชาวน์ปัญญากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A relationship between mathematics anxiety, intelligence and mathematics learning achievement of mathatom suksa four students, Bangkok metropolis |
Authors: | ศุภวรรณ ตัณฑ์พูนเกียรติ |
Advisors: | พร้อมพรรณ อุดมสิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มิวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ เชาวน์ปัญญา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร และเพื่อสร้างสมการถดถอยพหุคูณในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 .ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ และเชาวน์ปัญญาเป็นตัวทำนาย กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ปีการศึกษา 2534 สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 318 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือ แบบวัดความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณภายใน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์พหุคูณ และสร้างสมการถดถอยพหุคูณในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ เชาวน์ปัญญา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมการถดถอยพหุคูณในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ (Y) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ (X1) และ เชาวน์ปัญญา (X2) เป็นตัวทำนาย ได้สมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ สมการในรูปคะแนนดิบ Y´= 22.370096 - 0.113440X1 + 0.224789X2 สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน Z´y = -0.471673Z1 + 0.145694Z2 |
Other Abstract: | The purposes of this study were to study a relationship between mathematics anxiety, intelligence and mathematics learning achievement of mathayom suksa four students and to construct the multiple regression equation in order to predict the mathematics learning achievement by mathematics anxiety and intelligence as the predictors. The subjects were 318 mathayom suksa four science-mathematics program students in the academic year 1991 from government schools in Bangkok Metropolis. The research instruments were the mathematics anxiety test, intelligence test and mathematics learning achievement test. The obtained data were analyzed by method of intercorrelation coefficient, multiple correlation and multiple regression equation. The results of the-research indicated that: 1. There were significant positive multiple correlation between mathematics anxiety, intelligence and mathematics learning achievement of mathayom suksa four students at the 0.05 level. 2. The multiple regression equation in order to predict the mathematics learning achievement (Y) of mathayom suksa four students were predicted by mathematics anxiety (x1) and intellignece (x2). The multiple regression equation of raw scores and standard scores were as follows: y´ = 22.370096 - 0.113440X1 + 0.224789X2. z´y = -0.471673Z1 + 0.145694Z2. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28597 |
ISBN: | 9745812218 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suppavan_ta_front.pdf | 5.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suppavan_ta_ch1.pdf | 5.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suppavan_ta_ch2.pdf | 29.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suppavan_ta_ch3.pdf | 8.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suppavan_ta_ch4.pdf | 3.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suppavan_ta_ch5.pdf | 5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suppavan_ta_back.pdf | 29.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.