Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28618
Title: การศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการวางแผนการใช้ที่ดิน จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: A study for guide lines of land use planning in Samut Prakan Province
Authors: ศุภศักดิ์ งามรัศมีวงศ์
Advisors: ดุษฎี ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดชายทะเลบนปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้พื้นที่จังหวัดถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำมีอัตราการเติมโตประชาชน ความหนาแน่นประชากรสูงกว่าทางฝั่งตะวันตก ยกเว้นเขตเทศบาลเมืองพระประแดง การเติบโตประชากรเกิดจากการอพยพเข้าเป็นส่วนใหญ่ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 6 เท่าของการเติบโตทางธรรมชาติ โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดเป็นภาคอุตสาหกรรม มีอัตราการเติบโตทางอุตสาหกรรมค่อนข้างช้าลงเมื่อเทียบกับจังหวัดปริมณฑล มีสภาพการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมและโกดังคลังสินค้าคลังสินค้าเพียง 2.11% ของพื้นที่จังหวัด แต่สามารถให้ผลิตภัณฑ์รวมถึง 68.48% ของผลิตภัณฑ์จังหวัด ในขณะที่การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรมีถึง 51.05% แต่กลับให้ผลิตภัณฑ์รวมเพียง 5.26 % ของผลิตภัณฑ์จังหวัด ทั้งๆ ที่มีพื้นที่อยู่ในระบบชลประทานถึง 71.15% ของพื้นที่จังหวัด ซึ่งมีการใช้ที่ดินเพื่อการพักอาศัยสูงถึง 63.24% ของพื้นที่พัฒนาในจังหวัด โดยมีทิศทางการขยายตัวทางด้านตะวันออกของจังหวัดเป็นเกณฑ์ การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมรมและสภาพที่ตั้ง ทำให้จังหวัดสมุทรปราการต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วม-แผ่นดินทรุด ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และปัญหาการขาดแคลนสาธารณูปโภคที่จำเป็น เช่น น้ำประปา ดังนั้น การวางแผนการใช้ที่ดินจึงควรเป็นแนวทางที่ต้องสามารถแก้ไขบรรทัดปัญหาเหล่านี้ให้ได้ในระดับหนึ่ง ผลการศึกษาพบว่า บทบาทและหน้าที่ของจังหวัดสมุทรปราการ ที่เป็นจังหวัดอุตสาหกรรมและการพักอาศัย จึงมีรูปแบบการใช้ที่ดินที่ประกอบด้วย ชุมชนอุตสาหกรรมหลักเพื่อควบคุมสภาพแวดล้อม และสกัดกั้นการเติบโตของอุตสาหกรรมที่มีมลภาวะสูง ชุมชนพักอาศัยเกิดขึ้นตามแนวถนนเทพารักษ์ และถนนพุทธรักษา เพื่อรองรับแรงงานของอุตสาหกรรม รวมทั้งการขยายตัวประชากรจากกรุงเทพมหานครโดยมีระบบถนนแบบตารางเหลี่ยม (Grid /pattern) ทางฝั่งตะวันออก เป็นแนวป้องกันน้ำท่วม สำหรับพื้นที่ฝั่งตะวันตก ให้มีถนนชี้นำการพัฒนาเท่านั้น เพื่อต้องการสงวนพื้นที่ให้เป็นเกษตรกรรม
Other Abstract: Samut prakan is the marine province where is above on the end of Chao Phraya River. It is characterized by her, dividing the area into two parts. Obviously, the population growth rate and the population density of the east is greater than the west, except, Prapradaeng Municinle. "Hie ponulatior growth rat" is almost greater by in-migration. The ratio of the in-migration per the birth is equally 6:1. The economic of Samut Prakan is base upon the industrialization. It's growth rate is decrease when comparing with the other vinicities. The industrial-ware house land-use is only 2.11 percents, but it is able to get 68.46 percents of the gross domestic product. In the mean time, the agricultural land-use is highly 51.05 percents, but it is able to get 5.26 percents of the gross domestic product only, inspite of being 71.15 percents of area in the irrigation system. By having the main growth-direction on the eastern area. The industrial development of Samut PraVan, including the province's location, caused the strong relative problems. Such as, the flood and the land-depression, the polluting conditions and environments, in addition to the lack of utilities, as water supply, etc. Thus, the land-use planning must be able to eliminate and resolve these probles, as previous mention, to the healthy level. It is found that the suitable land-use pattern of Samut PraV.an must be the poly-centric. It's contained with the industrial communities that having been freezed the heavy-dirty industry. The nodes are firmly along the junction of Taepharak Road and Bhudharaksa Road. For the east, the Grid Pattern of transportation system is selected, as the flood-protection lines. Regarding to the west, there is only the important developing guide line road, because of preserving for the agriculture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28618
ISBN: 9745689653
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supasak_ng_front.pdf13.35 MBAdobe PDFView/Open
Supasak_ng_ch1.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
Supasak_ng_ch2.pdf10.43 MBAdobe PDFView/Open
Supasak_ng_ch3.pdf41.88 MBAdobe PDFView/Open
Supasak_ng_ch4.pdf74.08 MBAdobe PDFView/Open
Supasak_ng_ch5.pdf27.08 MBAdobe PDFView/Open
Supasak_ng_ch6.pdf34.3 MBAdobe PDFView/Open
Supasak_ng_back.pdf7.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.